วิกฤตเศรษฐกิจโควิด-19 เปลี่ยนขั้ว ผู้ชายเสี่ยงตกงานเพิ่ม

พบสัญญาณอันตรายทางเศรษฐกิจในออสเตรเลีย ที่กำลังเพ่งเล็งไปยังอุตสาหกรรมที่ผู้ชายทำงานเป็นส่วนมาก หลังส่งผลอย่างเลวร้ายกับตลาดงานที่มีผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่อย่างเลวร้ายก่อนหน้านี้

Workers are seen at a construction site in Brisbane.

Workers are seen at a construction site in Brisbane. Source: AAP

จากการวิเคราะห์ที่ได้รับการเปิดเผยโดยสมาชิกผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้านในรัฐบาลกลางออสเตรเลีย ระบุว่า ผู้ชายอาจเผชิญกับภาวะการว่างงานที่ถาโถมเข้ามามากขึ้น จากผลกระทบที่ยาวนานของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา ที่ขณะนี้เปลี่ยนจากอุตสาหกรรมที่มีผู้หญิงเป็นส่วนมาก มาเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ชายทำงานเป็นส่วนใหญ่

นางแคลร์ โอ นีล (Clair O’Neil) ได้ใช้โอกาสในการกล่าวสุนทรพจน์ ที่สถาบันแม็กเคล (McKell Institute)  เมื่อวันที่ 2 พ.ย.ที่ผ่านมา เพื่อเตือนว่า ผู้ชายในวัยทำงานกำลังได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำเพิ่มมากขึ้น ขณะที่วิกฤตเศรษฐกิจทวีความรุนแรง

ก่อนหน้านี้ ผู้หญิงวัยทำงานนั้นได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงที่สุด จากการที่ภาคธุรกิจต่าง ๆ ต้องปิดตัวลงจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนา และมาตรการล็อกดาวน์ของรัฐบาล
Labor's spokesperson for the Future of Work Clare O'Neil.
Labor's spokesperson for the Future of Work Clare O'Neil. Source: AAP
นางโอ นีล โฆษกด้านอนาคตในการทำงานจากพรรคแรงงาน กล่าวว่า จากหลักฐานหลายอย่างได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ชายในชนชั้นทำงานนั้นกำลังต้องแบกรับภาระอันหนักอึ้งจากภาวะตกงาน

“ขณะที่มีผู้หญิงจำนวนมากที่ตกงานในช่วงแรกของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การวิเคราะห์ที่ดิฉันได้เปิดเผยในวันนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้กำลังถาโถมมายังอุตสาหกรรมที่ผู้ชายทำงานเป็นส่วนมาก” นางโอ นีล กล่าว

นางโอ นีล ได้อ้างอิงการวิจัยจากกลุ่มบริษัทให้คำปรึกษาแม็กคินซีย์ (MacKinsey) และได้เตือนว่า ธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดในเดือนมีนาคมปีหน้าที่กำลังจะมาถึงนั้น จะรวมถึง

  • ธุรกิจก่อสร้าง มีผู้ชายทำงานคิดเป็น 88%
  • ธุรกิจการผลิต มีผู้ชายทำงานคิดเป็น 73%
  • งานวิชาชีพ (ทนายความ ที่ปรึกษา ฯลฯ) มีผู้ชายทำงานคิดเป็น 57%
งานวิจัยดังกล่าวยังได้ประมาณว่า หากมีการหยุดจ่ายเงินชดเชยรายได้จ๊อบคีปเปอร์ (JobKeeper) และเงินสงเคราะห์ค่าจ้างสำหรับผู้ว่างงานจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeeker) ในจำนวนผู้ตกงานในระดับไม่เกิน 500,000 ตำแหน่ง จะพบคนทำงานมากกว่า 60% ที่เป็นผู้ชาย

ในการกล่าวสุนทรพจน์ของนางโอ นิล เธอยังได้เรียกร้องให้มีการประเมินผลกระทบของการแพร่ระบาดของวัรสโคโรนา ”อย่างละเอียด” มากขึ้น ผ่านมุมมองของเพศสภาพ และเตือนถึงธรรมชาติของการถกเถียงในเรื่องดังกล่าวที่มีการแบ่งขั้วกันอย่างชัดเจน

“มันไม่ใช่การแข่งขันระหว่างเพศสภาพ โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงในประเด็นที่ว่าใครที่ต้องลำบากมากกว่ากันในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจตกต่ำขนาดนี้ ประเด็นของดิฉันก็คือ ตอนนี้ทุกคนกำลังลำบากกันทั้งนั้น” นางโอ นีล กล่าว

เธอกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในระลอกแรกได้ส่งผลกระทบ “อย่างเลวร้าย” กับผู้หญิง ซึ่งรวมถึงผู้ที่ทำงานในธุรกิจบริการ ที่พักอาศัย และบางส่วนในภาคการศึกษาและด้านสุขภาพ โดยอุตสาหกรรมส่วนมานั้นพึ่งพาพนักงานแคชวล ซึ่งส่วนมากมักถูกเลิกจ้าง และไม่สามารถรับเงินชดเชยค่าจ้าง JobKeeper ได้

“ผู้หญิงเป็นกลุ่มแรก ๆ ที่ประสบกับความเลวร้าย ในตอนนี้ได้กลับกลายเป็นผู้ชายที่ต้องพบเจอ และมันมีหลักฐานว่าเราจะเห็นสิ่งนี้ชัดเจนขึ้นในแต่ละเดือน” นางโอ นีล กล่าว
นางโอ นีล ได้อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลีย (ABS) ที่แสดงให้เห็นว่า ภายในเดือนกันยายน ปี 2020 ผู้ชายมีโอกาสมากกว่าที่จะประสบกับภาวะว่างงาน ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากผลกระทบของไวรัสโคโรนา

อัตราการว่างงานของผู้ชายนั้น ขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 7.15 เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่ร้อยละ 6.17 โดยอัตราว่างงานของผู้ชายนั้นเพิ่มขึ้นมากกว่าผู้หญิง ในช่วงสถานการณ์ไวรัสโคโรนา

ขณะที่ผู้หญิง ยังคงมีโอกาสมากกว่าที่จะประสบกับภาวะว่างงานเมื่อเทียบกับผู้ชาย แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของภาวะว่างงานของผู้ชายนั้น อยู่ในระดับสูงหากเทียบกับผู้หญิง

นางโอ นีล กล่าวว่า กลุ่มผู้ชายที่ไม่เรียนต่อจากระดับชั้นมัธยมศึกษามากนักที่ราวร้อยละ 40 เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกเลิกจ้าง

“โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ชายกลุ่มนี้กำลังประสบกับช่วงเวลาของความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจที่ยืดเยื้อ นี่เป็นปัญหาที่ต้องการและสมควรได้รับความสนใจ” นางโอ นีล กล่าว

เธอกล่าวอีกว่า ผู้ชายที่มีการศึกษาในระดับสูงและอาศัยอยู่ในเมือง กลับอยู่ในสถานะที่ดีกว่าประชากรชายทั่วไปอย่างลิบลับ

นางเคท กริฟฟิทส์ (Kate Griffiths) นักวิจัยจากสถานบันวิจัยแกรทแทน (Grattan Institute) ยอมรับว่า มี “การเปลี่ยนแปลง” ที่ “กระจายอย่างเท่าเทียม” ของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่สงผลกระทบทั้งผู้หญิงและผู้ชาย

แต่เธอกล่าวว่า มันควรเป็นที่รับรู้ว่า ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำจากสถานการณ์ไวรัสโคโรนานั้น เลวร้ายกว่าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งที่ผ่านมา ในส่วนของผลกระทบที่มีต่อคนทำงานที่เป็นผู้หญิง    

“เราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้แน่นอน แต่หากเทียบกับวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา ครั้งนี้ถือว่าเลวร้ายที่สุดสำหรับผู้หญิง ความแตกต่างตรงนี้อยู่ที่ 50-50 ในแง่ของภาวะการว่างงาน และเมื่อคุณพบกับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำแบบ 50-50 คุณย่อมต้องการการตอบสนองแบบ 50-50 เช่นกัน” นางกริฟฟิทส์​ กล่าว

ขณะที่พรรคกรีนส์ ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน และนักวิเคราะห์ด้านนโยบาย ได้วิพากษ์วิจารณ์การแถลงแผนการจัดสรรงบประมาณของรัฐบาลสหพันธรัฐ  เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่ผ่านมา ว่าพวกเขาไม่ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีผู้หญิงทำงานเป็นส่วนมากอย่างเพียงพอ

พรรคกรีนส์ ได้โต้แย้งว่า อุตสาหกรรมที่มีผู้ชายทำงานเป็นส่วนมาก เช่น อุตสาหกรรมการก่อสร้าง และการผลิตนั้น ได้รับงบประมาณสนับสนุนเพื่อกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากถึง $10,000 ล้านดอลลาร์

แต่ นายสกอตต์ มอร์ริสัน นายกรัฐมนตรี ได้ปกป้องการตอบสนองทางเศรษฐกิจ โดยกล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณที่ผ่านมานั้นก็เพื่อการสนับสนุนชาวออสเตรเลียทุกคน และได้เตือนว่า “เสียงของความแตกแยกนั้น” จะส่งผลเสียต่อการฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจของประเทศ


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 November 2020 6:50pm
Updated 4 November 2020 7:17pm
By Tom Stayner
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand