เมห์รีน ฟารุคี กล่าวว่านักการเมืองออสเตรเลียไม่ควรต้องสละสัญชาติประเทศอื่น

มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย หมายความว่าผู้ถือสองสัญชาติไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภาระดับสหพันธรัฐได้ วุฒิสมาชิกสองคนที่ได้รับผลกระทบจากข้อกฎหมายนี้แชร์เรื่องราวของพวกเขา

A woman giving a speech in parliament and, inset, an older photo of a woman holding a toddler.

วุฒิสมาชิก เมห์รีน ฟารุคี ย้ายจากปากีสถานมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย และเธอสละสัญชาติปากีสถานเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภา Source: AAP, Supplied, SBS

วุฒิสมาชิก เมห์รีน ฟารุคี (Mehreen Faruqi) สละสัญชาติปากีสถานเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภา และเธอกล่าวว่า นี่เป็นสิ่งที่ไม่ควรมีใครต้องเผชิญ

“ฉันกรอกแบบฟอร์ม เซ็นชื่อ และเก็บมันใส่ไว้ในลิ้นชัก มันยากจริงๆ สำหรับฉันที่จะยื่นแบบฟอร์ม” เธอเล่าใน

รองหัวหน้ากรีนส์ (Greens) เดินทางมายังออสเตรเลียจากปากีสถานในปี 1992 พร้อมสามีและลูกชายของเธอ
Mehreen Faruqi standing outside a house and holding a baby
เมห์รีน ฟารุคี กับ ออสแมน ลูกชายของเธอในปี 1992 หลังย้ายมายังซิดนีย์ Source: Supplied
เธอทำงานเป็นวิศวกรโยธาและอาจารย์มหาวิทยาลัยในซิดนีย์ก่อนเข้าร่วมกับพรรคกรีนส์ในรัฐสภานิวเซาท์เวลส์สิบปีต่อมา

วุฒิสมาชิกฟารุคีกล่าวว่า กระบวนการสละสัญชาติสัญชาติที่สองของเธอนั้นยากกว่าที่เธอคิด และเกือบจะทำให้เธอเปลี่ยนใจ

“ขณะที่ฉันกำลังกรอกแบบฟอร์มนั้น ต้องเขียนประวัติครอบครัวของฉัน ต้องพูดถึงพ่อแม่และปู่ย่าตายายของเรา” วุฒิสมาชิกฟารุคี กล่าว

“ฉันแค่รู้สึกราวกับว่าฉันถูกบังคับให้สละสิทธิ์โดยกำเนิด ให้ละทิ้งประวัติศาสตร์ของฉันและวัฒนธรรมของฉัน”

มาตรา 44 'การจำกัด' ความหลากหลาย

ขณะนี้รัฐสภาของออสเตรเลียมีความหลากหลายมากที่สุดเท่าที่เคยเป็นมา แต่ก็ยังมีผู้แทนในรัฐสภาที่ไม่ใช่คนผิวขาวและชาวยุโรปอย่างไม่สมสัดส่วนของประชากร

นักวิจารณ์อย่างวุฒิสมาชิกฟารุคี เชื่อว่ากฎเกณฑ์นี้นั้นกำลังหยุดยั้งไม่ให้ผู้คนจากภูมิหลังที่หลากหลายเดินทางเข้าสู่แวดวงการเมือง
LISTEN TO
SBS Our House: Mehreen Faruqi image

SBS Our House: Mehreen Faruqi

SBS News

31/07/202216:20
“ไม่มีเหตุผลอย่างยิ่งที่จะมีกฎหมายข้อนี้ในรัฐธรรมนูญของเรา มาตรา 44 ต้องถูกยกเลิกไป” วุฒิสมาชิกฟารุคี กล่าว

“จริงๆ แล้วมันจำกัดผู้คนไม่ให้มีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย”

ศาสตราจารย์จอร์จ วิลเลียมส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) กล่าวว่า กฎหมายนี้ขัดแย้งกับสังคมออสเตรเลียยุคใหม่

“บางทีเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วเรากังวลว่าความลับในการป้องกันประเทศของเราจะถูกขายให้กับประเทศอื่นเพราะคุณเป็นพลเมืองของมหาอำนาจในต่างประเทศ”

“ทุกวันนี้คงไม่มีใครมองว่าเป็นข้อกังวลที่เป็นไปได้”
Mehreen Faruqi wearing a white coat and standing next to a clear tank containing liquid.
เมห์รีน ฟารุคี ขณะทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนปริญญาเกดที่มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ในช่วงปีทศวรรษ 1990 Source: Supplied

'สำคัญที่จะต้องแสดงความจงรักภักดีของเรา'

วุฒิสมาชิก ฟาติมา เพย์แมน (Fatima Payman) วุฒิสมาชิกคนใหม่ในเวสเทิร์นออสเตรเลียของพรรคแรงงาน ต้องสละสัญชาติอัฟกานิสถานของเธอก่อนที่จะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งในรัฐสภาได้

“มันทำให้ฉันเสียใจอย่างมาก แม้ว่าฉันจะมายังออสเตรเลียเมื่ออายุแปดขวบ” วุฒิสมาชิก ฟาติมา เพย์แมน กล่าว

“มันเป็นส่วนหนึ่งของอัตลักษณ์ของฉันที่ฉันชอบ – ฉันต้องละทิ้งแง่มุมทางวัฒนธรรมที่ฉันระบุว่ามาจากวัฒนธรรมนั้น”

แต่เธอเชื่อว่ากฎเกณฑ์นี้ควรคงอยู่เช่นเดิม

“ฉันรู้สึกว่ามันสำคัญมากที่จะแสดงความจงรักภักดีต่อประเทศที่คุณเป็นตัวแทน”

LISTEN TO
SBS Our House: Fatima Payman image

SBS Our House: Fatima Payman

SBS News

07/08/202216:11
วุฒิสมาชิกเพย์แมนหลบหนีออกจากอัฟกานิสถานมาพร้อมกับครอบครัวของเธอ และเดินทางถึงออสเตรเลียในฐานะผู้ลี้ภัย โดยไม่กี่ปีก่อนหน้านั้นพ่อของเธอเดินทางมาออสเตรเลียโดยทางเรือเพื่อขอลี้ภัย

เธอเป็นสมาชิกรัฐสภาคนแรกที่สวมฮิญาบในห้องประชุมรัฐสภา และเป็นหนึ่งในผู้แทนที่อายุน้อยที่สุด

เธอกล่าวว่า การสละสัญชาติภายใต้ระบอบตาลีบัน (Taliban) ยังสร้างความท้าทายที่ไม่เหมือนใคร

“ตอนที่ฉันพยายามจะสละสัญชาติ มันเป็นกระบวนการที่ยืดยาวยุ่งยาก [เพราะ] จริงๆ แล้วไม่มีหน่วยงานทางการในอัฟกานิสถานที่จะดำเนินการกับใบสมัคร”
A group of six people standing together
วุฒิสมาชิก ฟาติมา เพย์แมน (เสื้อดำคนขวา) กับพ่อแม่และพี่น้อง Source: Facebook / Fatima Payman
แต่หลังจากขอความช่วยเหลือจากสถานทูตอัฟกัน วุฒิสมาชิกเพย์แมนกล่าวว่าปัญหาดังกล่าวก็คลี่คลายลง และเธอยืนกรานกฎเกณฑ์เรื่องนี้ไม่ได้กีดกันเธอไม่ให้ลงสมัครรับเลือกตั้ง

“ฉันเรียกออสเตรเลียว่าเป็นบ้าน และไม่มีทางที่ฉันจะกลับไป (ที่อัฟกานิสถาน) แต่มันก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของระเบียบปฏิบัติ และฉันก็เคารพในเรื่องนี้”
Senator Payman, wearing a black hijab and a pink coat, in the Senate chamber at Parliament House in Canberra.
วุฒิสมาชิกพรรคแรงงานฟาติมา เพย์แมนในห้องประชุมวุฒิสภาระหว่างการเปิดประชุมรัฐสภาสหพันธรัฐครั้งที่ 47 ที่อาคารรัฐสภาในกรุงแคนเบอร์รา เมื่อวันอังคารที่ 26 กรกฎาคม 2022 Source: AAP / MICK TSIKAS

ประวัติมาตรา 44

มาตรา 44 เป็นกฎกว้างๆ ในรัฐธรรมนูญซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง

มาตรานี้ระบุถึงบุคคลที่ถูกศาลตัดสินจำคุกมากกว่าหนึ่งปี ชาวออสเตรเลียที่ล้มละลาย และพลเมืองที่ถือสองสัญชาติ

เรื่องนี้ได้รับความสนใจในปี 2017 หลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายคน รวมทั้ง นางแคที แกลแลเกอร์ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงานและนายบาร์นาบี จอยซ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ถูกไล่ออกจากรัฐสภาเนื่องจากถือสองสัญชาติ

กฎหมายเกี่ยวกับการมีสิทธิ์เข้าร่วมในรัฐสภาแตกต่างกันไปทั่วโลก

ศาสตราจารย์วิลเลียมส์กล่าวว่ากฎหมายของออสเตรเลียเข้มงวดกว่ากฎหมายเรื่องนี้ในประเทศอื่นๆ

“เป็นเรื่องปกติที่จะกล่าวว่าคุณควรเป็นพลเมืองของประเทศ แต่โดยทั่วไป [ประเทศอื่นๆ] จะไม่ไล่คุณออกไปหากคุณมีสองสัญชาติ”

ในสหราชอาณาจักร คุณไม่จำเป็นต้องเป็นพลเมืองด้วยซ้ำถึงจะลงสมัครเพื่อเป็นตัวแทนในรัฐสภาได้

“คุณเป็นพลเมืองอังกฤษก็ได้ หรือแม้แต่คุณอาจเป็นพลเมืองเครือจักรภพก็ได้ และมันมีความเปิดกว้างมากกว่า” ศาสตราจารย์วิลเลียมส์กล่าว

การจะเปลี่ยนแปลงมาตรา 44 นั้น ก็เช่นเดียวกับสิ่งอื่นๆ ในรัฐธรรมนูญคือ จะต้องมีการลงประชามติ

รัฐบาลอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบคำถามในการการลงประชามติเพื่อนำเสนอต่อชาวออสเตรเลีย ให้มีการจัดตั้งกลุ่มชาวพื้นเมืองที่เป็นที่ปรึกษาต่อรัฐสภาที่เรียกว่า Indigenous Voice to Parliament โดยระบุไว้อย่างถาวรในรัฐธรรมนูญ

นับตั้งแต่รัฐและมณฑลต่างๆ ในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐในปี 1901 มีการลงประชามติเพียง 8 ครั้งจากทั้งหมด 44 ครั้งที่ได้รับการลงมติอนุมัติ

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 8 August 2022 3:58pm
By Krishani Dhanji
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand