สว. ออสฯ เตือนให้เอกชนจัดการระบบวีซ่ามีความเสี่ยง

NEWS: ผู้เชี่ยวชาญด้านวีซ่าเตือนโครงการจัดจ้างเอกชนดำเนินการวีซ่าที่มีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ว่าอาจเป็นภัยต่อความเที่ยงธรรมของระบบการย้ายถิ่นของออสเตรเลีย

Australia Day Honours Filename

Source: AAP Image/Joel Castro

มีการคาดการณ์ว่าผู้สมัครวีซ่าออสเตรเลียจะเพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 13 ล้านคนต่อปีภายในปี 2028 โดยที่กระทรวงมหาดไทยเผยว่าทางกระทรวงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องจัดจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการประมวลผลวีซ่า

รัฐบาลสหพันธรัฐวางแผนจะใช้งบประมาณ 80 ล้านดอลลาร์เพื่อพัฒนาโครงการที่เรียกว่า “Global digital Platform” แต่นาย อบูล ริสซ์วิ อดีตรองเลขาธิการของกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองเตือนว่าแผนการของรัฐบาลสหพันธรัฐที่จะจัดจ้างเอกชนเข้ามาดำเนินการประมวลผลวีซ่านั้นอาจทำให้ทั้งระบบตกอยู่ในความเสี่ยง

“ผลกระทบที่แท้จริงของโครงการนี้คือการที่เราอาจจะสูญเสียการควบคุมระบบวีซ่าของเราไป” นาย อบูล ริสซ์วิ กล่าว

 เขาอธิบายเพิ่มเติมว่า

“ปัญหาที่ผมเห็นว่ามันจะเกิดขึ้นหากรัฐบาลอนุญาตให้เอกชนเข้ามาทำในสิ่งที่เรียกว่า “การบริการชั้นเลิศ” (premium service stream) ซึ่งได้รับการส่งเสริมโดยภาคเอกชน มันก็คงคล้ายกับการนั่งที่นั่งเฟิสต์คลาสบนเครื่องบิน ซึ่งหมายความว่า เมื่อคุณจ่ายเงินแพงขึ้น คุณก็จะได้รับบริการที่เร็วขึ้น โดยสรุปแล้ว ผมคิดว่ามันดูเหมือนจะเป็นไปในแนวทางนั้น เพราะถ้าการบริการชั้นเลิศไม่ได้เสนออะไรที่เป็นบวกในเรื่องนี้ แล้วภาคเอกชนในโลกใบนี้จะส่งเสริมมันไปเพื่ออะไร” นาย อบูล ริสซ์วิ  ย้ำ
นาย ริสซ์วิ ได้กล่าวปาฐกถาในการประชุมคณะกรรมาธิการวุฒิสมาชิกเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา และเขาถูกตั้งคำถามถึงความยุติธรรมในการสรุปเรื่องดังกล่าวโดยอาศัยหลักฐานจากเขา ซึ่งอาจนำไปสู่ความยุ่งยาก หรืออาจเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ระบบป้องกันต่างๆ ในขั้นตอนการประมูล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความยุ่งยากที่จะตามมาต่อระบบการประมวลผลวีซ่า

“ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ประนีประนอมที่สุดแล้ว” นาย อบูล ริสซ์วิ  กล่าว

บริษัทที่เป็นหุ้นส่วนกันสองบริษัทกำลังแข่งกันประมูลเพื่อที่ได้สัญญาจากโครงการที่มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านดอลลาร์เพื่อสร้างระบบและจัดการการพัฒนาระบบออนไลน์ระบบเดียว ที่สามารถรับใบสมัคร ดำเนินการ และจ่ายวีซ่าให้กับผู้สมัครจำนวนมากกว่า 9 ล้านรายต่อปีได้
คอมพิวเตอร์จะมาแย่งงานเจ้าหน้าที่หรือไม่

ปัจจุบันมีระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ถึง 50 ระบบที่เกี่ยวข้องในระบบการดำเนินการวีซ่า ซึ่งสองชนิดในจำนวนนี้มีอายุการใช้งานมากกว่า 25 ปี

ปัจจุบันในการประมวลผลวีซ่านักเรียนจะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ กว่า 28 ขั้นตอนด้วยกัน อย่างไรก็ตาม มีความกังวลต่างๆ เกิดขึ้นว่าการเปลี่ยนไปใช้ระบบ Global Digital Platform อาจเป็นการลดการทำงานโดยมนุษย์ลง ซึ่งเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบนี้แล้วจะทำให้เหลือการทำงานภายในกระทรวงมหาดไทยเพียงหนึ่งขั้นตอนเท่านั้น

แต่ นาง มาลิสา โกไลท์ลี รองเลขาธิการกลุ่มงานการบริการวีซ่าและการเป็นพลเมือง ยืนยันว่า การประมวลผลวีซ่านั้นจะไม่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการจัดการทั้งหมดเพียงอย่างเดียว  เธอกล่าวว่า

“การตัดสินใจในการปฏิเสธวีซ่าหรือการตัดสินใจที่จะเพิกถอนสิทธิต่างๆ จะกระทำโดยเจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ ซึ่งในขั้นตอนนี้จะไม่ใช้คอมพิวเตอร์ในการดำเนินการ”

นาง โกไลท์ลี ยังปฏิเสธในเรื่องการลดตำแหน่งงานเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงนี้อีกด้วย

“จุดประสงค์ของเราคือ เราจะไม่สูญเสียพนักงานของเราเนื่องจากการนำระบบคอมพิวเตอร์นี้มาใช้ สรุปคือเรามีงานมากพอกับจำนวนพนักงานของเรา” นาง มาลิสา โกไลท์ลี  ยืนยัน
Malisa Golightly azungumza katika kikao cha kamati ya Seneti ya sheria na maswala yakikatiba
นาง มาลิสา โกไลท์ลี รองเลขาธิการกลุ่มงานการบริการวีซ่าและการเป็นพลเมือง Source: SBS
จ่ายแพงกว่าได้วีซ่าเร็วกว่า

นอกเหนือจากเรื่องดังกล่าว การจัดจ้างเอกชนมาดำเนินการประมวลผลวีซ่าอาจทำให้ผู้สมัครบางรายเสียเปรียบ โดยมีตัวอย่างจากประเทศอังกฤษที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและทนายความหลายคนได้ยื่นเรื่องดำเนินการสอบสวนภาคเอกชนที่เข้ามาดำเนินการระบบประมวลผลวีซ่า หลังเกิดเหตุการณ์สำนักงานนายหน้ารับทำวีซ่าหลายแห่งได้รับผลประโยชน์หลายล้านปอนด์จากระบบนี้ ซึ่งทำให้ผู้สมัครขอวีซ่าถูกบังคับให้จ่ายเงินค่าวีซ่าสูงมาก และต้องเดินทางไกล เพื่อมาสมัครเป็นพลเมืองของสหราชอาณาจักร

นาง เมลลิสา ดอนเนลลี  จากสหภาพภาคบริการชุมชนและสาธารณะ เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“ในสหราชอาณาจักร การจัดจ้างเอกชนมาดำเนินการเรื่องนี้ส่งผลให้ผู้สมัครต้องจ่ายค่าทำวีซ่าในราคาที่เกินจะรับไหว ซึ่งผู้สมัครเหล่านี้ถูกเอาเปรียบ โดยการที่บริษัทเอกชนเหล่านี้จะดำเนินการอย่างล่าช้าเพื่อให้ผู้สมัครสนใจที่จะใช้บริการในระดับชั้นเยี่ยมที่อาจจะทำให้พวกเขาได้รับการพิจารณาวีซ่าเร็วขึ้น” 

นาง ดอนเนลลี กล่าวต่อไปว่า

“แก่นของการบริการประเภทนี้ก็คือ ถ้าผู้สมัครรายใดสามารถจ่ายแพงก็สามารถเข้าถึงบริการที่ดีกว่าได้ ซึ่งมันขัดกับความคาดหวังของชุมชนต่อการให้บริการอย่างมาก”  นาง เมลลิสา ดอนเนลลี เผย

นาย ไมเคิล เวทเทส จาก Public Services International เสริมว่า

“ค่าใช้จ่ายในการสมัครวีซ่าของผู้สมัครจากต่างประเทศนั้นเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 14 - 72 ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเป็นวีซ่าประเภทใด และมีบริการเสริมที่คุณเลือกได้ในราคาตั้งแต่ 5-1000 ปอนด์ ซึ่งพบว่า บริการเสริมเหล่านี้มีส่วนช่วยในการดำเนินการเรื่องวีซ่าให้เร็วขึ้นได้น้อยมากหรือไม่มีเลย นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่าพวกเขามุ่งเน้นเรื่องผลกำไรมากกว่าคุณภาพ” นาย ไมเคิล เวทเทส สรุป

You can check out the full version of this story in English on SBS News .

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 4 November 2019 9:28pm
Updated 12 August 2022 3:22pm
By Brett Mason, Matt Connellan
Presented by Chayada Powell
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand