วีซ่าออสเตรเลียจะได้รับผลกระทบอย่างไรจากงบประมาณฯ ปี 2019

NEWS: ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานในออสเตรเลียจะได้ประโยชน์จากมาตรการต่างๆ ที่ประกาศเมื่อวันอังคาร แต่ผู้ยื่นขอวีซ่าใหม่จะเผชิญค่าธรรมเนียมซึ่งสูงขึ้น

Composite image of an Australian visa label and budget 2019-20 documents

Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

มีชุมชนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานจำนวนมากที่ดูแล้วน่าจะได้รับผลประโยชน์จากงบประมาณแผ่นดินรอบก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันอังคาร (2 เม.ย.)

รัฐบาลได้กันเงินเป็นจำนวน $64.2 ล้านดอลลาร์สำหรับมาตรการด้าน “ความเป็นปึกแผ่นทางสังคม” ที่จะช่วยให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน “ได้ตั้งตัวและกลมกลืนไปกับชุมชนต่างๆ ของพวกเขา”

เอกสารงบประมาณแผ่นดินระบุว่า “งบประมาณแผ่นดินครั้งนี้ จะให้เงินสนับสนุนต่อกีฬาในระดับท้องถิ่น ต่อชุมชนภาษาต่างๆ ต่อแหล่งรวมชุมชนระดับชาติ และมีเงินให้เปล่าเพื่อสนับสนุนความเข้าใจซึ่งกันและกันและเฉลิมฉลองความหลากหลาย”

เงินจำนวนกว่า $12 ล้านดอลลาร์สำหรับระยะเวลาสามปี จะถูกใช้จ่ายในโครงการให้เปล่าด้านภาษาและพหุวัฒนธรรม ซี่งจะ “สนับสนุนเหล่าโรงเรียนสอนภาษาระดับชุมชน และเชื่อมโยงเยาวชนชาวออสเตรเลียเข้ากับภาษาและมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนของพวกเขา”

เงินอีกจำนวน $22.6 ล้านดอลลาร์สำหรับระยะเวลาสี่ปี จะถูกใช้จ่ายเพื่อขยายโครงการแหล่งรวมชุมชน (community hubs program) และก่อตั้งโครงการแหล่งรวมเยาวชนแห่งชาติ (national youth hubs program) ขึ้น

และเงินอีกจำนวน $7.3 ล้านดอลลาร์สำหรับระยะเวลาสามปี ได้ถูกกันไว้สานต่อเงินให้เปล่าเพื่อสนับสนุนการรวมตัวกันทางสังคม โดยมีไว้ให้องค์กรต่างๆ ในชุมชนที่ช่วยเหลือให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่เพิ่งเดินทางมาถึงใหม่หลอมรวมตัวเข้ากับสังคมของชาวออสเตรเลีย

ในงบประมาณแผ่นดินยังมีข่าวดีสำหรับชุมชนชาวกรีกในนครเมลเบิร์น โดยมีกองทุนจำนวน $5 ล้านดอลลาร์ให้สำหรับแหล่งศูนย์รวมชาวกรีก (Greek Centre Hub) ในนครดังกล่าว และให้กับแหน่งประธานชาวเฮลเลนิก (ชาวกรีก) ของแหล่งชุมชนนอกประเทศทั่วโลก (Hellenic Chair in Global Diasporas) ณ คณะวัฒนธรรมและนิเทศศาสตร์ (School of Culture and Communications) ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

โดยเงินส่วนที่เหลือจำนวน $64.2 ล้านดอลลาร์ก็จะกระจายไปยังโครงการอื่นๆ

ความเปลี่ยนแปลงต่อการอพยพย้ายถิ่นฐาน

งบประมาณแผ่นดินยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของรัฐบาลต่อการอพยพย้ายถิ่นฐาน

ก่อนหน้านี้ พรรคร่วมได้ประกาศว่าจะลดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นฐานที่รับเข้าประเทศลงจาก 190,000 รายให้เหลือ 160,000 รายเป็นระยะเวลาสี่ปี ตั้งแต่ปี(งบประมาณ) 2019-20 เป็นต้นไป

จากการวิเคราะห์แจกแจงงบประมาณฯ จะมีที่สำหรับรับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานด้วยช่องทางทักษะ (skilled stream) จำนวน 108,682 ราย และช่องทางด้านครอบครัว (family stream) จำนวน 47,732 ราย ซึ่งรวมถึง 3,586 รายสำหรับช่องทางของเด็กและผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษอยู่ในนั้นแล้ว

โดยเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันเพื่อสนับสนุนให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานอยู่อาศัยและทำงานนอกเมืองใหญ่ให้มากขึ้น เงินจำนวน $50 ล้านดอลลาร์สำหรับระยะเวลาห้าปี จะถูกใช้จ่ายสำหรับวีซ่าชนิดใหม่ๆ ที่จะ “สนับสนุนต่อความต้องการด้านต่างของพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลียให้ดียิ่งขึ้น”

ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี ค.ศ. 2019 เป็นต้นไป จะมีการนำวีซ่าทักษะใหม่สองประเภทมาใช้ โดยจะบังคับให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานอยู่อาศัยและทำงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลียเป็นระยะเวลาห้าปี หลังจากนั้นผู้ที่เลือกใช้วีซ่าดังกล่าวก็จะมีสิทธิที่จะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรได้

ความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ด้านวีซ่า

รัฐบาลจะเดินหน้าขึ้นเงินค่าธรรมเนียมยื่นสมัครวีซ่า สำหรับทุกๆ ซับคลาส (subclasses) ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน $275 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลาสี่ปี

การทดสอบแต้มคะแนนสำหรับการย้ายถิ่นฐานด้วยทักษะจะได้รับการปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มแต้มคะแนนให้รายบุคคลและคู่ครองซึ่งมีทักษะภาษาอังกฤษ

จะมีค่าใช้จ่ายจำนวน $1.3 ล้านดอลลาร์ จากการที่รัฐบาลยกเว้นค่ายื่นขอวีซ่าสำหรับผู้เข้าแข่งขันและเจ้าหน้าที่ผู้มีส่วนร่วมกับการแข่งขันคริกเก็ต International Cricket Council T20 World Cup ที่ประเทศออสเตรเลียในปี 2020

ชาวอินโดนีเซียยังเป็นผู้ได้รับประโยชน์โดยไม่คาดฝันจากงบประมาณแผ่นดินปีนี้ โดยจะมีจำนวนวีซ่าเวิร์กแอนด์ฮอลิเดย์ (work and holiday visas) ให้กับผู้ถือสัญชาติอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นจาก 2,500 รายเป็น 5,000 รายตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป

มาตรการดังกล่าวคาดว่าจะเพิ่มรายได้(ของรัฐบาล)ขึ้นเป็นจำนวน $40.4 ล้านดอลลาร์
ตามไปกดเครื่องคำนวณว่าท่านได้รับผลกระทบจากงบประมาณปีนี้เป็นเงินเท่าไร:

งบประมาณแผ่นดิน 2019: ใครได้ใครเสีย?

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 3 April 2019 12:08pm
Updated 3 April 2019 7:37pm
By Nick Baker
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand