ผู้หญิงใน NSW ที่รับบริการไอวีเอฟจะได้รับเงินช่วยเหลือ

จะมีการจ่ายเงินช่วยค่ารักษาให้สำหรับผู้หญิงที่ใช้บริการทำเด็กหลอดแก้วหรือการรักษาภาวะมีบุตรยาก ภายใต้โครงการช่วยเหลือใหม่ของรัฐบาลนิวเซาท์เวลส์

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2023 ผู้หญิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่รับบริการไอวีเอฟหรือรักษาภาวะมีบุตรยาก จะได้เงินค่ารักษาคืน 2,000 ดอลลาร์

ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2023 ผู้หญิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่รับบริการไอวีเอฟหรือรักษาภาวะมีบุตรยาก จะได้เงินค่ารักษาคืน 2,000 ดอลลาร์ Source: Shutterstock

ผู้หญิงในรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่รับบริการไอวีเอฟ (IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้ว) หรือรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก จะได้รับเงินช่วยค่ารักษา สูงสุด 2,000 ดอลลาร์ภายใต้โครงการช่วยเหลือใหม่ของรัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์

เงินทุนที่จัดไว้ในงบประมาณปี 2022/23 จะช่วยเหลือผู้หญิงราว12,000 คนที่ใช้บริการจากคลินิกเอกชนด้านการเจริญพันธุ์ นายแมตต์ คีน รัฐมนตรีคลังของนิวเซาท์เวลส์ ระบุ

ผู้หญิงอีก 6,180 คนจะได้รับการเข้าถึงวิธีรักษาแบบปฏิสนธิภายนอกร่างกาย หรือการทำเด็กหลอดแก้ว หรือไอวีเอฟ (IVF) จากคลินิกที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาล ภายใต้โครงการด้วยงบประมาณ 80 ล้านดอลลาร์

“เราทราบดีว่าค่าบริการสำหรับการรักษาเหล่านี้อาจมีราคาแพงมากจนผู้คนไม่อาจเข้าถึงได้” นายคีน กล่าวในคำแถลงเมื่อวันอาทิตย์ (29 พ.ค.)

"ไม่มีใครควรต้องเผชิญกับการเลือกที่เป็นไปไม่ได้ ระหว่างการดูแลงบประมาณของครอบครัว กับการเริ่มต้นสร้างครอบครัว"

การทำเด็กหลอดแก้วในหนึ่งรอบการปฏิสนธิอาจทำให้พ่อแม่แต่ละคู่ที่ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงถึง 10,000 ดอลลาร์

Adora Fertility ซึ่งรับบัลค์ บิล (Bulk Billing หรือการเรียกเก็บเงินจากรัฐบาลสำหรับผู้ที่ถือบัตรเมดิแคร์) สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับไอวีเอฟนั้น สามารถทำให้ค่าบริการลดลงเหลือราว 1,500 ดอลลาร์

"จากการประกาศในวันนี้ ผู้รับบริการของ Adora Fertility อาจไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเองใดๆ เลยสำหรับการรักษาภาวะมีบุตรยาก" นายพอล แอตคินสัน ผู้อำนวยการด้านการแพทย์แห่งชาติของ Adora กล่าว

"ค่าใช้จ่ายเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับคู่ครองในการเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยาก เราเชื่อว่าคู่ครองชาวออสเตรเลียทุกคนควรสามารถเข้าถึงการรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีคุณภาพสูงได้"

นอกจากนี้ โครงการด้วยงบประมาณ 80 ล้านดอลลาร์นี้ จะขยายการให้เงินค่ารักษาคืนสำหรับการทดสอบภาวะเจริญพันธุ์ก่อนทำเด็กหลอดแก้ว การเพิ่มจำนวนไข่ที่แช่แข็ง และให้ลางานได้ 5 วันโดยได้รับค่าจ้างเพื่อไปการรับการรักษาภาวะเจริญพันธุ์ สำหรับครู พยาบาล และข้าราชการอื่นๆ

โครงการให้เงินค่ารักษาคืนสูงสุด 2,000 ดอลลาร์จะเริ่มขึ้นในวันที่ 1 มกราคม แต่ผู้หญิงที่รับการรักษาที่มีสิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ก็สามารถยื่นขอรับเงินค่ารักษาคืนได้เช่นกัน




คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

คุณแม่คนไทยเปิดใจคุยเรื่องภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตร


Share
Published 31 May 2022 1:07pm
Updated 31 May 2022 2:13pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP, SBS

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand