อ้างการจู่โจมที่ศรีลังกาเป็นการแก้แค้นการสังหารหมู่ที่นิวซีแลนด์

NEWS: กลุ่มรัฐอิสลามอ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ระเบิดเมื่อวันอาทิตย์ โดยเจ้าหน้าที่สืบสวนของศรีลังกาเชื่อว่าเป็นการจงใจแก้แค้นการยิงสังหารหมู่ที่นครไครสต์เชิร์ช

Relatives and friends bury victims of the bomb blasts in Colombo.

ยอดผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ระเบิดวันอีสเตอร์เมื่อวันอาทิตย์เพิ่มสูงขึ้นกว่า 320 รายแล้ว Source: AAP

You can read the full version of this story in English on SBS News .

เจ้าหน้าที่ศรีลังกาผู้หนึ่งกล่าวว่า เหตุการณ์ระเบิดซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากเมื่อวันอีสเตอร์นั้น เป็นการแก้แค้นต่อการจู่โจมสังหารที่มัสยิดแห่งหนึ่งที่นิวซีแลนด์ โดยกลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State) ได้อ้างความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้ว 321 ราย

คำกล่าวอ้างของกลุ่มรัฐอิสลามซึ่งประกาศผ่านสำนักข่าวของตนที่ชื่อว่า AMAQ มีขึ้นเพียงไม่นานหลังจากที่ทางประเทศศรีลังกากล่าวว่า เชื่อว่ากลุ่มอิสลามจำนวนสองกลุ่มซึ่งต้องสงสัยว่าเชื่อมโยงกับนักรบในต่างประเทศกลุ่มดังกล่าว อยู่เบื้องหลังการจู่โจมที่โบสถ์จำนวนสามแห่งและโรงแรมสี่แห่ง ทำให้มีผู้บาดเจ็บประมาณ 500 ราย

กลุ่มรัฐอิสลามไม่ได้ให้พยานหลักฐานใดๆ ต่อคำกล่าวอ้างของตน โดยฝ่ายรัฐบาลอ้างว่ามีนักระเบิดพลีชีพจำนวนเจ็ดคนที่มีส่วนร่วม

การสืบสวนเบื้องต้นเผยว่าเรื่องนี้เป็นการแก้แค้นต่อการจู่โจมมัสยิดที่นิวซีแลนด์” รัฐมนตรีด้านกลาโหมของศรีลังกา นายรุวาน วิเจวาร์เดนะ กล่าวกับรัฐสภา

เขาไม่ได้ขยายความเพิ่มเติมว่าเพราะเหตุใดทางการจึงเชื่อว่า(เหตุการณ์ที่ศรีลังกา)มีความเชื่อมโยงกับการสังหารหมู่จำนวน 50 รายที่มัสยิดสองแห่งที่นครไครสต์เชิร์ชของนิวซีแลนด์ในระหว่างการละหมาดเมื่อวันศุกร์ที่ 15 มีนาคม ซึ่งผู้ทำการจู่โจมเป็นชายหนึ่งคน

นายวิเจวาร์เดนะ กล่าวว่า กลุ่มอิสลามที่ศรีลังกาสองกลุ่มได้แก่ National Thawheed Jama'ut และ Jammiyathul Millathu Ibrahim เป็นผู้รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ระเบิดต่างๆ เมื่อวันอาทิตย์ (21 เม.ย.) ในระหว่างการทำพิธีวันอีสเตอร์ และที่โรงแรมหรูหราหลายแห่งซึ่งกำลังให้บริการอาหารเช้า

หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ กล่าวว่า การจู่โจมต่างๆ ดังกล่าวนั้น มีลักษณะเฉพาะตัวบางประการของกลุ่มทหารของรัฐอิสลามอยู่

นายกรัฐมนตรีรานิล วิกรมสิงเห กล่าวว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนของรัฐสภากำลังพิจารณาเรื่องของความเชื่อมโยงกับทางต่างประเทศ

ก่อนหน้านี้ในวันอังคาร (24 เม.ย.) รัฐบาลและแหล่งข่าวทางทหารกล่าวว่า มีชาวซีเรียหนึ่งคนถูกควบคุมตัวไว้ในจำนวน 40 คนที่ถูกสอบปากคำเกี่ยวกับเหตุการณ์ระเบิด

โดยวันอังคารที่ผ่านมาได้ถูกประกาศว่าเป็นวันไว้ทุกข์ระดับชาติ และมีการจัดพิธีศพให้กับเหยื่อจำนวนหนึ่ง ในขณะเดียวกันก็มีแรงกดดันต่อรัฐบาลที่เพิ่มสูงขึ้น ว่าเพราะเหตุใดจึงไม่มีการลงมือดำเนินการอย่างเพียงพอเพื่อตอบสนองต่อคำเตือนที่มีตั้งแต่เมื่อต้นเดือนว่าอาจมีการจู่โจมเกิดขึ้นได้

ผู้เสียชีวิตนั้นส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวศรีลังกา อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกล่าวว่า มีชาวต่างชาติถูกสังหารจำนวน 38 ราย รวมถึงมารดาชาวออสเตรเลีย Manik Suriaaratchi และ Alexandria บุตรสาววัย 10 ปีของเธอ

นอกจากนั้นยังมีพลเมืองชาวอังกฤษ สหรัฐ ตุรกี อินเดีย จีน เดนมาร์ก ดัตช์ และโปรตุเกส (อยู่ในจำนวนผู้เสียชีวิต)

ระเบิดหลายลูกได้สั่นคลอนความสงบเรียบร้อยที่มีอยู่ก่อนหน้านี้ ที่ประเทศในมหาสมุทรอินเดียซึ่งเป็นเกาะและมีประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธแห่งดังกล่าว นับตั้งแต่เมื่อมีสงครามกลางเมืองอันขมขื่นเพื่อต่อต้านกลุ่มแบ่งแยกดินแดนซึ่งเป็นชาวฮินดูและชาวเชื้อชาติทมิฬเป็นส่วนใหญ่ และได้สิ้นสุดลงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ทั้งยังเพิ่มความหวดกลัวว่าจะมีความรุนแรงเนื่องจากการแตกแยกเป็นฝ่ายต่างๆ หวนกลับคืนมาอีก

ศรีลังกามีประชากรจำนวน 22 ล้านคน รวมถึงชนกลุ่มน้อยชาวคริสต์ มุสลิม และฮินดู ซึ่งจวบจนถึงปัจจุบันเหล่าคริสตศาสนิกชนนั้นรอดพ้นความขัดแย้งและความตึงเครียดระหว่างชุมชนต่างๆ มาได้โดยตลอด

รัฐบาลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินเมื่อเที่ยงคืนวันจันทร์ โดยให้อำนาจเป็นอย่างมากแก่ตำรวจในการควบคุมตัวและสอบปากคำผู้ต้องสงสัยได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำสั่งศาล

มีการประกาศห้ามออกจากอาคารในช่วงกลางคืน (overnight curfew) ตั้งแต่เมื่อวันอาทิตย์

ด้านนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้โทรศัพท์ไปหานายวิกรมสิงเหเมื่อวันจันทร์ เพื่อให้คำมั่นต่อความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ เพื่อนำเหล่าผู้ลงมือเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์อ้างอิงคำพูดจากเจ้าหน้าที่คนหนึ่งว่าเขาได้กล่าวว่า ตัวแทนของเอฟบีไอ (Federal Bureau of Investigation) กำลังถูกส่งตัวไปยังประเทศศรีลังกาเพื่อช่วยในการสืบสวนสอบสวน

โดยหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวเผยว่า FBI ได้เสนอความเชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบพยานหลักฐาน และกลุ่มนักวิเคราะห์ก็ได้ทำการตรวจสอบฐานข้อมูลต่างๆ นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่ต่อต้านการก่อการร้ายจากอังกฤษซึ่งเข้าร่วมด้วยเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา

การจู่โจมต่างๆ ดังกล่าวยังได้แสดงให้เห็นถึงความวิตกกังวลต่อเรื่องความแตกแยกภายในรัฐบาลของศรีลังกา และเรื่องความไม่ลงรอยกันที่ทำให้ไม่มีการลงมือเพื่อยับยั้งเหตุการณ์ต่างๆ ไม่ให้เกิดขึ้น

โดยรัฐบาลนั้นได้รับเบาะแสจากประเทศอินเดียในเดือนนี้เกี่ยวกับการจู่โจมที่อาจเกิดขึ้นได้ที่โบสถ์แห่งต่างๆ โดยกลุ่ม National Thawheed Jama'ut

ยังไม่ชัดเจนว่ามีการลงมือใดๆ หรือไม่ หรืออย่างไร เพื่อเป็นการตอบสนอง (ต่อเบาะแสที่มี) โดยรัฐมนตรีของคณะรัฐบาลคนหนึ่งกล่าวเมื่อวันจันทร์ว่า นายวิกรมสิงเหนั้นไม่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับคำเตือนดังกล่าว และถูกปฏิเสธไม่ให้มีส่วนร่วมในการประชุมต่างๆ เรื่องด้านความมั่นคงในระดับสูงสุด เพราะมีความไม่ลงรอยกันกับประธานาธิบดีไมตรีปาลา ศิริเสนา

นายศิริเสนานั้นไล่นายวิกรมสิงเหออกจากตำแหน่งเมื่อปีที่แล้ว แต่จำเป็นต้องรับเขากลับเข้ามาใหม่เนื่องจากแรงกดดันจากศาลสูง (Supreme Court) โดยมีรายงานว่าความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคนนั้นเป็นปรปักษ์ต่อกัน
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 24 April 2019 11:11am
Updated 24 April 2019 12:59pm
By AAP-SBS
Presented by Tanu Attajarusit
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand