ผู้อพยพย้ายถิ่นในออสเตรเลียส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าต้องทำอย่างไรเมื่อเจ็บป่วย

NEWS: แนะผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมใช้ภาษาง่ายๆ เมื่อรักษาผู้ป่วย

You can read the full version of this article in English on SBS News .

การเข้าใช้ระบบสุขภาพเมื่อท่านเจ็บป่วยอาจเป็นเรื่องยากลำบาก โดยเฉพาะหากภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาแม่ของท่าน

เรื่องดังกล่าวได้กระตุ้นให้มีการผลักดันการสื่อสารให้เรียบง่ายขึ้น โดยมีการแนะนำให้แพทย์และพยาบาลนึกถึงวิธีที่ดีที่สุดในการสนทนากับผู้ป่วยเกี่ยวกับการดูแลรักษา

เจ็ดสิบห้าเปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองนั้นมีระดับของ ‘การรู้หนังสือด้านสุขภาพ (health literacy)’ ที่ต่ำ – ซึ่งก็หมายความว่าพวกเขานั้นมีความเข้าใจเพียงเล็กน้อยว่าจะต้องทำอย่างไรเมื่อเจ็บป่วย และจะต้องไปที่ไหนเพื่อรักษาตัว

แต่ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะกับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้ที่มาถึงใหม่ๆ เท่านั้น  60 เปอร์เซ็นต์ของชาวออสเตรเลียทั้งหมดก็มีการรู้หนังสือด้านสุขภาพที่ต่ำ
Health professionals encouraged to simplify language to help patients
60 per cent of Australians have a poor understanding of the country's health system. That jumps to 75 per cent for people with English as a second language. Source: SBS News/Omar Dabbagh
“เราทราบว่ามีผู้คนจำนวนมากที่กลับมายังแผนกฉุกเฉินด้วยปัญหาเกี่ยวกับยาหรือภาวะแทรกซ้อน” ผู้จัดการเกี่ยวกับการรู้หนังสือด้านสุขภาพและความหลากหลาย คุณฟิโอรินา มาสตริโอนนี กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“เราจำเป็นจะต้องสื่อสารกันอย่างดียิ่งขึ้น หรือพยายามให้แน่ใจว่าผู้ป่วยและครอบครัว และผู้ดูแลพวกเขานั้นเข้าใจข้อมูลที่เรามอบให้”

ผู้ป่วยขี้ลืม

คุณมาสตริโอนนีกล่าวว่า ผู้ป่วยนั้นลืมข้อมูล 40-80 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลที่ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมนั้นมอบให้

“เราต้องพยายามให้แน่ใจว่าเมื่อพวกเราให้ข้อมูลออกไปนั้น ผู้คนเข้าใจในสิ่งที่เราบอกกล่าว”

ตัวเลขดังกล่าวกระตุ้นให้สัปดาห์สุขภาพหลากวัฒนธรรมแห่งนิวเซาท์เวลส์ หรือ NSW Multicultural Health Week (3–9 กันยายน) พุ่งเป้าไปยังการสื่อสารที่ชัดเจนขึ้น โดยมีคำขวัญว่า “พูดคุย รับฟัง สอบถาม (Talk, Listen, Ask)”

คุณลีสสา พิตส์ ซึ่งเป็นผู้จัดการการให้บริการสุขภาพหลากวัฒนธรรมในท้องที่เขตอิลลาวาราโชลเฮเวน กล่าวว่า “การสื่อสารเป็นประเด็นที่ทำให้การพบปะกันในด้านสุขภาพนั้นจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลว”

“มันขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการทางคลินิกที่จะตรวจสอบว่าลูกค้านั้นเข้าใจข้อมูลหรือไม่ และพวกเขานั้นกลับออกไปจากโรงพยาบาลหรือสิ่งแวดล้อมด้านการดูแลสุขภาพ โดยทราบว่าพวกเขานั้นสามารถกลับไปบ้านแล้วสามารถใช้ข้อมูลนั้นได้เป็นอย่างดี

“พูดคุย รับฟัง สอบถาม”

ได้มีการนำชั้นเรียนภาษาอังกฤษของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานและผู้ที่มาถึงใหม่ไปเยี่ยมชมโรงพยาบาลโชลเฮเวนเมโมเรียลในเมืองนาวรา ทางชายฝั่งตอนใต้ของรัฐ(นิวเซาท์เวลส์) โดยเป็นส่วนหนึ่งของสัปดาห์สุขภาพหลากวัฒนธรรม  

กลุ่มดังกล่าวมีจำนวน 16 คน ซึ่งมีพื้นเพรวมไปถึงทิเบต และไต้หวัน โดยได้ถูกพาไปยังหอผู้ป่วยต่างๆ เพื่อทำความคุ้นเคยกับสถานที่ และเพื่อเรียนรู้ว่าจะต้องทำอย่างไรหากเกิดกรณีฉุกเฉินทางการแพทย์
Health professionals encouraged to simplify language to help patients
Τμήμα εκμάθησης της αγγλικής γλώσσας επισκέφτηκε νοσοκομείο του Nowra Source: SBS News/Omar Dabbagh
คุณยี่ ปิง แมคคาร์ธี กล่าวว่า “การเยี่ยมชมนี้มีประโยชน์กับฉันมาก” เพราะเธอยังใหม่ต่อย่านชายฝั่งตอนใต้ โดยเดินทางมาพร้อมกับสามีและลูกสาววัยสองขวบของเธอ

“ดิฉันทราบว่าจะสามารถไปที่ไหนได้หากว่าลูกสาวของดิฉันป่วย และหากว่าฉันไปที่โรงพยาบาลนี้ฉันจะต้องไปพูดคุยกับใคนเป็นคนแรก เพราะฉะนั้นมันดีมากๆ สำหรับดิฉัน”

ในตอนแรกคุณแมคคาร์ธี นั้นย้ายไปอยู่นครดาร์วินจากไต้หวัน เมื่อเกือบสิบปีที่แล้ว เธอกล่าวว่าเธอยังคงประสบกับอุปสรรคทางภาษาเมื่อไปพบแพทย์ทั่วไป (GP)

เธอกล่าวว่า “มันเข้าใจยาก และภาษานั้นก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง”

“ฉันไม่สามารถเข้าใจผู้เชี่ยวชาญบางท่านได้เลยแม้กระทั่งในตอนนี้ บางครั้งที่ฉันไปพบกับแพทย์ทั่วไป เข้าก็จะพูด ‘บลา บลา บลา’ แล้วฉันก็จะประมาณว่า ‘อะไรนะ?’”

ความสับสนเช่นนั้นอาจก่อให้เกิดความวิตกกังวลแก่ผู้ซึ่งกำลังจะไปโรงพยาบาลบ่อยมากขึ้น เช่นแม่ที่เตรียมคลอด คุณไม โง ซึ่งจะครบกำหนดคลอดช่วงก่อนวันคริสต์มาสเพียงเล็กน้อย

“มันก็น่าเครียดอยู่พอควร แต่ฉันก็พยายามที่จะผ่อนคลายเพื่อให้เป็นผลดีต่อลูกของฉัน” คุณโงกล่าว

“ฉันเชื่อมั่นและไว้วางใจแพทย์และพยาบาล”


Share
Published 5 September 2018 11:30am
Updated 5 September 2018 10:16pm
By Omar Dabbagh
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand