นักเศรษฐศาสตร์ชี้ มีวิธีอื่น "ที่ไม่นิยม" แต่ช่วยรับมือวิกฤตเงินเฟ้อออสฯ ได้

ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยติดต่อกันเป็นรอบที่ 10 แล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินชี้เก็บภาษีเพิ่ม-ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐช่วยได้แต่อาจไม่เกิดขึ้น

People walking through the fresh produce section at a market.

There are signs inflation in Australia has peaked. Source: AAP / Joel Carrett

ประเด็นสำคัญ
  • ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอีกครั้งเป็นรอบที่ 10 ติดต่อกัน เพื่อต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ
  • ผู้เชี่ยวชาญทางเศรษฐกิจระบุว่า การเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีอาจช่วยควบคุมอุปสงค์และลดอัตราเงินเฟ้อได้ แต่เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้น
  • ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ และรัฐมนตรีการคลังเชื่อว่า ภาวะเงินเฟ้ออาจถึงจุดสูงสุดแล้ว
ผู้ถือสินเชื่อกู้ยืมเพื่อซื้อที่พักอาศัยต้องเผชิญกับความเจ็บปวดในการชำระค่างวดมากขึ้น หลังธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเป็นครั้งที่ 10 ติดต่อกัน ขณะที่กำลังต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่อง

ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนเห็นด้วยกับธนาคารสำรอง ฯ ในเรื่องความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นเพื่อรับมือกับปัญหาเงินเฟ้อ พวกเขากล่าวว่า รัฐบาลสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เพื่อช่วยเหลือ ซึ่งรวมถึงการตัดสินใจอย่างการเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีซึ่งไม่เป็นที่นิยมและไม่น่าเป็นไปได้

แต่ถึงแม้จะไม่มีสิ่งนี้ ก็มีสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อได้ถึงจุดสูงสุดแล้ว และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจถูกหยุดลงในไม่ช้า

ยุทธศาสตร์ขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารสำรอง ฯ ได้ผลหรือไม่

กุญแจสำคัญที่นำไปสู่ภาวะเงินเฟ้อของออสเตรเลียในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 7.8 สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1990 อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยที่ชี้ว่า

แม้จะถูกวิพากษ์วิจารณ์ แต่ธนาคารสำรอง ฯ ยังคงยืนยันว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้นมีความจำเป็น เพื่อควบคุมอุปสงค์ (ความต้องการ) และลดภาวะเงินเฟ้อลงมาเพื่อให้นำกลับสู่ระยะเป้าหมายที่ร้อยละ 2-3 ได้ โดยแถลงการณ์นโยบายการเงินเดือนกุมภาพันธ์ของธนาคารสำรอง ฯ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะลดลงมาถึงจุดสูงสุดของระยะเป้าหมายภายในกลางปี ค.ศ.2025

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานติดต่อกันถึง 10 ครั้ง ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานในปัจจุบันเพิ่มขึ้นจากอัตราต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ร้อยละ 0.1 เป็นร้อยละ 3.6 แต่ถึงแม้ว่าสิ่งนี้จะสร้างความเจ็บปวดให้กับการจ่ายค่างวดของผู้ถือสินเชื่อกู้ยืมเพื่อที่พักอาศัย เชน โอลิเวอร์ (Shane Oliver) หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก AMP Capital กล่าวว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าวดูเหมือนว่าจะได้ผล

เขากล่าวว่า สิ่งนี้ถูกเน้นย้ำโดยอัตราความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่หล่นร่วง ตลาดที่พักอาศัยที่เย็นตัวลง และ

ในขณะที่สิ่งเหล่านี้เป็นชุดข้อมูลที่ “เปลี่ยนแปลงได้ง่าย” แต่ก็ยังมี “สัญญาณเบื้องต้น” บางอย่างจากข้อมูลอัตราเงินเฟ้อรายเดือนที่ได้เผยแพร่เมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยเฉพาะการเติบโตที่ลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ของตกแต่งบ้าน และเสื้อผ้า

“สำหรับผม สิ่งเหล่านี้ชี้ว่านโยบายของธนาคารสำรอง ฯ กำลังเริ่มได้ผล ในขณะเดียวกัน เราได้พบว่าปัญหาในห่วงโซ่อุปทานระดับโลกกำลังลดลง และค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าที่ลดลง ทั้งสองสิ่งนี้ควรที่จะช่วยปรับปรุงในด้านอุปทานของระบบเศรษฐกิจ” คุณโอลิเวอร์ จาก AMP Capital กล่าว

จะทำอะไรได้อีกบ้างเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ

คุณโอลิเวอร์ กล่าวว่า รัฐบาลสหพันธรัฐสามารถทำอะไรได้มากกว่านี้เพื่อลดอุปสงค์ (ความต้องการ) และรับมือกับภาวะเงินเฟ้อ แต่แนวทางนี้เป็นไปได้ยากที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ได้รับความนิยม

เขากล่าวว่า ทางเลือกหนึ่งคือการเสนอการจัดเก็บภาษีที่จะ "กระจายภาระให้เท่าเทียมกันมากขึ้นทั่วทั้งชุมชน" แทนที่จะพยายามชะลอการใช้จ่ายภาคครัวเรือนด้วยค่างวดสินเชื้อกู้ยืมเพื่อที่พักอาศัยผ่านอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น ส่วนอีกทางเลือกหนึ่งก็คือ รัฐบาลสามารถตัดลดการใช้จ่ายของรัฐลงทั่วทั้งโครงสร้าง

“ไม่ว่าคุณ ภาคธุรกิจ หรือรัฐบาลจะใช้จ่าย มันก็ยังคงเป็นอุปสงค์ในระบบเศรษฐกิจ ทฤษฎีก็คือ หากรัฐบาลลดอุปสงค์ของรัฐลง ... นั่นจะสามารถลดแรงกดดันในระบบเศรษฐกิจลงได้” คุณโอลิเวอร์ กล่าว
A graph showing how inflation in Australia has increased.
อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียได้เพิ่มสูงขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา Credit: SBS News
รศ.แซม เซียพลิอัส (Sam Tsiaplias) จากภาควิชาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ยอมรับว่าการเพิ่มอัตราจัดเก็บภาษีจะช่วยควบคุมอุปสงค์ แต่การทำเช่นนั้น "อาจยังไม่เป็นที่พึงปรารถนาในขั้นตอนนี้" พร้อมระบุว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็น “เครื่องมือที่ไม่เฉียบแหลมซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือนหลายรูปแบบอย่างไม่เป็นสัดส่วน” แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการต่อสู้กับภาวะเงินเฟ้อ

“รัฐบาลสามารถริเริ่มมาตรการที่มุ่งเป้าไปที่ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับค่าครองชีพจากอัตราเงินเฟ้อ เช่น การช่วยเหลือราคาพลังงานหรือค่าเช่า” รศ.เซียพลิอัส กล่าว

“สิ่งเหล่านั้นจะช่วยได้ แต่มันจะไม่ชดเชยความจำเป็นในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยแม้แรงกดดันด้านค่าครองชีพจะผ่อนคลายลง อัตราเงินเฟ้อยังคงสูงเกินไป”

นอกจากนี้ คุณโอลิเวอร์ยังต้องการให้ธนาคารสำรองฯ หยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยชั่วคราวเพื่อประเมินผลกระทบที่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่องมีต่ออัตราเงินเฟ้ออย่างครอบคลุม และนี่คือสิ่งที่บางคนบอกว่าเราอาจจะได้เห็นในเร็ว ๆ นี้

ธนาคารสำรอง ฯ มีแผนจะหยุดขึ้นอัตราดอกเบี้ยไหม

ในแถลงการณ์ที่มาพร้อมกับการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 มี.ค.) ฟิลิป โลว์ (Philip Lowe) ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ ได้ส่งสัญญาณถึงการเคลื่อนไหวเพิ่มเติมเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ แต่ได้ปรับถ้อยคำของเขาเล็กน้อย

“คณะกรรมการหวังว่า การรัดกุมนโยบายการเงินให้มากขึ้นจะจำเป็นต่อการทำให้แน่ใจว่าภาวะเงินเฟ้อจะกลับสู่เป้าหมาย และช่วงเวลาที่ภาวะเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น” คุณโลว์ กล่าว

แมตต์ ซิมป์สัน (Matt Simpson) นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสจาก City Index กล่าวว่า สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยจากการใช้ภาษาเมื่อเดือนก่อน เมื่อคุณโลว์กล่าวว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะจำเป็นในช่วงอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และอาจเป็นสัญญาณว่าการสิ้นสุดวงจรของการรัดกุมมาตรการนั้นกำลังใกล้เข้ามาแล้ว

“แน่นอนว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ครั้งสุดท้ายนั้นยังห่างไกลจากความแน่นอน ณ จุดนี้ แต่ประเด็นสำคัญสำหรับผมก็คือการที่ RBA ได้ลบประโยคสำคัญๆ ในแนวทางที่ทำให้ดอกเบี้ยสูง ออกไปจากแถลงการณ์เดือนกุมภาพันธ์” คุณซิมป์สัน กล่าว
A graph showing how fixed and variable rates have changed over time.
แผนภูมิเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยคงที่ (fixed rate) แลtอัตราดอกเบี้ยผันแปร (variable rate) เมื่อเวลาผ่านไป Credit: SBS News
คุณโลว์ ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ ยังได้ชี้ไปยังระบบเศรษฐกิจของออสเตรเลียที่ชะลอตัว ตลาดงานที่แข็งแรงแต่คลายความตึงตัวลง และข้อมูลล่าสุดที่แสดงให้เห็นว่า ความเสี่ยงในแง่ของราคาและค่าจ้างที่ไล่ตามกันติด ๆ นั้นกำลังลดลง

นอกจากนี้ ผู้ว่าการธนาคารสำรอง ฯ ยังกล่าวด้วยว่า อัตราเงินเฟ้อน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว ซึ่งชี้ให้เห็นโดยดัชนีราคาผู้บริโภครายเดือน (CPI) ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 7.4 ในช่วง 12 เดือนจนถึงเดือนมกราคม

จิม ชาลเมอส์ (Jim Chalmers) รัฐมนตรีการคลังออสเตรเลีย เห็นพ้องว่าอัตราเงินเฟ้อน่าจะผ่านจุดสูงสุดแล้ว และกล่าวว่ารัฐบาลจะรับผิดชอบในส่วนที่เงินเฟ้อสามารถควบคุมได้

“ชาวออสเตรเลียเข้าใจว่าภาวะเงินเฟ้อจำนวนมากนี้กำลังเข้ามาถึงเราจากรอบโลก และพวกเขาเข้าใจว่าห่วงโซ่อุปทานที่ชำรุดในออสเตรเลียได้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหานี้เช่นกัน” คุณชาลเมอส์ กล่าว

“และอย่างที่เราเคยบอกไปก่อนหน้านี้ ยุทธศาสตร์ 3 จุดของเราเป็นเรื่องของการเยียวยาค่าครองชีพ ซ่อมแซมห่วงโซ่อุปทาน และการจำกัดงบประมาณ”

มีรายงานเพิ่มเติมจากเอเอพี


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 8 March 2023 4:24pm
By David Aidone
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand