ออสเตรเลียเริ่มหลงรักอาหารไทยได้อย่างไร?

แกงต่างๆ หมี่ผัด และรสชาติอันจัดจ้านที่ไม่เจือจาง สามารถหารับประทานได้ทั่วไป มาดูกันถึงจุดเริ่มต้นว่าผู้บุกเบิกอาหารไทยทั้งสามท่านนี้ได้ทำให้รสชาติไทยๆ เป็นที่คุ้นลิ้นของชาวออสเตรเลียได้อย่างไร

Long Chim's dishes

อาหารจานต่างๆ ของร้านลองชิม Source: Jiwon Kim/Image obtained by SBS Food

เมื่อคุณสุเจตน์ แสนคำเปิดร้านอาหารสไปซ์ไอแอม (Spice I Am) ที่ย่านเซอร์รีฮิลส์ในนครซิดนีย์เมื่อ 15 ปีที่แล้ว เขาทำการตัดสินใจอันน่ากังขาไม่น้อย ว่าจะไม่เจือจางรสชาติอาหารของเขาให้เข้ากับลิ้นของชาวออสเตรเลีย

“ในตอนแรกส่วนใหญ่แล้วจะเป็นคนไทยและชาวต่างชาติที่เคยอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย” คุณสุเจตน์วัย 55 ปี กล่าว

“มันใช้เวลาประมาณหนึ่งปีกว่าลูกค้าชาวตะวันตกจะเข้ามา ผู้คนนั้นทราบว่าผมทำรสชาติเช่นไร แต่ไม่มีใครปรุงอาหารแบบเดียวกับที่ผมทำ พวกเขาบอกว่ามันเผ็ดเกิดไป เค็มเกินไป แล้วก็มีความรู้สึกว่าจะต้องเป็นอาหารราคาถูกแน่ๆ”
Sujet Saenkham's chicken and lemongrass salad.
ยำไก่ตะไคร้โดยคุณสุเจตน์ แสนคำ (Image obtained by SBS Food) Source: Image obtained by SBS Food
“ในตอนนั้นเราตั้งราคาไว้สูงสำหรับอาหารไทย ผมไม่เข้าใจว่าทำไม่เราจะต้องราคาถูกด้วย เราซื้อส่วนผสมมาโดยไม่ต่างจากร้านอาหารอิตาเลียน ทั้งกระเทียมและพริกก็มาจากสายส่งเจ้าเดียวกัน”

ร้านสไปซ์ไอแอมมีอาหารจานต่างๆ ที่คุณสุเจตน์เติบโตขึ้นมาด้วยกัน เสมือนเป็นจดหมายรักแด่เหล่าพ่อครัวแม่ครัวในบ้านที่ภาคกลางของประเทศไทย

แล้วเขาก็ทำการท้าทายการรับรสของคนในออสเตรเลียด้วยร้านเฮาส์ไทย (House Thai) ซึ่งเชี่ยวชาญอาหารทางเหนือของไทย ซึ่งเป็นการบ่งถึงเชื้อสายทางคุณแม่ของเขา โดยสำหรับลูกค้าชาวตะวันตกนั้น นี่ก็เป็นครั้งแรกที่พวกเขาได้พบกับรสชาติอันจัดจ้านน่าตื่นเต้นของแกงแบบอิสานซึ่งไม่ใส่กะทิ โดยเป็นความท้าทายอันเผ็ดร้อนแม้กระทั่งสำหรับผู้ที่ชอบรับประทานพริกอยู่แต่เดิมแล้วก็ตาม

หลังจากนั้นร้านเซอร์รีฮิลส์อีทติงเฮาส์ (Surry Hills Eating House) ก็เปิดตามมา โดยเน้นไปที่อาหารของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่างอาหารจีนฮกเกี้ยน อาหารมาเลย์ และอาหารไทย

เมื่อหกปีที่แล้ว คุณสุเจตน์ได้ปิดร้านทุกร้านลงยกเว้นร้านสไปซ์ไอแอมต้นตำรับ โดยในตอนนี้เขาใช้เวลาที่ฟาร์มของเขาบริเวณแกงการูแวลลีย์ (Kangaroo Valley) เพื่อปลูกผลิตผลต่างๆ สำหรับนำไปขึ้นบนเมนูร้านสไปซ์ไอแอม
"มันเคยเป็นเรื่องยากลำบากที่จะพบรสชาติแบบไทยแท้ๆ แต่ตอนนี้มันก็ง่ายดาย ผมคิดว่า (ชาวออสเตรเลียคนอื่นๆ) ขณะนี้เข้าใจมากขึ้นแล้ว"
“ผมภูมิใจมากที่สามารถริเริ่มอาหารไทยอันมีความหลายหลายให้กับประเทศออสเตรเลีย และภูมิใจที่ออสเตรเลียสามารถยอมรับได้ว่าผมมีเจตนาเช่นไร มันเคยเป็นเรื่องยากลำบากที่จะพบรสชาติแบบไทยแท้ๆ แต่ตอนนี้มันก็ง่ายดาย ผมคิดว่า (ชาวออสเตรเลียคนอื่นๆ) ขณะนี้เข้าใจมากขึ้นแล้ว” เขากล่าว
ปัจจุบัน คุณพลิสา แอนเดอร์สัน วัย 37 ปี ก็ปลูกผลิตผลไทยๆ พันธุ์ดั้งเดิมที่เธอได้รับช่วงต่อมาในครอบครัว ซึ่งก็ถูกใช้ในกลุ่มร้านอาหารชาติไทยทุกสาขา แต่เธอไม่เคยเข้าใจผลกระทบของการที่คุณแม่ของเธอนั้นก่อร่างอาหารไทยที่ประเทศออสเตรเลีย จนกระทั่งเมื่อเธอไปจับจ่ายซื้อชุดชั้นในที่นครมิลาน
“มีผู้หญิงคนหนึ่งมาพูดคุยกับดิฉัน แล้วก็บอกกับดิฉันว่าเธอยังจำได้ถึงการไปรับประทานอาหารไทยมื้อเที่ยงทุกๆ บ่าย ผู้คนนั้นจดจำและเชื่อมโยงอาหารไทยที่ประเทศออสเตรเลียเข้ากับคุณแม่” เธอกล่าว

แม่ของเธอก็คือคุณเอมี จันต๊ะ วัย 61 ปี ผู้เปิดร้านชาติไทยสาขาแรกเมื่อ 30 ปีที่แล้ว
คุณเอมีนั้นเป็นอัจฉริยะผู้ทราบว่า แกงเขียวหวาน แกงแดง และแกงมัสมั่นต่างๆ นั้น จะเป็นนกต่อที่ชักนำให้นักชิมในวงกว้างได้มาทดลองรสชาติใหม่ๆ
"อาหารไทยทั้งหมดนั้น ได้รับอิทธิพลมาจากหลายๆ ที่ในโลก ทั้งจีน จากเอเชียโดยรวม อิทธิพลของอินเดียต่ออาหารเหนือ วิธีการใช้เครื่องเทศและวิธีการใช้กะทิ" คุณแอนเดอร์สันกล่าว

“ผู้คนได้เปลี่ยนทัศนคติต่ออาหารไทยไปในทางที่ดี อาหารไทยมีความละเมียดละไมเป็นอย่างมาก มันไม่ใช่แค่ว่าจะเป็นอาหารที่เผ็ดที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ที่ประเทศไทยมีการใช้พริกมาเพียง 200 ปีเท่านั้นหลังจากที่เริ่มนำเข้ามาจากอเมริกาใต้ โดยก่อนหน้าจะใช้เครื่องหอมต่างๆ เพื่อให้กลิ่นและรสชาติ”

อาหารจานโปรดบนเมนูสำหรับคุณปาลิสาในตอนนี้คือมะระผัดไข่เติมพริกไทยและกระเทียมดอง
“คุณจะไม่มีวันพบจานนี้บนเมนูต่างๆ มันเป็นอาหารที่ปรุงกันเองที่บ้าน ตอนแรกไม่มีใครสั่งเลย จนกระทั่งมีป้าๆ สูงวัยเข้ามาและก็บอกต่อกันไปปากต่อปาก” เธอกล่าว

“ดิฉันรักในการที่เรานั้นมีส่วนร่วมนำเอารสชาติต่างๆ เหล่านั้นมาให้คนหมู่มากได้ลิ้มลอง”

เชฟประดับดาวมิชลินชาวออสเตรเลีย และผู้เชี่ยวชาญอาหารไทย คุณเดวิด ทอมป์สัน เริ่มต้นปรุงอาหารไทยอย่างปราณีตบรรจงที่ร้านดาร์ลีย์สตรีทไทย (Darley Street Thai) เมื่อปี ค.ศ. 1992 และในตอนนี้ก็เฉลิมฉลองอาหารริมทางแบบกรุงเทพฯ ที่ร้าน “ลองชิม” ของเขาในสิงค์โปร์ นครเพิร์ท และนครซิดนีย์
David Thompson
ร้านลองชิมของคุณเดวิดได้แรงบันดาลใจจากความสนุกสนานที่กรุงเทพฯ ทั้งกลิ่น เสียง และความร้อนที่ทำให้นักท่องเที่ยวหลงรักและต้องการสัมผัสอีกครั้งหลังเดินทางกลับบ้าน (Image obtained by SBS Food) Source: Image obtained by SBS Food
“เมื่อผมเริ่มทำกับข้าวเมื่อนานมาแล้ว ตอนนั้นไม่มีความแตกต่างมากเท่าใดนักระหว่างลูกชิ้นเนื้อสับ พาสตา อาหารอิตาเลียนทางเหนือ หรืออาหารอิตาเลียนทางใต้ ทั้งหมดไม่ได้ออกมาจากกระป๋องเหมือนกันหรอกหรือ?” เขากล่าว

“ความอลังการและหลากหลายในลักษณะเดียวกันเริ่มมีขึ้นสำหรับอาหารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารไทย เมื่อส่วนผสมต่างๆ นั้นสามารถปลูกขึ้นได้ที่นี่ มีชุมชนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่แข็งแกร่งขึ้นและมีชาวออสเตรเลียที่เดินทางท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้มีความอลังการเพิ่มมากขึ้น”

“ร้านดาร์ลีย์สตรีทและร้าน “น้ำ” [ซึ่งได้รับการประดับดาวมิชลิน]ที่เปิดตามมานั้น เดินในสายความละเมียดละไม เจาะตลาดบนเฉพาะกลุ่ม และคงความเป็นต้นตำรับไว้อย่างสุดโต่ง” เขากล่าว “มันเป็นการสะท้อนความมีวินัยอย่างยิ่งยวดในอดีต ความเป็นต้นตำรับดั้งเดิมและจารีตประเพณีเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และด้วยความกระหายอยากรู้ของผู้ที่เริ่มเข้าสู่หนทางนี้ ผมจึงทำตามประเพณีอย่างเหี้_ๆ”
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

อาหารริมทางไม่ตามสั่ง

แม้ที่ผ่านมาเขาได้ปรุงอาหารตามจารีตอย่างวิลิศมาหราที่กรุงเทพฯ ทว่าเขากลับถูกดึงดูดเป็นพิเศษโดยอาหารริมทาง โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจจากความสนุกสนานที่กรุงเทพฯ ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น เสียง และความร้อนที่ทำให้นักท่องเที่ยงนั้นหลงรักและต้องการสัมผัสอีกครั้งหลังเดินทางกลับบ้าน

“ผมเป็นคนตลกร้าย ผมแกล้งมีความละเมียดละไม แต่ว่าผมนั้นชอบเส้นหมี่ต่างๆ มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเสิร์ฟอาหารจานพวกนั้นที่ร้านน้ำ แนวคิดร้านอาหารที่ผ่อนคลายและสบายๆ นั้นเป็นสวรรค์” คุณเดวิดกล่าวกับเอสบีเอส

ร้านลองชิมสาขาแรกในประเทศออสเตรเลียเปิดตัวเมื่อปี 2017 และไม่ใช่เพราะตลาดในท้องที่นั้นไม่พร้อม แต่คุณเดวิดต่างหากที่เป็นฝ่ายไม่พร้อม

“มันเป็นเวลายาวนานมากที่อาหารจานต่างๆ นั้นถูกเขียนด้วยการอธิบายส่วนผสม โดยที่เราไม่ได้เรียกชื่อ เส้นผัดกับซอสถั่วเหลืองก็น่าจะขายได้เพราะว่าเป็นอาหารจานยอดนิยมที่ประเทศไทย แต่ทันทีที่เราเรียกว่ามันผัดซีอิ๊ว ชาวตะวันตกก็รู้ทันทีแล้วมันก็ขายดี เกือบเท่าผัดไทยเลยทีเดียว”


 

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 2 May 2019 12:18pm
Updated 17 December 2020 6:57pm
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Food


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand