'มุมมองที่ขัดแย้ง': ชาวออสเตรเลียรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการย้ายถิ่นฐานและความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ตั้งแต่เรื่องการอพยพย้านถิ่นไปถึงพลังงานนิวเคลียร์และเรื่องโดนัลด์ ทรัมป์ไปถึงประเด็นจีน ทัศนคติของชาวออสเตรเลียต่อปัญหาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศพวกเขาคิดเห็นอย่างไรกัน

A large crowd of people moving through an outdoor shopping centre.

ชาวออสเตรเลียเกือบครึ่งหนึ่งคิดว่าการรับผู้อพยพเข้าประเทศมีอัตราที่สูงเกินไป ตามรายงานฉบับใหม่ของ Lowy Institute Source: AAP / Steven Saphore

ประเด็นสำคัญ
  • ชาวออสเตรเลียเกือบครึ่งหนึ่งคิดว่าการรับผู้อพยพเข้าประเทศมีอัตราที่สูงเกินไป ตามรายงานฉบับใหม่ของ Lowy Institute
  • ในขณะเดียวกัน ชาวออสเตรเลีย 9 ใน 10 คนเชื่อว่าประชากรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศเป็นสิ่งที่ดี
  • ยังมีการสำรวจความเห็นของชาวออสเตรเลียเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ เช่น จีน การเลือกตั้งสหรัฐฯ ที่กำลังจะเกิดขึ้น และพลังงานนิวเคลียร์
เกือบ 1 ใน 2 คนเชื่อว่ามีผู้อพยพย้ายถิ่นฐานมากเกินไป แม้ว่าชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่เชื่อว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นพรสำหรับประเทศก็ตาม

ผลสำรวจใหม่ที่เผยแพร่โดย Lowy Institute เกี่ยวกับทัศนคติของชาวออสเตรเลีย เผยให้เห็นว่าผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 48 ระบุว่าจำนวนผู้อพยพทั้งหมดที่เดินทางมาออสเตรเลียในแต่ละปีนั้นสูงเกินไป

ผลลัพธ์นี้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจากครั้งสุดท้ายที่มีการสำรวจประเด็นนี้ในปี 2019 และยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดในปี 2018 ถึง 6 เปอร์เซ็นต์ ทว่ามันยังคงสะท้อนถึงอัตราที่เพิ่มขึ้น 11 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2014 ซึ่งเป็นช่วงเวลาไม่กี่เดือนหลังจากที่รัฐบาลเปิดตัวแคมเปญ Stop the Boats อันโด่งดัง

จำนวนคนที่เชื่อว่าจำนวนผู้อพยพเข้ามา "เหมาะสม" ลดลงจากร้อยละ 47 ในปี 2014 เหลือร้อยละ 40 ในปี 2024

แม้จะเป็นเช่นนี้ แต่ชาวออสเตรเลีย 9 ใน 10 คนยังคงเชื่อว่าประชากรที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศส่งผลดีต่อออสเตรเลีย ในขณะที่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นผลมาจากการอพยพเข้าประเทศหลายทศวรรษ ไรอัน นีแลม (Ryan Neelam) ผู้เขียนรายงานกล่าว

“เราพบว่าผู้คนอาจมีมุมมองที่ขัดแย้งกันในเวลาเดียวกัน แต่ไม่สามารถอธิบายได้ว่าเป็นความขัดแย้ง” เขากล่าวกับ Australian Associated Press

“ผู้คนมองว่าอัตลักษณ์ของประเทศคือความหลากหลายทางวัฒนธรรม แต่เมื่อเป็นเรื่องอัตราการอพยพเข้าประเทศ ดูเหมือนว่าพวกเขาจะเปิดใจต่อเรื่องนี้น้อยลง

“มันเป็นปัญหาใหญ่และซับซ้อนมาก ขึ้นอยู่กับว่าคุณถามถึงส่วนใดของปัญหา ผู้คนอาจมีมุมมองที่ดูแตกต่างกันมาก

การดีเบตทางการเมืองนี้กำลังดำเนินไปในขณะที่ประเทศกำลังประสบกับวิกฤตค่าครองชีพ โดยพรรคการเมืองหลักได้เสนอนโยบายที่เชื่อมโยงการอพยพเข้ากับผลกระทบทางเศรษฐกิจและปัญหาที่อยู่อาศัย

ความนิยมของทรัมป์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ความนิยมของสหรัฐฯ ลดลง

ชาวออสเตรเลีย 2 ใน 3 ต้องการให้โจ ไบเดนได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ อีกครั้ง

แต่เกือบ 1 ใน 3 (29 เปอร์เซ็นต์) สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากสมัยที่เขาลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีครั้งก่อน (23 เปอร์เซ็นต์ในปี 2020 และ 11 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016)

ขณะเดียวกัน ความรู้สึกในเชิงบวกของชาวออสเตรเลียที่มีต่อสหรัฐฯ ก็ลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่การสำรวจประจำปีของ Lowy เริ่มต้นขึ้นเมื่อสองทศวรรษก่อน

มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์กล่าวว่าพันธมิตรสหรัฐฯ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของออสเตรเลีย แต่ 75 เปอร์เซ็นต์ยังเชื่ออีกด้วยว่าความเป็นพันธมิตรนี่เอง ทำให้มีแนวโน้มที่ออสเตรเลียจะเข้าสู่สงครามในเอเชียมากขึ้น

ความเชื่อมั่นในจีนเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ

ผลสำรวจยังแสดงให้เห็นว่าชาวออสเตรเลียมีทัศนคติต่อจีนที่บดบังความสัมพันธ์ทางการทูตที่มีเสถียรภาพมากขึ้น

ในปี 2022 ความนิยมของจีนลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีชาวออสเตรเลียเพียงร้อยละ 12 เท่านั้นที่ไว้วางใจรัฐบาลปักกิ่ง

แต่การเลือกตั้งของรัฐบาลพรรคแรงงานได้ช่วยลดความตึงเครียดลง และนักการเมืองออสเตรเลียได้กลับมามีปฏิสัมพันธ์กับคู่หูชาวจีนอีกครั้ง ขณะที่รัฐบาลปักกิ่งค่อยๆ ยกเลิกข้อจำกัดทางการค้า

จากผลสำรวจความคิดเห็นในปี 2024 ความเชื่อมั่นยังไม่ฟื้นตัวกลับไปสู่จุดสูงสุดอย่างในปี 2018 ซึ่งชาวออสเตรเลียมากกว่าครึ่งหนึ่งระบุว่าพวกเขาไว้วางใจจีน แต่แสดงให้เห็นว่าชาวออสเตรเลียร้อยละ 17 ไว้วางใจจีนในการดำเนินการอย่างมีความรับผิดชอบในโลกนี้

อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งทางทหารที่อาจเกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนในไต้หวันได้รับการระบุว่าเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดสองประการของออสเตรเลียในทศวรรษหน้า

การสนับสนุนพลังงานนิวเคลียร์เพิ่มขึ้น

ทัศนคติเกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์เปลี่ยนไป สำหรับคนท้องถิ่น

ในปี 2024 ชาวออสเตรเลีย 61 เปอร์เซ็นต์สนับสนุนการใช้พลังงานนิวเคลียร์ ในขณะที่เมื่อ 13 ปีก่อนคนในสัดส่วนที่เกือบจะเท่ากันคัดค้านการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

นีแลมกล่าวว่าบริบทปัจจัยอาจมีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะยังคงติดอยู่ในความคิดของชาวออสเตรเลียในปี 2011 ขณะที่ในปี 2024 ฝ่ายค้านได้ออกมาส่งเสริมพลังงานนิวเคลียร์

"เป็นการผสมผสานระหว่างระยะห่างระหว่างภัยพิบัติครั้งล่าสุด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทัศนคติของชุมชนที่เปลี่ยนไป และภัยคุกคามต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ยังคงดำเนินอยู่" เขากล่าว


Share
Published 12 June 2024 11:30am
Presented by Warich Noochouy
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand