สืบสานภาษาพื้นเมืองของชาวอะบอริจิน

Allyra Murray

Source: SBS

โปรเจกต์รวบรวมคำศัพท์ 50 คำในแต่ละภาษาของชนพื้นเมืองในออสเตรเลีย เป็นส่วนหนึ่งของการสืบสานภาษาและวัฒนธรรมของชาวอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ในสัปดาห์ระลึกถึงชาวอะบอริจินและชาวเกาะในออสเตรเลีย (National Aborigines and Islanders Day Observance Committee) หรือสัปดาห์ไนดอก (NAIDOC) เพื่ออนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมของชนชาติแรกในออสเตรเลีย


แหล่งข้อมูลภาษาพื้นเมืองเพื่อให้ความรู้คนออสเตรเลียเกี่ยวกับการสื่อสารในภาษาอะบอริจิน ด้วยความหวังที่จะสืบสานภาษาประจำชาติ

การทำแผนที่ภาษาที่ใช้ในแต่ละพื้นที่ของออสเตรเลียเป็นโปรเจกต์ออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ที่ถูกนำมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้ง นับเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์ไนดอคในเดือนนี้
LISTEN TO
New resource aims to maintain Aboriginal languages image

สืบสานภาษาพื้นเมืองของชาวอะบอริจิน

SBS Thai

09/11/202007:32
คุณงวนกามารา ชาวเกาะยอร์ตา ยอร์ตา และคุณอะเลียรา เมอเร่ย์ ชาวเกาะช่องแคบทอร์เรส ที่ไม่ค่อยคุ้นชินกับวัฒนธรรมของเธอมาก่อน

แต่หลังจากได้ใช้และได้ร่วมพัฒนาโปรเจกต์คำศัพท์ 50 คำ เธอก็เริ่มเชื่อมต่อสายสัมพันธ์กับพื้นเพอะบอริจินของเธอมากขึ้น

“แค่คลิกเดียวทางออนไลน์ ก็สามารถเข้าถึงได้ และการเข้าถึงออนไลน์ที่ฟรียิ่งดีเข้าไปใหญ่ การได้อยู่ในจุดที่สามารถกลับบ้าน นั่งอยู่ในห้องของฉัน และได้ยินภาษานั้นมันรู้สึกดีมากๆ และสำหรับฉันที่เป็นคนที่อยู่ในครอบครัวที่ย้ายบ้านบ่อย ฉันรู้ภาษาและวัฒนธรรมของฉันเพียงแค่เศษเสี้ยวนึงเท่านั้น”

เว็บไซต์โปรเจกต์ 50 คำศัพท์ได้ทำให้เห็นถึงความหลากหลายของภาษาของชนชาติแรกในออสเตรเลีย โดยการพาไปฟังการออกเสียงคำเหล่านั้นจริงๆ ในแต่ละพื้นที่

เครื่องมือในการเรียนรู้แสดงให้เห็นว่าจะพูดคำศัพท์ 50 คำและวลีอื่นๆ ในภาษาท้องถิ่นอย่างไร โดยการฟังเสียงของเจ้าของภาษา  

ยกตัวอย่างเช่นวลี “Ikngerre-iperre Ulypme Akarre” แปลว่า “คุณชื่ออะไร? มานี่ ไปกันเถอะ”

คุณคาโด มูวะ เป็นหนึ่งในคนที่ใช้ภาษา นาลีอะ และเป็นเจ้าของเสียงของภาษานี้

เขากล่าวกับเอ็นไอทีวีหรือโทรทัศน์พื้นเมืองแห่งชาติว่า ภาษาพื้นเมืองที่ใช้ในประเทศออสเตรเลียนั้นเคยมีมากกว่า 200 ภาษา ทุกวันนี้ลดเหลือแค่ 20 ภาษา
คุณรู้ไหมว่า ภาษาประจำชาติของคนชนชาติแรกที่นี่ต้องเจอกับผลกระทบจากการล่าอาณานิคม และ 90 เปอร์เซ็นต์ของประชาชนเสียชีวิตหรือสูญหายไป และทำให้ 90 เปอร์เซ็นต์ของภาษาสูญหายไปด้วย
เขากล่าวว่าการสูญเสียภาษาไปบางภาษาหมายความความเข้าใจถึงความสำคัญของดินแดนนี้ในชุมชนก็ลดลงตามไปด้วย  

“ถ้าคุณเรียนภาษาใดภาษาหนึ่ง คุณก็จะเข้าใจวิธีการคิดเฉพาะกลุ่มที่ผูกพันธ์คุณไว้กับประเทศนั้น ความฝัน การรังสรรค์และบรรพบุรษของคุณ” 

คุณอะเลียรา เมอเร่ย์ให้ความเห็นว่าผู้สูงอายุและคนในชุมชนที่มีส่วนร่วมในโปรเจกต์นี้ไม่ได้มีบทบาทแค่การอนุรักษ์เสียงของพวกเขา แต่ยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าคำศัพท์ที่แตกต่างกันเหล่านี้เกี่ยวข้องกันอย่างไร

“ฉันกำลังเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ การเรียนรู้ของฉันก็นับเป็นการเดินทางด้วยตัวมันเองแล้ว ฉันคิดว่าสิ่งหนึ่งที่ฉันรักในโปรเจกต์นี้คือคุณสามารถเห็นความหลากหลายของภาษาของเรา และได้เรียนรู้ว่ามีความคล้ายคลึงกันของภาษาด้วย โดยเฉพาะคำว่ามือหรือเมอร์ร่าในบางภาษา และเท้าหรือจินา คุณจะเห็นว่าคนแถบตอนเหนือของรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียใช้คำนี้ด้วย ในเซาท์ออสเตรเลียหรือแม้กระทั่งวิกตอเรียก็ใช้คำนี้สำหรับมือและเท้า”

รองศาสตราจารย์สาชาวิชาภาษาศาสตร์ คุณ  นิค ทีเบอเกอร์จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่ทำโปรเจกต์นี้

“เราอยากจะทำมันด้วยวิธีที่ใกล้ชิดกับคนอะบอริจิน เราต้องการทำงานร่วมกับคนพื้นเมืองของออสเตรเลีย เราเลยสร้างโครงงานขึ้น และเชิญคนที่พูดภาษาแต่ละภาษาเข้ามามีส่วนร่วม และนั่นคือวิธีที่เราเริ่มทำในตอนแรก”

โปรเจกต์เริ่มขึ้นในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว แต่ได้ปรับปรุงให้คนสามารถเข้าถึงได้ในสัปดาห์ไนดอค (สัปดาห์ของการระลึกถึงชาวอะบอริจินและชาวเกาะแห่งชาติ)

รองศาสตราจารย์ ทีเบอเกอร์กล่าวว่าในเว็บไซต์มีแหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงเรียนได้

เราได้เสียงตอบรับจากคนอะบอริจินที่ไม่ได้ใช้ภาษาพื้นเมืองของพวกเขาแล้ว พวกเขาประทับมากใจที่ได้ยินเครือญาติของพวกเขาพูดภาษาพื้นเมือง ถึงแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้ใช้ภาษานี้แล้ว แต่พวกเขาก็ยังได้เชื่อมความสัมพันธ์กับครอบครัวของพวกเขาที่ยังพูดภาษาพื้นเมืองอยู่โดยการฟังเสียงที่อัดไว้ ถึงแม้ว่ามันจะเป็นสิ่งเล็กๆ ที่ทำให้คุณรู้คำศัพท์ 50 คำหรือไม่กี่คำ มันก็ยังสร้างผลลัพธ์ที่ยิ่งใหญ่”

คุณอะเลียรา เมอเร่ย์ชี้ว่าถ้ามีเด็กๆ เริ่มใช้คำเหล่านี้ในสนามเด็กเล่น พวกเขาก็จะเริ่มเห็นคุณค่าของเจ้าของดินแดนดั้งเดิม

กว่า 60 ภาษาที่ถูกนำมาจัดทำ และคาดว่าจะมีการรวบรวมถึง 100 ภาษาในอนาคต

สัปดาห์ไนดอคมีถึงวันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน กับหัวข้อ “ตลอดมา และจะเป็นเช่นนี้ตลอดไป” เพื่อเล็งเห็นคุณค่าของกลุ่มคนพื้นเมืองที่เป็นเจ้าของดินแดนนี้มากว่า 65,000 ปี


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand