ออสเตรเลียจะเปลี่ยนไปอย่างไรเมื่อวิกฤตไวรัสจบลง

ขณะที่การรอคอยวัคซีนเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ยังคงอีกยาวไกล นักสังคมศาสตร์ และนักวิเคราะห์พฤติกรรมออสเตรเลียกล่าวว่า ชาวออสเตรเลียควรเตรียมพร้อมกับ 'ความปกติใหม่' มากกว่าการกลับไปสู่สภาวะปกติอย่างที่เคยเป็น

A sign reminding residents and tourists of new social distancing rules at Manly Beach in Sydney.

Source: Getty Images

เป็นเวลา 7 สัปดาห์ หลังรัฐบาลออสเตรเลียได้ประกาศมาตรการจำกัดการรวมกลุ่ม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ขณะที่ชาวออสเตรเลียกำลังชื่นชมมาตรการจำกัดที่มีความก้าวหน้า และสามารถชะลอการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 คำถามหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นกับใครหลายคน นั่นก็คือ เมื่อใดที่ชีวิตจะกลับไปเป็นปกติเสียที
A lone passenger exits at the deserted Circular Quay Station in the CBD in Sydney.
مسافری تنها در حال خارج شدن از ایستگاه قطار متروک سرکولر کی سیدنی Source: AAP
วันศุกร์นี้ (8 พ.ค.) คณะรัฐบาลแห่งชาติ มีกำหนดวาระในการตัดสินที่จะยกเลิกมาตรการจำกัดการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนา ซึ่งจะทำให้ผู้คนจำนวนมากสามารถกลับไปทำงานในสำนักงาน และทำกิจกรรมทางสังคมได้ตามปกติ แต่ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า รูปแบบการใช้ชีวิตบางอย่างในออสเตรเลียจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป

ความหมายของ ‘ที่ทำงาน’ ที่เราเข้าใจจะเปลี่ยนไปหรือเปล่า

สุขอนามัยและความปลอดภัย เป็นเรื่องสำคัญอย่างแรกที่เราคำนึงถึง และผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ผู้คนจดจำได้นานพอ ๆ กับไวรัสโควิด-19

คุณเรเชล มอร์ริสัน (Rachel Morrison) ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยออคแลนด์ในนิวซีแลนด์ กล่าวว่า สำนักงานที่แออัด และโต๊ะที่ต้องใช้ร่วมกันจะหมดไป ในขณะที่การทำงานแบบยึดหยุ่นจากที่บ้านนั้นจะมีมากขึ้น

“ถ้าคุณสังเกตในประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์หลังเกิดวิกฤติโรคซาร์ส (SARS) ตอนนี้มันเป็นเรื่องปกติที่จะใส่หน้ากากอนามัย และถือว่าเป็นเรื่องไม่สุภาพในการออกไปข้างนอกโดยที่ไม่ใส่มัน โดยเฉพาะหากคุณมีอาการของไข้หวัดเพียงเล็กน้อย ดังนั้น เราจะพบเห็นนโยบายของหน่วยงานบางแห่ง ที่กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานสวมใส่หน้ากากอนามัย” ผู้ช่วยศาสตราจารย์เรเชล มอร์ริสัน กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์  

“หน่วยงานใดที่ไม่มีข้อกำหนดให้พนักงานต้องอยู่ที่สถานประกอบการ อาจมีการจัดตารางเวรเพื่อให้พนักงานไม่เข้าออกงานพร้อม ๆ กัน และอาจให้พนักงานบางส่วนเข้ามาปฏิบัติงานหลังเวลาทำการปกติ เพื่อให้จำนวนพนักงานที่อยู่ภายในสถานประกอบการเท่ากันตลอด 24 ชั่วโมง”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์มอร์ริสันระบุว่า การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานก็จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน โดยวิธีปฏิบัติในปัจจุบันอาจถือเป็นเรื่องไม่สุภาพ

“วิธีการปฏิบัติตัวในสถานที่ทำงานจะต้องเปลี่ยนไป ดังนั้น ดิฉันไม่คิดว่าเราจะจับมือหรือหอมแก้มกัน หรือเข้าประชุมร่วมกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างที่รับประทานสลัดจากจานเดียวกัน” ผู้ช่วยศาสตราจารย์มอร์ริสันกล่าว

“อีกสิ่งหนึ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ วัฒนธรรมการอดทนมาทำงานทั้งที่ไม่สบายจะหายไป ไม่มีใครต้องการให้คนที่มีอาการเจ็บป่วยมาทำงาน โดยเฉพาะถ้าหากเป็นไปได้ว่ามีอาการของโรคติดต่อที่ร้ายแรงถึงชีวิต”

เราจะรวมหมู่หรือแยกกันอยู่ในอนาคต

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า เรื่องนี้เป็นไปได้สองทาง

คุณมาลี โบเวอร์ (Marlee Bower) จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ซึ่งทำการวิจัยเกี่ยวกับภาวะความเปล่าเปลี่ยว และการเป็นส่วนหนึ่งในสังคม กล่าวว่า พฤติกรรมทางสังคมที่กำลังเป็นปัญหา จะมีผลยาวนานกว่าการระบาดใหญ่ของไวรัส

นี่อาจกลายเป็นการมองผู้อื่นว่าอาจเป็นพาหะนำโรค มากกว่ามองว่าเป็นเพื่อนใหม่ ดังนั้น มันสำคัญที่จะต้องทำให้แน่ใจว่า เราไม่มีพฤติกรรมในการมองคนแบบผิด ๆ” คุณโบเวอร์กล่าว 

“ยิ่งผู้คนรู้สึกเปล่าเปลี่ยวมากเท่าไหร่ โอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมอย่างไม่เหมาะสมก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งรวมถึงการกระทำเพื่อปกป้องตัวเอง ซึ่งทำให้มองมองผู้อื่นว่ามีภัยอันตราย และการต่อต้าน มากกว่าการมองเห็นความเมตตาปราณี”
An almost deserted George Street at 9am in Sydney.
An almost deserted George Street at 9am in Sydney. Source: AAP
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม คุณโบเวอร์กล่าวว่า ยังมีหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า การระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนาในครั้งนี้ ทำให้ผู้คนเปิดอกเปิดใจมากขึ้นกับผู้ที่อยู่ใกล้ชิด

“ความเปล่าเปลี่ยวเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่นี้ เช่นเดียวกับการเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวและอัตลักษณ์ร่วม และเมื่อคุณพบกับภัยอันตราย หรือศัตรูที่ทุกคนมีร่วมกัน คุณจะพัฒนาอัตลักษณ์ร่วมที่สามารถเป็นประโยชน์กับสุขภาพจิตของคุณได้” คุณโบเวอร์กล่าว

"ตามปกติแล้ว ความเหงาเป็นเรื่องน่าอับอายที่จะยอมรับ และเป็นเรื่องที่ผู้คนเลี่ยงที่จะพูด เนื่องจากเมื่อคุณรู้สึกเหงา แสดงว่าต้องมีอะไรผิดปกติ แต่ในตอนนี้เราได้เห็นผู้คนจำนวนมากเริ่มพูดถึงความเปล่าเปลี่ยวกันรอบด้าน”

การเข้าสังคมแบบดิจิทัลจะยังคงอยู่หรือไม่

มาตรการจำกัดการรวมกลุ่มกันในหลายรัฐและมณฑลของออสเตรเลีย หมายความว่า ชาวออสเตรเลียส่วนมากจะสามารถมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันได้กับสมาชิกภายในบ้านเท่านั้น ขณะที่การวิดีโอคอลกำลังกายเป็นเรื่องปกติอย่างรวดเร็วในการพบปะกับเพื่อน

แม้การทำกิจกรรมส่วนมากทางออนไลน์ ช่วยให้เรามีความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้นและยังคงมีงานทำ คุณโรเจอร์ พาทัลนี (Roger Patulny)  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวูลลองกอง กล่าวว่า ยังมีความท้าทายบางอย่าง เมื่อถึงเวลาที่เราหยุดรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing)
A police officer talks to drivers on the now-closed border of Queensland and New South Wales.
A police officer talks to drivers on the now-closed border of Queensland and New South Wales. Source: AAP
“เราจะมีทางเลือกมากมายที่สามารถทำได้ทางออนไลน์ ดังนั้น สิ่งที่สำคัญก็คือ เราจะร่วมกิจกรรมที่เกิดขึ้นทางออนไลน์และทางกายภาพอย่างไร เมื่อทุกอย่างกลับมาสู่สภาพปกติ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาทัลนีกล่าว

“ความอันตรายของการติดกับพฤติกรรมทางดิจิทัล ก็คือ ผู้คนจะอยู่ที่บ้านและไม่ต้องการที่จะออกไปไหน และการวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่า นั่นเป็นสิ่งที่เพิ่มความเปล่าเปลี่ยวให้มากขึ้น”

ผู้คนจะปรับตัวเข้ากับ ‘ความปกติใหม่’ อย่างไร

ขณะที่เรายังไม่ทราบเรื่องราวอีกมากในการแพระบาดของไวรัสนี้ คุณจอร์แดน แม็กเคนซี (Jordan McKenzie) อาจารย์ภาควิชาสังคมศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยวูลลองกอง กล่าวว่า มีสิ่งหนึ่งที่แน่นอน

“จะไม่มีทางหวนกลับไปยังสิ่งที่เคยเป็นมาก่อน” คุณแม็กเคนซีกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“ในแง่ของอารมณ์ การมีปฏิสัมพันธ์ และความใกล้ชิด ผมไม่อาจมั่นใจว่าจะมีสิ่งใดที่จะรู้สึกได้ว่าเป็นปกติในเร็ว ๆ นี้ หรือบางครั้งมันอาจไม่เกิดขึ้นเลย”

ขณะที่ประเทศในแถบทวีปเอเชียและยุโรป เช่นเดียวกับในสหรัฐฯ มีผู้คนนับแสนเศร้าสลดใจกับการจากไปของคนที่รัก ขณะที่ในออสเตรเลียนั้น เหตุการณ์แตกต่างกันมากในแง่ของความสูญเสีย แต่ศาสตราจารย์รีเบกกา โอลสัน (Rebecca Olson) จากภาควิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ออสเตรเลียจะเผชิญกับความเศร้าสลดใจในรูปแบบที่แตกต่าง

“ในออสเตรเลีย รูปแบบการสูญเสียที่เราพบอยู่นั้น ผู้คนมองมันเป็นเรื่องปกติในการใช้ชีวิต แต่เมื่ออนาคตมีความไม่แน่นอน กิจกรรมต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงหรือถูกขัด และเราไม่มีความมั่นใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร สิ่งนั้นจะทำให้เกิดความสสดใจกับทุกสิ่งที่เคยคิดไว้ว่าจะทำซึ่งไม่อาจทำได้ และความรู้สึกสูญเสียตัวตนและกิจการรมที่ไม่อาจหวนกลับไปทำได้อีก” ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอลสันกล่าว
แต่ถึงแม้ความรู้สึกเศร้าสลดใจจะแผ่ขยายไปทั่วออสเตรเลีย ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอลสันกล่าวว่า ยังมีข้อดีในตัวของมัน

มันสามารถช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบันได้มากขึ้น แทนที่จะคิดถึงแต่เรื่องอนาคตเพียงอย่างเดียว นั่นไม่ใช่ความชัดเจน แต่มันเป็นความเป็นไปได้” ผู้ช่วยศาสตราจารย์โอลสันกล่าว

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร ให้ตรวจสอบข้อจำกัดในรัฐของคุณเกี่ยวกับการรวมกลุ่มกัน

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ

เอสบีเอสมุ่งมั่นให้ข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อโควิด-19 แก่ชุมชนหลากหลายภาษาในออสเตรเลีย เรามีข่าวและข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ 63 ภาษาที่เว็บไซต์ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

กาชาดออสฯ ชวนผู้ป่วยโควิด-19 อาการดีขึ้นบริจาคพลาสมา


Share
Published 6 May 2020 6:13pm
Updated 6 May 2020 6:37pm
By Claudia Farhart
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand