โครงการสำรวจใหม่เชิญหญิงผู้ย้ายถิ่นแชร์ประสบการณ์ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน

ผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยถูก ‘บดบังไม่ให้ได้รับการใส่ใจ’ ในรายงานแห่งชาติฉบับต่างๆ ด้านการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ผู้เชี่ยวชาญชี้ แต่ตอนนี้พวกเขาเชื่อว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนไป

A woman sitting at a desk with her face in her hands.

A first-of-its-kind national survey will capture migrant and refugee women's experiences of sexual harassment in the workplace. Source: Getty / Runstudio

Key Points
  • การสำรวจทั่วประเทศครั้งนี้จะเน้นถึงประสบการณ์ของผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในที่ทำงานของออสเตรเลีย
  • โครงการใหม่นี้เกิดขึ้นหลังจากรายงาน Respect@Work ระบุว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้คนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม
กำลังมีการร้องขอให้ผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียเปิดเผยหรือแชร์ประสบการณ์ของพวกเธอเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ในการสำรวจระดับชาติที่มีขึ้นเป็นครั้งแรกของการสำรวจในด้านนี้

มหาวิทยาลัยโมนาชเปิดตัวแบบสำรวจนี้ในวันอังคาร ที่ 8 สิงหาคม โดยร่วมกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ฮาร์โมนี อัลไลอันซ์ (Harmony Alliance) ซึ่งทำงานเพื่อยกระดับให้เสียงหรือความคิดเห็นของสตรีผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยในออสเตรเลียได้รับการนำไปพิจารณามากขึ้น

โครงการนี้จะมุ่งเน้นเสียงหรือความคิดเห็นของผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยที่ทำงานในออสเตรเลียทั่วประเทศ โดยเป็นโครงการที่แยกจากรายงาน Respect@Work ที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งออสเตรเลียในปี 2020

รายงาน Respect@Work พบว่า

คุณเคท เจนคินส์ กรรมาธิการป้องกันการเลือกปฏิบัติทางเพศของออสเตรเลียและหัวหน้าการไต่สวนหาความจริงเรื่องนี้ กล่าวว่า ผลที่พบจากรายงานนั้น "น่าตกใจ" จากรายพบว่าหากมองอย่างผิวเผินแล้ว "ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ" สำหรับความชุก (prevalence) ของการถูกคุกคามทางเพศของผู้ที่พูดภาษาอังกฤษที่บ้าน เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่พูดภาษาอื่น

แต่ผลการสำรวจอาจไม่ได้ชี้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริง เนื่องจากมีผู้คนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมจำนวนน้อยกว่าที่ตอบแบบสำรวจ เพราะมีแนวโน้มที่คนในชุมชนเหล่านี้ไม่สามารถเข้าถึงการสำรวจได้

รายงานยังเปิดเผยว่ามีข้อมูลที่มีอยู่เพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับชาวออสเตรเลียจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม

หนึ่งในข้อเสนอ 55 ข้อของรายงานดังกล่าวที่เสนอต่อรัฐบาลคือ ควรให้มีการดำเนินการสำรวจระดับชาติที่ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ที่จะเก็บข้อมูลและความคิดเห็นของผู้คนจากชุมชนหลากวัฒนธรรมได้ดีกว่าเดิม
ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังคงถูกบดบังในการศึกษาวิจัยระดับชาติที่สำคัญและในด้านความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน
รองศาสตราจารย์ มารี เซเกรฟ
"ผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยส่วนใหญ่ยังคงถูกบดบังในการศึกษาวิจัยระดับชาติที่สำคัญและในด้านความมุ่งมั่นระดับชาติที่จะยุติการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน" รองศาสตราจารย์ มารี เซเกรฟ หัวหน้านักวิจัยจากศูนย์ป้องกันความรุนแรงเพราะเพศสภาพและความรุนแรงในครอบครัว (Monash Gender and Family Violence Prevention Centre) กล่าว

“เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรวัยผู้ใหญ่ในออสเตรเลียเป็นผู้ที่เกิดในต่างประเทศ ทั้งที่เป็นพลเมือง ผู้อยู่อาศัยถาวร และผู้ถือวีซ่าชั่วคราว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญและวิธีที่เราสามารถสนับสนุนพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น”

ในเดือนเมษายนปีที่แล้ว รัฐบาลพรรคร่วมในขณะนั้นยอมรับคำแนะนำของคุณเจนคินส์ และจัดสรรเงินทุนสำหรับการสำรวจเพื่อรวบรวมประสบการณ์ของผู้คนจากชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรม
เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจประสบการณ์ของผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย ซึ่งเรารู้ว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน
นียาดอล นูออน ประธานฮาร์โมนี อัลไลอันซ์
คุณนียาดอล นูออน (Nyadol Nyuon) ประธานฮาร์โมนี อัลไลอันซ์ (Harmony Alliance) กล่าวชื่นชมผู้ที่เคยตกเป็นเหยื่อที่ให้ข้อมูลในรายงาน Respect@Work ที่ช่วยให้ออสเตรเลียมี "การสนทนาที่เราจำเป็นต้องมีเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศในที่ทำงาน"
Nyadol Nyuon is wearing a yellow shirt and has a serious facial expression.
คุณนียาดอล นูออน (Nyadol Nyuon) ประธานฮาร์โมนี อัลไลอันซ์ Credit: Women's Agenda
“เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะต้องเข้าใจประสบการณ์ของผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัย ซึ่งเรารู้ว่ามีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน เพื่อให้เราสามารถพัฒนาการตอบสนองอย่างเป็นระบบและมีวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องมี ที่จะทำให้แน่ใจได้ว่าพวกเธอมีความปลอดภัย” คุณ นียาดอล นูออน กล่าว

คุณพัดมา รามัน (Padma Raman) ประธานกรรมการบริหารขององค์กรวิจัยแห่งชาติด้านความปลอดภัยสตรีของออสเตรเลีย กล่าวว่า แม้องค์กรจะทราบดีว่าผู้หญิงผู้ย้ายถิ่นฐานและผู้ลี้ภัยได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอย่างมากจนไม่สมสัดส่วน แต่โครงการนี้จะช่วยให้แนวทางที่ถูกปรับให้เหมาะสมยิ่งขึ้นในการกำหนดเป้าหมายและแก้ไขปัญหาเรื่องนี้

"งานวิจัยชิ้นนี้จะช่วยให้เราพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและเหมาะกับวัฒนธรรมมากขึ้น เพื่อป้องกันและตอบสนองต่อเรื่องนี้" คุณรามัน กล่าว

โครงการนี้จะประกอบด้วยแบบสำรวจออนไลน์ การสัมภาษณ์ และการปรึกษาหารือกับผู้นำชุมชนผู้หญิงอย่างหลากหลากทุกระดับ โดยไม่จำกัดระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ สถานะพลเมืองหรือวีซ่า สถานะการจ้างงาน และประเภทของการทำงาน

หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักได้รับผลกระทบจากการคุกคามทางเพศหรือการล่วงละเมิดทางเพศ สามารถโทร

ศัพท์ติดต่อ 1800RESPECT ที่หมายเลข 1800 737 732 หรือไปที่เว็บไซต์

ในกรณีฉุกเฉิน โทร 000

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 9 August 2022 3:23pm
By Rayane Tamer
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand