ยาชนิดต่างๆ ที่ใช้รักษาผู้ป่วยโควิด-19 ในออสเตรเลีย

ออสเตรเลียได้อนุมัติยาต้านไวรัสโควิด-19 หลายชนิด มียาอะไร และเงื่อนไขในการใช้ยาต่าง ๆ เป็นอย่างไร

A supplied image of ICU Registered Nurse Shaunagh Whelan (left) caring for a COVID-19 positive patient in the ICU of St Vincents Hospital in Sydney, Tuesday, July 13, 2021. (AAP Image/Supplied by Kate Geraghty/SMH/St Vincents Hospital) NO ARCHIVING, EDITO

Private Health Insurance premiums are set to raise this year. Source: AAP Image/Supplied by Kate Geraghty/SMH/St Vincents Hospital

มีการรักษาหลายรูปแบบที่ได้รับการพัฒนาเพื่อรักษาโรคโควิด-19 ซึ่งรวมถึงยาต้านการอักเสบ และยาต้านไวรัส โดยยาต้านการอักเสบจะป้องกันระบบภูมิคุ้มกันจากการมีปฏิกิริยาต่อไวรัสมากเกินไป และยาต้านไวรัสจะยับยั้งไวรัสจากการแพร่พันธุ์ในร่างกาย

ส่วนการรักษาด้วยแอนติบอดี (Antibody treatment) จะป้องกันไวรัสไม่ให้รุกรานเซลล์ในร่างกายและสร้างความเสียหายไปมากกว่าเดิม
Paxlovid Pfizer oral antiviral anticovid in tablets.
ยาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ดสำหรับรับประทาน "แพ็กซ์โลวิด" ของไฟเซอร์ Source: AAP

ยาแบบไหนที่มีสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในออสเตรเลียแล้ว

เป็นผู้ประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการรักษาโรคโควิด-19 ก่อนที่จะอนุมัติชั่วคราวสำหรับการใช้งานภายในประเทศ

ในปัจจุบัน ทีจีเอได้อนุมัติใช้งานยาโมลนูพิราเวียร์ หรือลาเกวริโอ (Molnupiravir [Lagevrio]) และเนอร์มาเทรลเวียร์ + ริโทนาเวียร์ หรือแพ็กซ์โลวิด (nirmatrelvir + ritonavir [Paxlovid]) และเรมเดซิเวียร์ หรือเวคลูรี (Remdesivir [Veklury]) สำหรับการรักษาแบบต้านไวรัส ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้

การรักษารูปแบบนี้สามารถยับยั้งการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 และการก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยที่รุนแรงอย่างได้ผล
Paxlovid, a Pfizer's coronavirus disease (COVID-19) pill.
ภาพการผลิตยาแพ็กซ์โลวิด ยาเม็ดต้านไวรัสโควิด-19 ของไฟเซอร์ Source: PFIZER INC.
ศาสตราจารย์ไมเคิล คิดด์ (Michael Kidd) รองประธานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของออสเตรเลีย กล่าวว่า ยาลาเกวริโอ (Lagevrio) และแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ชนิดรับประทานนั้น มีอยู่ในโครงการสิทธิประโยชน์ทางเวชภัณฑ์ (PBS)

ศาสตราจารย์คิดด์ กล่าวว่า ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ชาวอะบอริจินและชาวเกาะทอเรสสเตรทที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้ หากพวกเขามีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อยสองปัจจัย นอกจากนี้ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องในระดับปานกลางถึงระดับรุนแรงที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปก็สามารถเข้าถึงยาเหล่านี้ได้เช่นกัน

“ผู้คนจำเป็นต้องมีผลการตรวจหาด้วยวิธีอาร์ทีพีซีอาร์ (RT-PCR) หรือชุดตรวจแอนติเจนแบบทราบผลรวดเร็ว (RAT) เป็นบวก เพื่อให้แพทย์ทั่วไป (GP) เขียนใบสั่งยาสำหรับลาเกวริโอและแพ็กซ์โลวิด” ศาสตราจารย์คิดด์ กล่าว
การรักษาเหล่านี้จะช่วยผู้คนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 อย่างรุนแรง และช่วยให้พวกเขาอยู่นอกโรงพยาบาล การรักษาเหล่านี้อาจเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตผู้คนได้
ศาสตราจารย์คิดด์แนะนำว่า ผู้คนจำเป็นต้องเริ่มการรักษาภายใน 5 วันหลังจากมีอาการ
ยิ่งผู้คนเริ่มต้นการรักษาเร็วเท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้น

ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ของโรคโควิด-19 ได้แก่

  • ผู้ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หรือได้รับการฉีดวัคซีนไม่ครบโดส (โดสเดียว)
  • ผู้อยู่ในสถานดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ
  • ผู้มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป
  • ผู้มีภาวะระบบทางเดินหายใจ (เช่น อาการหอบหืดระดับปานกลางถึงรุนแรงที่ต้องใช้การรักษาด้วยสเตียรอยด์ หรือโรคทางเดินหายใจอุดตัน) หรือมีภาวะทางระบบประสาท (เช่น โรคลมชัก หรือโรคสมองเสื่อม)
  • ผู้มีภาวะเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ที่ต้องใช้ยารักษา
  • ผู้มีภาวะหัวใจล้มเหลวหรืออ่อนกำลัง
  • ผู้มีภาวะโรคอ้วนที่ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) มากกว่า 30
  • ผู้มีภาวะไตวาย ตับแข็ง และผู้ป่วยโรคตับ

ผู้มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งรวมถึง

  • ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ยังไม่ได้รับการรักษา (โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งไขกระดูก และโรคไขกระดูกเสื่อม)
  • ผู้ที่เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ หรือผู้เพิ่งได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก
  • ผู้ติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์
  • ผู้ที่กำลังรับการรักษาจากมะเร็งด้วยเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา
  • ผู้รับประทานยาซึ่งสามารถกดภูมิต้านทานได้
  • ผู้มีภาวะดาวน์ซินโดรม
  • ผู้มีความบกพร่องทางสติปัญญาและร่างการอย่างรุนแรงที่ต้องได้รับการดูแล และโรคที่เกิดจากฮีโมโกลบินผิดปกติอื่น ๆ ที่มีภาวะเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (SCD) และภาวะหัวใจล้มเหลวหรืออ่อนแรง
ศาสตราจารย์คิดด์กล่าวว่า แพทย์ทั่วไปจำเป็นต้องทบทวนยาทุกชนิดก่อนที่จะเขียนใบสั่งยาต้านไวรัสโควิด-19 ให้กับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกรณีของแพ็กซ์โลวิด

“แพ็กซ์โลวิดไม่สามารถรับประทานได้ หากกำลังรับยาชนิดอื่นจำนวนหนึ่งชนิดหรือมากกว่า ไม่สามารถใช้ยานี้ได้หากผู้รับยามีภาวะโรคตับและไตอย่างรุนแรง กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร และมีกิจกรรมทางเพศสม่ำเสมออยู่ในวัยเจริญพันธุ์ มันสำคัญที่คุณจะต้องใช้ยาคุมกำเนิดเมื่อรับการรักษานี้”

ส่วนยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) จะมีให้สำหรับผู้ป่วยอย่างรุนแรงในออสเตรเลียที่ต้องใช้ออกซิเจนหรือการช่วยหายใจระดับสูงเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลกใน แสดงให้เห็นว่า ยาเรมเดซิเวียร์ไม่มีประสิทธิภาพอย่างมีนัยยะสำคัญกับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ใช้เครื่องช่วยหายใจอยู่แล้ว ตัวยากล่าวมีผลเพียงเล็กน้อยในการป้องกันการเสียชีวิต หรือการใช้เครื่องช่วยหายใจอย่างต่อเนื่อง (หรือทั้งสองกรณี) ในบรรดาผู้ป่วยคนอื่น ๆ ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาล

ภูมิคุ้มกันบำบัดโมโนโคลนอล (Monoclonal antibody treatments) เป็นการรักษาซึ่งใช้โปรตีนสังเคราะห์ที่ทดแทนสารภูมิต้านทานในร่างกาย ในการช่วยต่อสู้กับไวรัสที่เป็นอันตรายซึ่งรวมถึงไวรัสโควิด-19

ทีจีเอได้อนุมัติชั่วคราวให้มีการใช้ ในรูปแบบสารให้ทางหลอดเลือดดำในผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป มีน้ำหนักตัวอย่างน้อย 40 กิโลกรัม ไม่ใช้ออกซิเจนช่วยหายใจ และกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและเสียชีวิตมากขึ้น

โดยทีจีเอกำลังพิจารณาคำร้องจากแกล็กโซสมิธไคลน์ (GlaxoSmithKline) ผู้ผลิตยาดังกล่าว สำหรับการอนุญาตให้มีการใช้ตัวยาโซโทรวิแมบด้วยจำนวนโดสที่แรงขึ้น ในกรณีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน ชนิดบีเอ.2 (BA.2)

ทั้งนี้ เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์โอมิครอน ชนิดบีเอ.2 (BA.2)  หรือที่รู้จักกันว่าเป็นเชื้อโอมิครอนแอบแฝง กำลังแพร่ระบาดอยู่ในออสเตรเลียและหลายประเทศทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม องค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ได้เพิกถอนการอนุญาตใช้ยาโซโทรวิแมบ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา

ตัวยาชนิดอื่น ๆ ซึ่งทีจีเอให้การอนุมัติชั่วคราวสำหรับการรักษาโรคโควิด-19 ได้แก่

  • คาซิริวิแมบ + อิมเดวิแมบ หรือโรนาพรีฟ (casirivimab + imdevimab [Ronapreve])
  • โทซิลิซูแมบ หรือแอคเทมรา (tocilizumab [Actemra])
  • ทิกซาเจวิแมบ + คลิกาวิแมบ หรือเอวูเชลด์ (tixagevimab and cilgavimab [Evusheld])
ทีจีเอระบุว่า ยาปฏิชีวนะและตัวยาอย่างไอเวอร์เม็กติน (Ivermectin) และไฮดรอกซิคลอโรควิน (Hydroxychloroquine) ไม่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 และไม่ได้รับการรับรองให้เป็นการรักษาในออสเตรเลีย

หากคุณมีอาการใด ๆ ดังต่อไปนี้ โทรหาบริการฉุกเฉินที่หมายเลข 000 โดยทันที  แล้วบอกเจ้าหน้าที่รับโทรศัพท์ว่าคุณได้รับการวินิจฉัยก่อนหน้านี้ว่าเป็นโรคโควิด-19

  • หายใจสั่งอย่างรุนแรงหรือหายใจลำบาก
  • รู้สึกเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง หรือแน่นหน้าอก
  • เพิ่งมีไข้ หรือกลับมาเป็นไข้อีกครั้ง
  •  ความสามารถในการจดจ่อแย่ลง และมีอาการสับสนเพิ่มขึ้น
  •  ตื่นนอนอย่างยากลำบาก
หากคุณมีอาการอื่น ๆ หลังหายจากโรคโควิด-19 แล้ว ติดต่อแพทย์ทั่วไปของคุณ หรือผู้ให้บริการด้านสาธารณสุข (ที่มา: HealthDirect)

เอสบีเอส มุ่งมั่นนำเสนอข้อมูลล่าสุดทั้งหมดเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพื่อชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมของออสเตรเลีย โปรดดูแลสุขภาพของคุณและติดตามข่าวสารเป็นประจำผ่าน


 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดต่อสอบถามบริการสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 11 May 2022 3:28pm
Updated 11 May 2022 3:45pm
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand