มาตรา 44 ‘อุปสรรคใหญ่’ ปิดกั้นผู้อพยพจากสนามการเมืองออสฯ

2 ชาวออสเตรเลียในแวดวงการเมืองจากเขตเลือกตั้งที่มีความหลายหลายมากที่สุดในประเทศ 'พารามัตตา' เผยรัฐสภาออสเตรเลียยังไม่สะท้อนความหลากหลาย-พหุวัฒนธรรมของชุมชน

Abha Devasia discusses lack of representation of diversity in federal politics

Abha Devasia says there is a lack of diversity in federal politics Source: Abha Devasia

ประเด็นสำคัญ

  • รัฐธรรมนูญออสเตรเลียอาจเป็นอุปสรรคของผู้ถือสองสัญชาติที่จะเข้าสู่เส้นทางการเมืองสหพันธรัฐ
  • ผู้สังเกตการณ์ทางการเมืองระบุว่า สมาชิกสภาสหพันธรัฐในปัจจุบันไม่สะท้อนถึงความหลากหลายมากพอ
  • อบา เดวาเซีย สมาชิกพรรคแรงงานออสฯ ระบุว่า ปัญหาเรื่องที่พักอาศัย การดูแลเด็กเล็ก และค่าครองชีพ คือประเด็นสำคัญในเมืองพารามัตตา

อบา เดวาเซีย (Abha Devasia) ชาวออสเตรเลียเชื้อสายอินเดีย-มาลายาลัม ซึ่งเกิดที่ประเทศเอธิโอเปีย กล่าวว่า ขณะที่สมาชิกในสภาสหพันธรัฐกว่าร้อยละ 95 มาจากภูมิหลังแองโกล-เซลติก (Anglo-Celtic) ร้อยละ 20 ของประชากรในวงกว้างกลับเป็นผู้ที่ไม่ระบุตนว่ามีภูมิหลังเหล่านี้

นางเดวาเซีย กล่าวว่า อุปสรรค์ใหญ่สำหรับผู้ที่มาจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรมในการเข้าสู่เส้นทางการเมืองของสภาสหพันธรัฐ คือ มาตรการ 44 ในรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ซึ่งกำหนดว่าพลเมืองที่มีสิทธิ์หรือถือสัญชาติในประเทศอื่นไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้ง หรือดำรงตำแหน่งทางการเมืองในออสเตรเลียได้

มาตรา 44 ได้รับความสนใจในวิกฤตคุณสมบัติสมาชิกรัฐสภาออสเตรเลีย (Australian parliamentary eligibility crisis) ปี 2017-18 และเป็นเหตุให้ศาลสูงมีคำตัดสินให้สมาชิกสภาจำนวนหนึ่งหมดคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ชาวออสเตรเลีย 39% มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่ไม่ใช่แองโกล-เซลติก (Anglo-Celtic) หรือชนพื้นถิ่นออสเตรเลีย ขณะที่ 21% มีบรรพบุรุษที่ไม่ได้มาจากประเทศในทวีปยุโรป
นางเดวาเซียยังได้วิพากษ์วิจารณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับชุมชนพหุวัฒนธรรมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ในทำนองว่าปัญหาของพวกเขาไม่เหมือนกันกับปัญหาในสังคมออสเตรเลียวงกว้าง โดยระบุว่าเป็น “แนวคิดเพื่อการแลกเปลี่ยน”

มีข้อสันนิษฐานที่ผิดว่า ชุมชนส่วนใหญ่จะลงคะแนนเสียงไปในทางเดียวกันในทุกการเลือกตั้ง ซึ่งมันไม่ใช่ประเด็นนางเดวาเซีย กล่าว

นางเดวาเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกพรรคแรงงานออสเตรเลีย (ALP) หวังว่าเธอจะได้ลงสมัครรับเลือกล่วงหน้าในเขตพารามัตตา หลัง จูลี โอเวนส์ (Julie Owens) สส.พารามัตตาซึ่งยังดำรงตำแหน่งอยู่ใกล้จะเกษียณ แต่ทางพรรคกลับเลือก แอนดรูว์ ชาลตัน (Andrew Charlton) นักธุรกิจเป็นผู้สมัครในการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมาถึงในเร็ว ๆ นี้แทน
Osmond Chiu
ออสมอนด์ ชิว (Osmond Chiu) กล่าวว่า ออสเตรเลียยังตามหลังสหราชอาณาจักร แคนาดา และนิวซีแลนด์ ในแง่ความหลากหลายทางวัฒนธรรมของสมาชิกในสภา Source: Osmond Chiu
ออสมอนด์ ชิว (Osmond Chiu) สมาชิกพรรคแรงงานออสเตรเลีย (ALP) และชาวจีน-ออสเตรเลียรุ่นที่ 2 เห็นด้วยกับนางเดวาเซียว่า รัฐสภาออสเตรเลียไม่สะท้อนถึงสังคมในวงกว้างที่มีความหลากหลายของชาติ

“รัฐสภาของสหราชอาณาจักร แคนาดา และนิวซีแลนด์ เป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรมได้มากกว่า” นายชิว กล่าว
ขณะที่ในออสเตรเลียนั้น 21% ของชาวออสเตรเลียมีภูมิหลังจากต่างประเทศที่ไม่ใช่ประเทศในทวีปยุโรป แต่มีสมาชิกสภาเพียง 4% จากภูมิหลังนั้น
นายชิว ซึ่งเคยเข้าศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาที่เมืองพารามัตตา กล่าวว่า ออสเตรเลียไม่ได้ให้ความสำคัญในการปรับปรุงภาพสะท้อนของความหลายหลายทางวัฒนธรรม
เราไม่เคยแม้แต่จะเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านความหลากหลายอย่างเป็นลักษณะทางการ ซึ่งนั่นจะต้องเปลี่ยนไป นายชิว กล่าว
“การนำคำแนะนำจากการวิเคราะห์โดย The Jenkins มาปรับใช้ในยุทธศาสตร์ 10 ปี เพื่อเพิ่มการแสดงออกถึงความหลากหลาย ซึ่งรวมถึงผู้คนจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรม และการเผยแพร่ข้อมูลคุณสมบัติด้านความหลากหลายของสมาชิกสภา เป็นขั้นตอนที่เหมาะสมซึ่งควรปฏิบัติ”

นายชิว กล่าวว่า ไม่ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งจะเป็นสมาชิกจากพรรคการเมืองใด หรือจะมาจากสังกัดอิสระก็ตาม มันจะเป็นเรื่องง่ายดายมากในการลงสมัครรับเลือกตั้ง หากพวกเขามีเวลา ทรัพยากร และความสัมพันธ์กับผู้คน

“มันหมายความว่า ผู้สมัครที่ได้รับเลือกตั้งสำเร็จซึ่งมักเป็นคนอายุมาก เป็นที่ยอมรับ ทำงานในบางสาขาอาชีพ และมีความมั่งคั่ง ไม่ปกตินักที่จะมาจากภูมิหลังหลากวัฒนธรรม”

นายชิว ซึ่งทำงานด้านนโยบายสาธารณะ กล่าวว่าเขาได้พบกับผลกระทบจากการตัดสินใจของรัฐบาลที่มีต่อชีวิตในแต่ละวันของผู้คน

“ไม่ว่าผู้คนจะพูดอย่างไร แต่ผมรู้ว่ามันสำคัญว่าใครเข้ามามีบทบาทหน้าที่”

สนามการเมืองคือโอกาสที่ผู้อพยพย้ายถิ่น ‘จะได้ตอบแทนสังคม’

นางเดวาเซีย หวังว่าเธอจะได้เข้าสู่เส้นทางการเมืองได้ในอนาคต ซึ่งเป็นหนทางที่เธอจะได้ตอบแทนออสเตรเลีย ซึ่งได้มอบ “สำนึกความเป็นเจ้าของ” ให้กับเธอ

ในตอนนี้ เธอทำงานเป็นผู้ประสานงานกฎหมายแห่งชาติ ให้กับสหภาพคนทำงานฝ่ายผลิตแห่งออสเตรเลีย (Australian Manufacturing Workers’ Union) หรือ AMWU ซึ่งมีสมาชิกสหภาพฯ มากกว่า 100,000 คนจากหลายภาคส่วน

“ออสเตรเลียเป็นบ้านของฉัน ฉันได้รับการศึกษาที่นี่ และที่นี่ได้มอบทุกโอกาสให้กับฉัน” นางเดวาเซีย กล่าว
ฉันมองคุณวุฒิของฉันในฐานะประตูสู่การได้รับใช้ชุมชนและประเทศชาติ
“ฉันอยากลงสมัครรับเลือกตั้ง สส.ในสภาสหพันธรัฐ เพราะฉันต้องการจะเป็นแสงส่องทางให้กับคนอย่างฉัน เพื่อให้พวกเขาได้เห็นตัวเองในฐานะนักการเมืองและผู้นำในกระแสหลัก”

“ฉันอยากช่วยผู้คนด้วยการเป็นตัวแทนพวกเขา ความสนใจของพวกเขา และมีส่วนร่วมในการอภิปรายในสภาเพื่อให้เราทำการตัดสินใจจากการพิจารณาหลายมุมมองจากชุมชนของเรา ไม่ใช่แค่กลุ่มประชากรที่มีการเป็นตัวแทนอย่างดีแล้วโดยหลายตำแหน่งที่มีอำนาจ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

มีโรคประจำตัว ติดโควิดอาจเสี่ยงอาการหนัก


Share
Published 6 April 2022 3:35pm
Updated 6 April 2022 3:58pm
By Shirley Glaister
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand