สัปดาห์ NAIDOC 2022: เสียงสู่สภาคืออะไร

กำลังมีการรวบรวมแรงผลักดันให้จัดทำประชามติการแก้ไขรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย เพื่อประดิษฐานเสียงของชนพื้นเมืองไว้ในรัฐธรรมนูญ

Participants at a NAIDOC Week rally in Melbourne in 2018

The Uluru Statement from the Heart proposes three key reforms: Voice, Treaty and Truth. Source: AAP Image/Daniel Pockett

เสียงสู่สภา (The Voice to Parliament) คืออะไร

ในปี 2017 เหล่าผู้แทนชนชาติแรกของออสเตรเลียได้รวมตัวกันที่อูลูรู และนำเสนอ (The Uluru Statement from the Heart) สู่ผู้คนชาวออสเตรเลีย แถลงการณ์ดังกล่าวได้เสนอองค์ประกอบพื้นฐานของการปฏิรูป 3 ประการ ได้แก่ เสียงของผู้คน (Voice)


ประเด็นสำคัญ

  • เสียงสู่สภา (Voice to Parliament) คือความต้องการของคณะที่ปรึกษาชนพื้นเมือง เพื่อเป็นแนวทางให้รัฐสภาสหพันธรัฐในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชนชาติแรกของออสเตรเลีย
  • (The Uluru Statement from the Heart) เรียกร้องการปฏิรูปใน 3 องค์ประกอบสำคัญ เสียงสู่สภา (Voice to Parliament) เป็นสิ่งแรกที่แถลงการณ์นี้ได้เรียกร้อง
  • ผู้จัดทำได้แนะนำว่า ในเดือนพฤษภาคม 2023 หรือมกราคม 2024 เป็นไปได้ที่จะเป็นช่วงเวลาในการทำประชามติ ซิ่งเป็นสิ่งที่ทำให้มีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

 

การปฏิรูปแรกคือเสียงสู่สภา (Voice to Parliament) ซึ่งทำให้มีความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ การทำประชามตินั้นเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ชาวออสเตรเลียสามารถตัดสินใจในข้อเสนอเหล่านี้ได้ มันเป็นการรวมตัวกันของกระบวนการทางกฎหมายและการเมืองของออสเตรเลียที่ยาวนานหลายทศวรรษ และการทำงานของชาวออสเตรเลียเพื่อไปสู่การยอมรับชนชาติแรกในรัฐธรรมนูญ

หมายความว่าอย่างไรสำหรับชาวออสเตรเลีย

การทำประชามตินี้จะสอบถามชาวออสเตรเลียในการยอมรับบทบัญญัติใหม่ ที่จะทำให้รัฐสภาสหพันธรัฐสามารถจัดตั้งคณะที่ปรึกษาที่จะรูhจักในชื่อว่า เสียงสู่สภา (Voice to Parliament)

รัฐธรรมนูญออสเตรเลีย ซึ่งมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.1901 ไม่ยอมรับการเป็นเจ้าของและการพิทักษ์แผ่นดินของชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอเรส สเตรท ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้

กล่าวโดยสรุปก็คือ เสียงสู่สภา (Voice to Parliament) คือการยอมรับแบบการปกครองอันเก่าแก่ซึ่งได้อยู่บนผืนทวีปแห่งนี้มา 60,000 ปี รวมถึงเสียงของพวกเขา และบทบาทต่อประชาธิปไตยออสเตรเลียผ่านรัฐธรรมนูญของออสเตรเลีย

ศาสตราจารย์เมแกน เจน เดวิส (Prof Megan Jan Davis) ประธานร่วมในการอภิปรายอูลูรู (Uluru Dialogue) และนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า มันยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับการยอมรับปวงชนและผืนทวีปออสเตรเลีย “ในฐานะการแสดงออกที่สมบูรณ์ขึ้นถึงความเป็นชาติ” ซึ่งทำให้ประเทศ “ก้าวไปข้างหน้า” ได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

“มันเป็นส่วนหนึ่งของหลายการปฏิรูปที่แถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจได้เรียกร้อง ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในการสร้างพลังให้กับผู้คน และนั่นรวมถึงคณะกรรมาธิการมาคาราตา (Makarrata Commission) ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการทำข้อตกลงหรือคณะกรรมาธิการความสมานสามัคคี” ศาสตราจารย์เดวิส กล่าว

“การยอมรับเสียงของชนชาติแรกนั้น เปิดโอกาสให้ผู้คนของเราร่วมโต๊ะหารือเมื่อมีการจัดทำกฎหมาย และนโยบายเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเรา”

เราอยู่ตรงไหน

หลังจาก นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เขาได้เริ่มต้นการกล่าวสุนทรพจน์แห่งชัยชนะในคืนเลือกตั้ง โดยประกาศว่า “ในฐานะตัวแทนของพรรคแรงงานออสเตรเลีย ข้าพเจ้าขอให้คำมั่นอย่างเต็มที่ต่อแถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจ”

ศาสตราจารย์เดวิส ได้ระบุในแถลงการณ์ว่า “มันเป็นความรู้สึกโล่งใจและการบรรลุผลสำเร็จ แต่หนทางก็ยังคงอีกยาวไกล”

“เราตื่นเต้น ออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญน้อยมาก และสำหรับผู้คนของเรา เราไม่เคยได้มีโอกาสนี้สำหรับพลังอำนาจใด ๆ ในรัฐธรรมนูญ ดังนั้น นี้คือสิ่งที่มีความสำคัญมาก มันแตกต่างจากการทำประชามติในปี 1967 เพราะการปฏิรูปครั้งนี้กำลังจะให้อำนาจกับผู้คนของเรา” ศาสตราจารย์เดวิส กล่าวเสริม

ในส่วนของแถลงการณ์อูลูรูนั้น มีคำมั่นในการจัดประชามติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบแรกในแถลงการณ์ และรัฐบาลสหพันธรัฐชุดใหม่กำลังวางรากฐานสำหรับสิ่งนั้น

ก้าวต่อไป

มีขั้นตอนสำคัญ ก่อนที่เสียงของชนพื้นเมืองจะได้รับการประดิษฐานไว้ในรัฐธรรมนูญ ด้วยการปกป้องจากรัฐธรรมนูญ เสียงนั้นจะยั่งยืนและคงทนเกินกว่ากำหนดเวลาทางการเมือง

มันหมายความว่า การเสริมอำนาจของชนพื้นเมือง และการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในวิถีชีวิตประชาธิปไตยของชาติ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่าพรรคการเมืองใดจะเข้ามามีอำนาจ

พรรคร่วมรัฐบาลก่อนหน้านี้ตั้งใจที่จะออกกฎหมายในส่วนของเสียงชนพื้นเมือง แต่ไม่มีแผนที่จะประดิษฐานไว้ในรัฐธรรมนูญ และเมื่อเสียงนั้นจะได้รับการประกาศเป็นกฎหมายก็อาจถูกเพิกถอนได้
แต่เมื่อได้รับการประดิษฐานไว้ในรัฐธรรมนูญแล้ว มันจะถูกนำออกจากรัฐธรรมนูญได้ด้วยการทำประชามติอีกครั้งเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้จะต้องได้รับการสนับสนุนทางการเมืองและการหารือในอนาคต ก่อนที่การลงคะแนนเสียงจะเกิดขึ้น

หากรัฐบาลสหพันธรัฐผ่านร่างกฎหมาย การทำประชามติจะต้องเกิดขึ้นภายใน 6 เดือน เพื่อจัดตั้งคณะที่ปรึกษาชนพื้นเมืองอย่างถาวรในรัฐสภาสหพันธรัฐ ทั้งนี้ ผู้จัดทำแถลงการณ์อูลูรูจากหัวใจได้แนะนำว่า ช่วงเดือนพฤษภาคม 2023 หรือเดือนมกราคม 2024 ให้เป็น


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 4 July 2022 4:03pm
By Mert Balkanli
Presented by Tinrawat Banyat
Source: NITV


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand