ทำไมเงินเฟ้อจึงทะยานในปีนี้ และค่าครองชีพจะเป็นอย่างไรในปีหน้า

ย้อนรอยวิกฤตเศรษฐกิจโลกปีนี้หาต้นเหตุอัตราเงินเฟ้อพุ่ง นักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ทิศทางค่าครองชีพและราคาอสังหาฯ ปี 2023 ขณะที่แบงก์ชาติฯ เตือนดอกเบี้ยปีหน้ายังขึ้นสูงไปอีก

A composite of petrol pumps, money, Philip Lowe and a supermarket shelf

Many Australians have seen sharp rises in the cost of living over the year.

ประเด็นสำคัญในข่าว
  • พรมแดนเปิด ทั่วโลกคลายกฎโควิด ประชาชนระดมใช้จ่าย แต่ภาคการผลิตยังไม่ฟื้น ส่งผลอุปสงค์ไม่ทันอุปทานจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงรู้สึกได้
  • สงครามในยูเครนกระทบส่งออกข้าวสาลีและน้ำมันดิบจนราคาเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ เป็นเหตุการณ์ใหญ่ที่ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะเงินเฟ้อไปทั่วโลก
  • อัตราดอกเบี้ยมาตรฐานเพิ่มสูงขึ้นมาอย่างฉับพลันจากระดับที่เคยต่ำเป็นประวัติการณ์ที่ 0.1% ชี้หระทบกู้ซื้อบ้าน ส่งผลราคาอสังหาฯ ต่ำลง
ทั้งราคาน้ำมัน และราคาผักผลไม้ที่เพิ่มสูงจนกระเป๋าฉีก เป็นเรื่องยากที่จะหนีพ้นจากวิกฤตค่าครองชีพในครัวเรือนที่เพิ่มสูง

ปีนี้คือปีที่ผู้บริโภคซึ่งมีเงินออมที่สะสมไว้จากช่วงการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 มูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ นำเงินออกมาใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก ขณะที่มาตรการจำกัดการแพร่ระบาดถูกยกเลิกไปทั่วโลก และพรมแดนระหว่างประเทศที่กลับมาเปิดอีกครั้ง

ผู้ผลิตทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหากำลังการผลิตที่ตามไม่ทันความต้องการ หลังโควิด-19 ชะลอศักยภาพการทำงานจากการลาป่วยของพนักงาน ทำให้ห่วงโซอุปทานเกิดความติดขัด

ผลกระทบดังกล่าว แต่ก็มีเหตุการณ์หนึ่งซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นไปอย่างจริงจัง

สงครามในยูเครนส่งผลกระทบในระดับโลกได้อย่างไร

การบุกรุกยูเครนของรัสเซีย ได้แก่ ข้าวสาลี และน้ำมันดิบ

ทั้งรัสเซียและยูเครนส่งออกข้าวสาลีคิดเป็น 1 ใน 4 ของการส่งออกในระดับโลก ความขัดแย้งระหว่างทั้งสองประเทศทำให้ราคาข้าวสาลีเพิ่มสูงเป็นประวัติการณ์ จนส่งผลกระทบเพิ่มเติมจากราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่แล้ว โดยประเทศที่มีความยากจนได้รับผลกระทบมากที่สุด

ความขัดแย้งดังกล่าวยังเพิ่มแรงกดดันให้กับราคาน้ำมันดิบ ซึ่งถูกซ้ำเติมด้วยการตัดสินใจขององค์การกลุ่มประเทศผู้ส่งน้ำมันออก (OPEC) ในการจำกัดปริมาณการส่งออกน้ำมัน
กราฟราคาน้ำมันเบนซินและดีเซลระหว่างเดือนมีนาคม - สิงหาคม
ราคาน้ำมันเขื้อเพลิงประเภทเบนซินและดีเซลเฉลี่ยได้แกว่งตัว หลังรัฐบาลออสเตรเลียประกาศนโยบายลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตร Source: SBS
ในออสเตรเลีย วิกฤตราคาน้ำมันโลกเกิดขึ้นตามไปพร้อมกับราคาน้ำมันในประเทศที่สูงขึ้น ซึ่งได้ถึงจุดที่สูงเป็นประวัติการณ์เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

แม้ทั้งรัสเซียและยูเครนได้ผ่อนคลายจากจุดตึงเครียดที่สุดไปแล้วขณะที่การเติบโตในระดับโลกที่หยุดชะงัก สิ่งที่ปรากฎอยู่อย่างชัดเจนคือวิกฤตพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปยุโรป

อัตราเงินเฟ้อในปี 2022 เพิ่มขึ้นไปทั่วโลกได้อย่างไร

ราคาอาหาร พลังงาน และน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มสูงขึ้น การรวมกันของทั้งหมดนี้

ในออสเตรเลีย อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไปถึงระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1990 ด้วยอัตรารายปีที่ร้อยละ 7.3 ขณะที่ธนาคารสำรองแห่งออสเตรเลีย (RBA) เตือนว่านี่ยังไม่ถึงจุดสูงสุด

“ผมคิดว่าข่าวดีสำหรับปีหน้าก็คือ อัตราเงินเฟ้อจะถึงจุดสูงสุด (ในปีนั้น)” เชน โอลิเวอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จากเอเอ็มพี แคปิตอล (AMP Capital) กล่าว

“เรากำลังจะได้พบกับหลักฐานมากขึ้นที่ชี้ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มทุเลาลง เราได้เห็นสิ่งนั้นแล้ว ยกตัวอย่างเช่นในสหรัฐฯ เรากำลังพบว่าความไม่สมดุลของอุปทานเริ่มกลับมาอยู่ในระดับปกติ เรากำลังเห็นราคาค่าขนส่งที่ลดลง อุปทานกำลังเริ่มชะลอตัว ทั้งหมดนั้นจะนำไปสู่การลดลงของอัตราเงินเฟ้ออย่างฉับพลันในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ในขณะเดียวกัน ตลาดงานที่ยังคงแข็งแรงจะผลักดันให้การเติบโตของค่าจ้างให้เพิ่มสูงขึ้นไปเล็กน้อย”

จะเกิดอะไรกับอัตราดอกเบี้ยในปี 2023

ค่าจ้างที่สูงขึ้นจะเป็นข่าวดีสำหรับผู้ขอกู้ยืมเงินที่ต้องแบกรับกับกลยุทธ์ของธนาคารสำรองฯ ในการต่อสู้กับราคาผู้บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ด้วยการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานอย่างเป็นทางการจากอัตราฉุกเฉินที่ร้อยละ 0.1 เมื่อเดือนพฤษภาคม เป็นร้อยละ 3.1 ในเดือนธันวาคม

การเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของธนาคารสำรองในครั้งนี้นับว่าเร็วที่สุดในรอบหลายสิบปี โดยเพิ่มขึ้นมาจากระดับต่ำเป็นระยะเวลา 10 ปีภายในเวลาเพียง 8 เดือน

ขณะที่ธนาคารต่างส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่เพิ่มสูงขึ้นให้กับลูกค้า ทำให้งวดผ่อนชำระสินเชื่อบ้านในอัตราผันแปรได้เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงจำกัดวงเงินสำหรับผู้กู้ยืมลงไปมากถึงร้อยละ 27 แต่ในทางกลับกัน สิ่งนี้ก็ได้ฉุดราคาอสังหาริมทรัพย์ให้ต่ำลงจากระดับสูงเป็นประวัติการณ์
คุณโอลิเวอร์ จาก เอเอ็มพี แคปิตอล เตือนว่า ราคาอสังหาริมทรัพย์อาจลดลงไปอีกในอนาคต
อาจมีความเจ็บปวดอีกมากที่จะมาถึง เพราะเรายังไม่เห็นผลกระทบของดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านที่พุ่งสูง
คุณเชน โอลิเวอร์ (Shane Oliver) จาก เอเอ็มพี แคปิตอล
“สิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ที่โชคดีได้อัตราดอกเบี้ยกู้บ้านคงที่ 2% หรืออะไรทำนองนั้นเมื่อ 1-2 ปีก่อนกำลังจะพบว่า เมื่อระยะเวลาสินเชื่อหมดอายุ และต้องรีไฟแนนซ์ พวกเขาจะพบกับอัตราดอกเบี้ยรีไฟแนนซ์ที่ 5-6% และโชคไม่ดีที่มันอาจดูเป็นเป็นการบังคับขายเล็กน้อย และเป็นแรงกดดันขาลงต่อราคาอสังหาริมทรัพย์”



Share
Published 30 December 2022 3:21pm
By Ricardo Goncalves
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand