พบออสฯ มีเศรษฐีเพิ่มมากกว่าช่วงก่อนโควิดระบาด

รายงานล่าสุดจากองค์กรต้านความยากจน “ออกซ์แฟม” เผยกลุ่มคนรวยสุดขีดและบริษัทไม่กี่แห่ง มีผลกำไรงอกงามท่ามกลางวิกฤตโรคระบาดและเศรษฐกิจโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

Male hand hiding Australian banknotes in pocket

As the world lurches from crisis to crisis, the ultra-rich are lining their pockets. Source: iStockphoto / Getty

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • คนรวยสุดขั้ว 1% ครอบครองความมั่งคั่งใหม่ที่เกิดขึ้นถึง 63% นับตั้งแต่การระบาดของโควิด-19
  • ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่จนสุดขีดเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 25 ปี
  • มหาเศรษฐีของโลกกำลังมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นรวมกันมากขึ้นวันละ 5,000 ล้านดอลลาร์
โลกกำลังต่อสู้กับวิกฤตต่าง ๆ รอบด้าน ทั้งวิกฤตโควิด-19 ค่าครองชีพที่พุ่งสูง ไปจนถึงผลกระทบที่รุนแรงขึ้นของการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก แต่ระหว่างที่ประชากรส่วนมากจากกว่า 8,000 ล้านคนทั่วโลกกำลังย่ำแย่ มีบุคคลและองค์กรที่ร่ำรวยสุดขั้วจำนวนหนึ่งกลับมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้โดยองค์กรต่อต้านความยากจน “ออกซ์แฟม” ระบุว่า นับตั้งแต่ เริ่มขึ้นในปี 2020 พบว่ากลุ่มคนรวยที่สุดจำนวนร้อยละ 1 ของโลกสามารถทำเงินได้มากกว่าประชากรโลกที่เหลือร้อยละ 99 ถึง 2 เท่า ขณะที่สัดส่วนของกลุ่มคนรวยสุดขั้วและยากจนสุดขีด เพิ่มขึ้นพร้อมกันครั้งแรกในรอบ 25 ปี

สำหรับในออสเตรเลียนั้นเป็นไปตามแนวโน้มดังกล่าว โดยพบว่ามีมหาเศรษฐีในประเทศมากขึ้น 11 คน นับตั้งแต่เริ่มต้นปี 2020
แอนเทีย สปิงส์ (Anthea Spinks) ผู้อำนวยการโครงการของออกซ์แฟม ออสเตรเลีย กล่าวว่า กลุ่มคนที่รวยที่สุดนั้น “เอาชนะได้แม้กระทั่งความฝันเป็นไปไม่ได้” ขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกกำลังต้องเสียสละรายวันเพื่อให้ผ่านวันหนึ่งไปได้

“การลดภาษีให้คนรวยที่สุดและบริษัทต่าง ๆ มาเป็นเวลาหลายสิบปีได้เติมเชื้อไฟให้กับความเหลื่อมล้ำทั้งในประเทศและทั่วโลก คนจนที่สุดต้องจ่ายภาษีสูงกว่าซีอีโอและเศรษฐีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก” คุณแอนเทียกล่าวเสริม

รายงานของออกซ์แฟม ระบุอีกว่า ระหว่างเดือนธันวาคม 2019 ถึงเดือนธันวาคม 2021 มีความมั่งคั่งใหม่เกิดขึ้นเป็นมูลค่าราว 60 ล้านล้านดอลลาร์ โดยคนรวยที่สุดร้อยละ 1 ครอบครองส่วนแบ่งความมั่งคั่งใหม่นี้ถึงร้อยละ 63 หรือคิดเป็นราว 37 ล้านล้านดอลลาร์

การเผยแพร่รายงานฉบับดังกล่าวของออกซ์แฟม ตรงกับการประชุมประจำปีของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ในการหารือระหว่างผู้นำทางการเมืองและธุรกิจของโลก ท่ามกลางภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นเป็นวงกว้างจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

วิกฤตค่าครองชีพ หรือวิกฤตต้นทุนกำไร

ออกซ์แฟมโต้ว่า ภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นจากวิกฤตค่าครองชีพที่ทั้งออสเตรเลีย และส่วนอื่น ๆ ของโลกต่างกำลังดิ้นรนอยู่นั้น อาจกลายเป็นวิกฤตต้นทุนกำไร (cost-of-profit crisis)

“วิกฤตค่าครองชีพในปัจจุบัน ทั้งราคาอาหารและพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ยังได้สร้างผลกำไรให้กับผู้คนจำนวนมากในระดับบนอีกด้วย บริษัทอาหารและพลังงานกำลังพบกับผลกำไรมากเป็นประวัติการณ์ และมีการจ่ายเงินให้กับผู้ถือหุ้นที่ร่ำรวยและบรรดาเจ้าของซึ่งเป็นมหาเศรษฐีมากเป็นประวัติการณ์”

“การถือโอกาสค้ากำไรเกินควรของบริษัทต่าง ๆ กำลังผลักดันภาวะเงินเฟ้ออย่างน้อยร้อยละ 50 ในออสเตรเลีย สหรัฐ ฯ และยุโรปในลักษณะของ ‘วิกฤตต้นทุนกำไร’ มากพอกับ ‘วิกฤตค่าครองชีพ’” รายงานจากออกซ์แฟม ระบุ

รายงานดังกล่าวยังระบุถึงการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ร้อยละ 54 ของภาวะเงินเฟ้อในสหรัฐ ฯ ร้อยละ 59 ในสหราชอาณาจักร และร้อยละ 60 ในออสเตรเลีย ถูกขับเคลื่อนจากกำไรที่เพิ่มขึ้นในบริษัทต่าง ๆ

ออกซ์แฟมยังพบว่า ระหว่างที่มีคนทำงานมากกว่า 1,700 ล้านคนทั่วโลกอาศัยอยู่ในประเทศที่ภาวะเงินเฟ้อแซงหน้าค่าจ้าง มหาเศรษฐีทั่วโลกกำลังมีความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นถึงราว 5,000 ล้านดอลลาร์ต่อวัน

การแก้ไขปัญหา

รายงานของออกซ์แฟม ระบุว่า การปิดช่องโหว่ในการหลบเลี่ยงภาษี และการเก็บภาษีกลุ่มคนรวยสุดขั้วอย่างเหมาะสม คือ “ทางออกสำหรับปัญหาทับซ้อนของทุกวันนี้”

ในออสเตรเลีย ออกซ์แฟมกำลังเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐยกเลิกมาตรการลดภาษีขั้นที่ 3 ที่กำลังจะมาถึง โดยให้ “ปรับใช้การเพิ่มการเก็บภาษีกลุ่มคนรวยสุดขั้วอย่างเป็นระบบและทั่วถึง” ซึ่งรวมถึงการเก็บภาษีความมั่งคั่ง (wealth tax) และการเก็บภาษีลาภลอย (windfall tax) สำหรับบริษัทต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นการริบผลกำไรที่บางบริษัทได้รับมาจากวิกฤตต่าง ๆ และความทุกข์ทรมาน เช่น วิกฤตโควิด-19 และสงครามในยูเครน

รัฐบาลของ แอนโทนี อัลบานิซี ได้ประกาศว่าจะไม่ยกเลิกมาตรการลดหย่อนภาษีขั้นที่ 3 สำหรับชาวออสเตรเลียที่มีความมั่งคั่ง ซึ่งถูกออกแบบขึ้นในสมัยรัฐบาล สกอตต์ มอร์ริสัน ซึ่งมีการออกเป็นตัวบทกฎหมายมาตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมืองซึ่งตอนนี้เป็นฝ่ายค้านของรัฐบาลพรรคแรงงานในปัจจุบัน และจะมีผลในปีงบประมาณ 2024-25
ออกซ์แฟมระบุว่า ภาษีความมั่งคั่งที่เรียกเก็บในอัตราร้อยละ 2 จากผู้มีรายได้มากกว่า 7 ล้านดอลลาร์ ร้อยละ 3 จากผู้มีรายได้มากกว่า 67 ล้านดอลลาร์ และร้อยละ 5 จากเศรษฐีระดับพันล้านในออสเตรเลียเพียงอย่างเดียวนั้น คิดเป็นเงิน 29,100 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี

ซึ่งเงินเหล่านี้สามารถกระจายออกไปเพื่อกระตุ้นความช่วยเหลือระหว่างประเทศของออสเตรเลีย รวมถึงการแก้ปัญหาความยากจนด้วยการเพิ่มเงินสวัสดิการรัฐ สร้างอาคารสงเคราะห์มากขึ้น และช่วยให้ครัวเรือนสามารถประหยัดค่าใช้พลังงานต่าง ๆ ได้ ด้วยการลงทุนในงบประมาณที่ช่วยให้ผู้คนเปลี่ยนผ่านออกไปจากการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

อ่านและฟังเรื่องเศรษฐกิจได้อีก

Share
Published 18 January 2023 8:08pm
By Isabelle Lane
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand