วิธีสังเกตโรคปอด ‘ลีเจียนแนร์’ ทางการเตือนถึงการระบาดในรัฐ NSW

หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้ประกาศเตือนภัยขั้นสูงสำหรับโรคลีเจียนแนร์สำหรับทุกคนที่อยู่ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ (CBD) ของซิดนีย์ในช่วง 10 วันที่ผ่านมา

A man coughing, with a hand to his throat.

ผู้ป่วยจะป่วยด้วยโรคลีเจียนแนร์ภายในสองถึง 10 วันหลังจากได้รับเชื้อแบคทีเรีย Source: Getty / BSIP/Universal Images Group

ประเด็นสำคัญ
  • ผู้หญิง 3 คนและชาย 4 คนเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหลังจากติดเชื้อโรคลีเจียนแนร์ในช่วงวันหยุดยาว
  • ผู้ที่เดินทางในย่านศูนย์กลางธุรกิจซิดนีย์บ่อยครั้งควรสังเกตอาการต่างๆ เช่น หายใจไม่สะดวกและหนาวสั่น
  • สภาเมืองซิดนีย์กำลังตรวจสอบหอทำความเย็นหลายร้อยแห่งที่อาจแพร่กระจายแบคทีเรีย
ชาวซิดนีย์ได้รับคำเตือนให้ระมัดระวังเกี่ยวกับโรคลีเจียนแนร์ หลังจากมีผู้ป่วย 7 รายป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจในช่วงเทศกาล

หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ออกคำเตือนเพื่อเฝ้าระวังอาการต่างๆ เช่น มีไข้ หนาวสั่น และหายใจลำบากให้กับผู้คนหลายแสนคนที่เข้ามาในย่านศูนย์กลางธุรกิจในช่วง 10 วันที่ผ่านมา รวมถึงผู้ที่สนุกสนานกันในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า

ผู้ป่วยทั้ง 7 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 20 ถึง 70 ปี ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแล้ว สาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ กล่าวเมื่อวันพุธ (3 ม.ค.)
หอทำความเย็นหลายร้อยแห่งทั่วเมืองกำลังได้รับการตรวจสอบหาอนุภาคน้ำที่ปนเปื้อน

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณมีความเสี่ยง?

โรคลีเจียนแนร์คืออะไร?

โรคลีเจียนแนร์เป็นโรคปอดบวมชนิดหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลีเจียนเนลลาในปอด

ดร.ริชาร์ด เบนท์แธม รองศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส กล่าวว่าแบคทีเรียลีเจียเนลลาพัฒนาในอนุภาคของน้ำอุ่นที่พบในหอทำความเย็นหรืออ่างสปา

“คูลลิ่งทาวเวอร์อยู่บนอาคารขนาดใหญ่หลายแห่งในเมืองต่างๆ … พวกมันผลิตหมอกที่เรียกว่าดริฟท์ ซึ่งไหลออกมาจากด้านบนของคูลลิ่งทาวเวอร์ และมันจะพาแบคทีเรียไปด้วย” เบนท์แธม บอกกับ เอสบีเอส นิวส์
If someone that is susceptible inhales that mist, and the mist can travel kilometers from the source, then they contract a pneumonia that can be quite serious.
หากใครก็ตามที่มีร่างกายอ่อนแอหายใจเอาละอองนั้นเข้าไป และละอองสามารถเดินทางจากแหล่งกำเนิดได้หลายกิโลเมตร พวกเขาจะติดเชื้อปอดบวมที่อาจร้ายแรงได้

เขากล่าวว่าอาการเบื้องต้นคือไอแห้งๆ และเหนื่อยล้า ตามมาด้วยไข้อย่างรวดเร็ว

 ผู้คนอาจมีอาการปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า ปวดท้อง และป่วยด้วยโรคปอดบวม โดยมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงขึ้นในผู้ป่วยที่ได้รับภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยงมากที่สุด?

ผู้ที่เสี่ยงต่อโรคนี้มากที่สุด ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ผู้ที่มีโรคปอด หรืออาการร้ายแรงอื่นๆ และผู้สูบบุหรี่

เบนท์แธมกล่าวว่าความรุนแรงของการเจ็บป่วยขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับมือกับโรคของแต่บุคคล แต่ย้ำว่ามันไม่ได้ติดต่อหรือแพร่เชื้อผ่านคนสู่คน

“หากคุณเริ่มรู้สึกไม่สบาย มีอาการไอแห้งๆ มีไข้เล็กน้อย ควรไปพบแพทย์ทันที ยิ่งรักษาได้เร็ว ผลลัพธ์ก็จะยิ่งดีขึ้น” เขากล่าว
รูปแบบการป้องกันที่ดีที่สุดระหว่างการระบาดในปัจจุบันคือการสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการหายใจเอาละอองน้ำที่ปนเปื้อนเข้าไป และไปพบแพทย์เพื่อป้องกันล่วงหน้า

 อาการมักเกิดขึ้นระหว่างสองถึง 10 วันหลังการสัมผัส โรคนี้รักษาได้ด้วยยาปฏิชีวนะ เนื่องจากแบคทีเรียสามารถต้านทานยาเพนิซิลลินได้

มันแพร่กระจายผ่านส่วนผสมของดินกระถางได้อย่างไร?

A group of people wearing garden gloves, potting plants into soil.
โรคลีเจียนแนร์สามารถแพร่กระจายผ่านดินในสวน เช่นเดียวกับในสระน้ำ สปา และเครื่องทำน้ำเย็น Source: Getty / Marcus Brandt
เบนท์แธม ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยงของ ลีเจียนแนร์ลา ในตำแหน่งรองผู้อำนวยการของ Built Water Solutions กล่าวว่า ลีเจียนแนร์ ชนิดรองสามารถพบได้ในดินหรือส่วนผสมในกระถาง

ในเดือนกันยายน หน่วยงานสาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เตือนชาวสวนให้สวมหน้ากากอนามัยและถุงมือเมื่อต้องจัดการส่วนผสมในกระถาง คลุมดิน หรือปุ๋ยหมัก หลังจากมีรายงานผู้ป่วย 54 ราย

ผลิตภัณฑ์ผสมกระถางที่ปนเปื้อนอาจทำให้เกิดการติดเชื้อในปอดหากสูดดมฝุ่น และแนะนำให้ทำให้ส่วนผสมในกระถางเปียกเพื่อลดฝุ่น

การล้างมือหลังสัมผัสดิน โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร ดื่ม หรือสูบบุหรี่ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการลดการสัมผัสดิน

NSW Health ได้เผยแพร่พร้อมคำแปลในหลายภาษา

- รายงานจาก AAP


Share
Published 11 January 2024 5:05pm
By Ewa Staszewska
Presented by Warich Noochouy
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand