ผู้ย้ายถิ่นทุกวันนี้ได้ค่าจ้างน้อยกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน รายงานล่าสุดพบ

รายงานล่าสุดฉบับหนึ่งระบุว่า มีความเข้าใจน้อยมากเกี่ยวกับบทบาทของผู้ย้ายถิ่นฐานในตลาดงานของออสเตรเลีย

คุณเบอนัวต์ เลบลอนด์ ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย หลังสงสัยว่า ชั่วโมงการทำงานและค่าจ้างที่เขาได้รับนั้นไม่เหมาะสมตามกฎหมายและเงื่อนไขในวีซ่า

คุณเบอนัวต์ เลบลอนด์ ขอความช่วยเหลือทางกฎหมาย หลังสงสัยว่า ชั่วโมงการทำงานและค่าจ้างที่เขาได้รับนั้นไม่เหมาะสมตามกฎหมายและเงื่อนไขในวีซ่า Source: SBS News

แม้จะมีระดับการศึกษาและประสบการณ์ที่มากขึ้น แต่ผู้ย้ายถิ่นฐานที่เพิ่งย้ายมายังออสเตรเลียเมื่อไม่นานมานี้ มีรายได้น้อยกว่าผู้ย้ายถิ่นฐานเมื่อ 10 ปีก่อน ระบุ

รายงานฉบับนี้กล่าวว่า แม้วิกฤตโควิด-19 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานที่มีต่อเศรษฐกิจของออสเตรเลีย แต่มีความเข้าใจที่น้อยมากเกี่ยวกับบทบาทของพวกเขาในตลาดงาน

คุณเบอนัวต์ เลบลอนด์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ประเทศบ้านเกิดของเขา และเขาได้มายังออสเตรเลียเป็นครั้งแรกในปี 2014 ด้วยวีซ่าระยะสั้นสำหรับผู้มีสปอนเซอร์

จากนั้นเขาก็เปลี่ยนไปถือวีซ่าเวิร์กกิง ฮอลิเดย์ ก่อนจะได้รับการเสนอวีซ่าแบบมีสปอนเซอร์ให้ทำงานในภาคธุรกิจการบริการ (hospitality) ในซิดนีย์

ขณะทำงานภาคธุรกิจการบริการ เขาเริ่มสงสัยว่าชั่วโมงทำงานที่เขาได้รับมอบหมายนั้น ตามกฎหมายแล้วไม่เหมาะสมกับเงื่อนไขในวีซ่าและค่าแรงขั้นต่ำที่เขาควรได้รับ

“ผมติดอยู่กับงานนี้ ไปไหนไม่ได้ เพราะสถานการณ์ด้านวีซ่า จริง ๆ แล้วเราไม่ได้รับอนุญาตให้ลาออกจากงาน เราไม่ได้รับอนุญาตให้หางานที่มีเงินเดือนสูงกว่าหรือมีสภาพการทำงานที่ดีกว่า เพราะเงื่อนไขของวีซ่า ... มันกลายเป็นสถานการณ์ที่น่าหวาดหวั่นมาก" คุณเลบลอนด์ กล่าว

“ขณะถือวีซ่า เรามักต้องแบกภาระนั้นไว้บนบ่า ซึ่งเราไม่สามารถทำอะไรได้ในเรื่องนี้ เพราะถ้าหากทำไป เราก็อาจถูกส่งกลับบ้าน”

"มันอยู่ในหัวของเราทุกคนที่อยู่ในสถานการณ์วีซ่าแบบนั้น"

ตอนนี้คุณเลบลอนด์ไม่ได้ทำงานให้กับบริษัทนั้นแล้ว และในที่สุดเขาก็ขอความช่วยเหลือทางกฎหมายเกี่ยวกับสภาพการทำงานของเขา
เขากล่าวว่าประสบการณ์ที่เขาพบเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไปในหมู่ลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐาน

“มันเกิดขึ้นกับทุกคนที่อยู่ที่นี่ด้วยวีซ่าระยะสั้น ไม่ว่าจะเป็นวีซ่าเวิร์กกิง ฮอลิเดย์ หรือวีซ่าทำงาน เมื่อกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองขอให้ลูกจ้างต้องไปทำงานในส่วนภูมิภาคเพื่อขยายระยะเวลาอยู่ต่อสำหรับวีซ่า เรื่องนี้ก็เกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย” คุณเลบลอนด์ กล่าว

“ผู้คนถูกเอารัดเอาเปรียบในฟาร์มหรือในธุรกิจการให้บริการต้อนรับ และนั่นเป็นการทุ่มตลาดทางสังคม (social dumping การขายสินค้าและบริการในราคาถูกเนื่องจากการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม) ตอนนั้นผมได้รับค่าจ้าง 400 ดอลลาร์ต่อสัปดาห์ในรัฐควีนส์แลนด์สำหรับการทำงาน 40 ชั่วโมง”

รายงาน 'ผู้ย้ายถิ่นฐานในตลาดแรงงานของออสเตรเลีย: คู่มือสำหรับผู้กำหนดนโยบาย' (Migrants in the Australian workforce: A guidebook for policy makers) ถูกเผยแพร่ออกมาในสัปดาห์ที่แล้ว รายงานนี้ให้ข้อมูลแผนผังเกี่ยวกับ ประเภทวีซ่าต่างๆ ที่ผู้ย้ายถิ่นฐานถือ ทักษะการทำงานที่พวกเขามี สถานที่ที่พวกเขาทำงาน และรายได้ที่พวกเขาได้รับ

กลุ่มผู้เขียนรายงานกล่าวว่า คู่มือนี้พยายามที่จะเติมเต็ม 'ช่องว่างความรู้' เกี่ยวกับบทบาทของลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานในตลาดงานของออสเตรเลีย "เพื่อให้ผู้กำหนดนโยบายสามารถปฏิรูประบบเพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของการย้ายถิ่นฐานไปสู่ชาวออสเตรเลีย"
1 ใน 3 ของลูกจ้างในออสเตรเลียเกิดในต่างประเทศ และ 1 ใน 5 ถือวีซ่าชั่วคราวหรือถาวร รายงานฉบับนี้ระบุ

รายงานกล่าวว่า โครงการย้ายถิ่นถาวรของออสเตรเลียได้เปลี่ยนไปเป็นโครงการที่มุ่งเน้นด้านทักษะอาชีพในระดับสูงขึ้นในช่วงไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา โดยผู้ที่ได้รับวีซ่าถาวรหลังปี 2000 มีสัดส่วนร้อยละ 12 ของจำนวนแรงงานในออสเตรเลีย

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะอาชีพ (Skilled migrants) นั้น มีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยกว่า มีทักษะสูงกว่า และมีรายได้สูงกว่าชาวออสเตรเลียทั่วไป” รายงานระบุ

"ผู้ย้ายถิ่นฐานมีแนวโน้มมากขึ้นที่จะมีการศึกษาสูง ราวครึ่งหนึ่งของผู้ย้ายถิ่นฐานมีการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีเมื่อพวกเขาเดินทางมาถึง และอีกมากได้รับวุฒิการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในช่วงที่พวกเขาอยู่ในออสเตรเลีย"

อย่างไรก็ตาม รายงานพบว่าผู้ย้ายถิ่นฐานที่มาถึงออสเตรเลียในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มที่จะมีชั่วโมงการทำงานที่น้อยลงและมีรายได้น้อยกว่าเมื่อ 10 ปีก่อน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่มาถึงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานั้นเดินทางมายังออสเตรเลียเพื่อศึกษาต่อเป็นจำนวนมากกว่าเดิม

บริการที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพและบริการด้านสุขภาพ เป็นอุตสาหกรรมที่จ้างงานผู้ถือวีซ่าถาวรเป็นจำนวนมาก ทั้งวีซ่าถาวรสำหรับแรงงานทักษะและวีซ่าครอบครัว ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคนกลุ่มนี้ได้รับค่าจ้างที่สูงในตำแหน่งที่ต้องใช้ทักษะอาชีพที่สูงกว่า

ภาคส่วนอื่นๆ เช่น ภาคส่วนการบริการ (hospitality) พึ่งพาผู้ย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าชั่วคราวมากกว่า โดยเฉพาะนักเรียนต่างชาติ เพื่อเติมเต็มตำแหน่งงานที่ใช้ทักษะวิชาชีพต่ำกว่ามาก ด้วยค่าแรงที่ต่ำ รายงานดังกล่าว ระบุ
"การวิจัยที่ทำขึ้นเมื่อไม่นานนี้มักกล่าวว่า การย้ายถิ่นฐานมีผลกระทบเล็กน้อยต่อค่าจ้างของลูกจ้างชาวออสเตรเลียที่ทำงานในตำแหน่งงานเดียวกัน แต่อย่างไรก็ตามการไหลบ่าเข้ามาของลูกจ้างผู้ย้ายถิ่นฐานอย่างเข้มข้นในภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่ง ก็สามารถกดดันค่าจ้างของลูกจ้างชาวออสเตรเลียที่มีทักษะคล้ายคลึงกัน ให้ได้รับค่าจ้างน้อยลงได้"

รายงานพบว่าผู้ย้ายถิ่นฐานจำนวนมากที่เริ่มต้นการทำงานในพื้นที่ส่วนภูมิภาคของออสเตรเลีย – ซึ่งมักทำไปเพราะเงื่อนไขของวีซ่านั้น – ไม่ได้อาศัยอยู่ที่นั่นนานนัก

“กว่า 1 ใน 4 ของผู้ที่เดินทางมาถึงออสเตรเลียไม่นานนี้ ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ส่วนภูมิภาคและพื้นที่ห่างไกลในปี 2011 ได้ย้ายไปยังเมืองใหญ่ ๆ ภายในปี 2016 เมื่อเทียบกับราวร้อยละ 10 ของผู้ที่เกิดในออสเตรเลีย”

ผู้ย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ 7 ของลูกจ้างในตลาดแรงงานออสเตรเลีย

ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวบางคน รวมถึงผู้ถือวีซ่าเวิร์กกิง ฮอลิเดย์ และนักเรียนต่างชาติจำนวนมาก มักทำงานในอาชีพที่ใช้ทักษะอาชีพต่ำกว่ามาก และได้ค่าจ้างต่ำ รายงานระบุ
“ผู้ย้ายถิ่นที่มีทักษะอาชีพ (Skilled migrants) นั้น มีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยกว่า มีทักษะสูงกว่า และมีรายได้สูงกว่าชาวออสเตรเลียทั่วไป ผู้ถือวีซ่าครอบครัวทำงานในอัตราที่ใกล้เคียงกับผู้ที่เกิดในออสเตรเลีย ในขณะที่ผู้ถือวีซ่าด้านมนุษยธรรมมีแนวโน้มอยู่ในสภาพที่ย่ำแย่กว่า”

คุณวิลล์ แม็กคีย์ นักวิจัยอาวุโสของสถาบันแกรตแทน กล่าวว่า รายได้ที่ลดลงสำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่เพิ่งเดินทางมาถึงไม่นานนี้ ส่วนหนึ่งอาจสามารถอธิบายได้ว่า มาจากนักเรียนต่างชาติจำนวนมากในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ซึ่งนักเรียนเหล่านี้มากมายที่ไม่ได้ทำงานหรือทำงานพาร์ทไทม์เท่านั้น

“สำหรับผู้ย้ายถิ่นฐานที่ถือวีซ่าแรงงานทักษะชั่วคราวนั้น คนกลุ่มนี้ไม่เห็นการเติบโตของค่าจ้างของพวกเขาในระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา”

“นั่นเป็นปัญหาอย่างแท้จริง คนกลุ่มนี้เห็นค่าจ้างเฉลี่ยของพวกเขาคงที่อย่างสิ้นเชิงในช่วงสิบปีที่ผ่านมา ในขณะเดียวกัน ประชากรออสเตรเลียที่เหลือเห็นค่าแรงของพวกเขาเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยราว 20 เปอร์เซ็นต์”

"รายละเอียดเหล่านี้มีความสำคัญต่อแนวทางที่เราดำเนินโครงการรับผู้ย้ายถิ่นฐานในออสเตรเลีย"




คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 9 May 2022 12:13pm
Updated 9 May 2022 12:18pm
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand