เผยกลลวงสแกมเมอร์ที่ใช้ Uber, ATO, Telstra มาอ้างเพื่อหลอกเหยื่อ

ผู้คนในออสเตรเลียกำลังสูญเสียเงินไปหลายล้านดอลลาร์ในแต่ละปีจากการตกเป็นเหยื่อการหลอกลวงที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน กลการหลอกลวงหลายรูปแบบเป็นการแอบอ้างว่ามาจากบริษัทหรือองค์กรที่ประชาชนไว้วางใจ นี่คือสิ่งที่คุณต้องคอยระวัง

An image with a silhouette of a woman looking at her phone surrounded by messages with "scam" written in red letters across them

Australians are being urged to learn how to spot scams. Source: SBS

ประเด็นสำคัญ
  • ผู้คนในออสเตรเลียสูญเสียเงินหลายล้านเหรียญในแต่ละปีให้กับกลการหลอกลวงที่ซับซ้อน
  • สแกมเมอร์แอบอ้างว่ามาจากบริษัทและสถาบันที่ผู้คนเชื่อถือ
  • นี่คือวิธีหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวง
การหลอกลวงกำลังเพิ่มขึ้น โดยผู้คนในออสเตรเลียกำลังถูกหลอกให้สูญเสียเงินไปมากกว่าที่เคยเป็นมา

ผู้คนในออสเตรเลียสูญเสียเงินไปกว่าครึ่งพันล้านดอลลาร์จากการหลอกลวงในปี 2022 ตาม โดย แจ้งเข้ามาบ่อยที่สุด

หากคุณต้องการทำให้แน่ใจได้ว่าคุณจะไม่ถูกหลอก นี่คือสิ่งที่คุณต้องระวัง

การหลอกลวงเกี่ยวกับค่าทางด่วน

สแกมเมอร์หรือมิจฉาชีพจะแอบอ้างว่ามาจากหน่วยงานที่จัดเก็บค่าทางด่วน เช่น Linkt โดยส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถืออ้างว่าผู้รับค้างชำระค่าทางด่วนหรือมีค่าทางด่วนที่เลยกำหนดการชำระเงิน

หน่วยงานด้านการสื่อสารและสื่อของออสเตรเลีย (ACMA) กล่าวว่า ผู้ที่ได้รับข้อความข่มขู่ ซึ่งอ้างว่าบัญชีค่าทางด่วนของพวกเขามีจำนวนเงินค้างชำระหรือมีเงินในบัญชีไม่เพียงพอ ต้องระวัง

"ข้อความหลอกลวงอาจมาจากหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่เป็นที่รู้จัก หรือมีคำว่า 'Linkt' ในรายละเอียดผู้ส่งเพื่อให้ดูเหมือนของจริง" ACMA กล่าว
A text message
ข้อความหลอกลวงเช่นนี้แจ้งผู้รับเกี่ยวกับค่าทางด่วนที่ค้างชำระ Source: SBS
“การหลอกลวงแบบฟิชชิง (Phishing) เหล่านี้พยายามหลอกให้คุณคลิกลิงก์ที่นำไปยังเว็บไซต์ที่น่าเชื่อ แต่ความจริงแล้วเป็นเว็บไซต์ปลอม ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลทางการเงินของคุณ”

“หากคุณสงสัยว่าข้อความที่คุณได้รับเกี่ยวกับบัญชีค่าทางด่วนนั้นเป็นของจริงหรือไม่ โปรดอย่าคลิกลิงก์ใดๆ หรือพึ่งพาข้อมูลที่ส่งมาในข้อความทางโทรศัพท์มือถือนั้น”

ACMA กล่าวว่าประชาชนล็อกอิน (log in) เข้าไปในบัญชีค่าทางด่วนของตนแทน หรือใช้แอปพลิเคชันที่ได้รับการรับรองจากบริษัทเพื่อตรวจสอบข้อมูลการใช้ทางด่วนล่าสุดของตน

การหลอกลวงโดยอ้างชื่อ Uber

สแกมเมอร์ยังสวมรอยเป็นอูเบอร์ (Uber) และส่งข้อความทางโทรศัพท์มือถือไปยังเหยื่อที่ไม่เฉลียวใจ เพื่อพยายามหลอกเอาเงินจากพวกเขา

จากข้อมูลของ Scamwatch ข้อความทางโทรศัพท์มือถือดังกล่าวอาจอ้างว่ามีกิจกรรมที่ผิดปกติในบัญชีของคุณ หรือการชำระเงินของคุณไม่สำเร็จ

"ข้อความทางโทรศัพท์มือถือเหล่านั้นทั้งหมดมีลิงก์ที่ประสงค์ร้ายนำไปยังเว็บไซต์ที่จะขโมยรายละเอียดของคุณ" เว็บไซต์ Scamwatch ระบุ

Scamwatch แนะนำให้ผู้รับข้อความดังกล่าวอย่าคลิกลิงก์ แต่ให้ตรวจสอบบัญชีอูเบอร์ของคุณผ่านแอปฯ แทน

และยังคงพบบ่อยอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน จากข้อมูลของ Scamwatch

สถิติจากเอทริปเปิลซี (ACCC) พบว่ามีมีการแจ้งเกี่ยวกับการหลอกลวงรูปแบบนี้เข้ามากว่า 11,000 กรณีในปีที่แล้ว คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 7.2 ล้านดอลลาร์

กลการหลอกลวงด้วยข้อความ 'Hi Mum' หลอกลวงเหยื่อให้ส่งเงินให้อาชญากรไซเบอร์ ที่สวมรอยว่าเป็นลูกหลานของเหยื่อ

ผู้ก่อเหตุมักจะส่งข้อความผ่าน WhatsApp หรือ SMS โดยเสแสร้งว่าเป็นเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัวที่ทำโทรศัพท์มือถือหายหรือมีหมายเลขโทรศัพท์ใหม่
จากนั้นสแกมเมอร์หรือมิจฉาชีพจะอ้างว่าถูกล็อกไม่ให้เข้าระบบธนาคารออนไลน์ และขอให้เหยื่อส่งเงินมาให้

การหลอกลวงประเภทนี้มีหลายรูปแบบ แต่ทั้งหมดจ้องหลอกลวงเหยื่อที่เต็มใจช่วยบุคคลอันเป็นที่รักที่กำลังเดือดร้อน

หากคุณได้รับข้อความเช่นนี้ Scamwatch แนะนำให้โทรศัพท์หาคนที่คุณรักด้วยหมายเลขโทรศัพท์ปกติ เพื่อยืนยันว่าข้อความเหล่านั้นมาจากพวกเขาจริงๆ ก่อนที่จะส่งเงินใดๆ ให้

การหลอกลวงโดยอ้าง myGov

มิจฉาชีพกำลังสวมรอยเป็นองค์กรของรัฐเพื่อหลอกลวงประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ โดย Scamwatch มีรายงานเกี่ยวกับผู้แอบอ้างว่าติดต่อมาจาก myGov เพิ่มขึ้น 160 เปอร์เซ็นต์ในเดือนมกราคม

Scamwatch เตือนให้ผู้คนควรระวังอีเมลและข้อความที่ดูเหมือนมาจาก myGov ที่บอกว่าพวกเขามีสิทธิ์ได้รับเงินคืนหรือได้รับเงินส่วนลดใดๆ ก็ตาม

นอกจากนี้ Scamwatch ยังเตือนประชาชน อย่าเข้าบัญชี myGov โดยการคลิกลิงก์ที่อยู่ในอีเมลหรือข้อความทางโทรศัพท์มือถือ

การหลอกลวงโดยอ้าง ATO

สแกมเมอร์ยังใช้บัญชีโซเชียลมีเดียเพื่อแอบอ้างว่ามาจากองค์กรของรัฐ เช่น สำนักงานภาษีแห่งออสเตรเลีย หรือ ATO

"เราเห็นการเพิ่มขึ้นของบัญชีโซเชียลมีเดียปลอมที่แอบอ้างว่ามาจากเอทีโอ อ้างตัวว่าเป็นพนักงานของเราและเป็นเจ้าหน้าที่อาวุโสของเรา ทั่วทั้ง Facebook, Twitter, TikTok, Instagram และแพลตฟอร์มอื่นๆ" เอทีโอกล่าวในเดือนมกราคม

"บัญชีปลอมเหล่านี้ขอให้ประชาชนผู้ที่โต้ตอบกับเอทีโอ ส่งข้อความโดยตรงถึงพวกเขา เพื่อให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือเกี่ยวกับสิ่งที่ประชาชนซักถาม ผู้ที่อยู่เบื้องหลังบัญชีปลอมเหล่านี้กำลังพยายามขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์ อีเมล และข้อมูลบัญชีธนาคาร "
เอทีโอกล่าวว่าวิธีที่ดีที่สุดในการยืนยันว่าบัญชีโซเชียลมีเดียนั้นเป็นบัญชีอย่างเป็นทางการคือ ให้ตรวจสอบจำนวนผู้ติดตามบัญชีนั้น (followers) บัญชีนั้นมีจำนวนการโพสต์เท่าไร และตรวจสอบให้แน่ใจว่าที่อยู่อีเมลที่ให้คุณมานั้นลงท้ายด้วย '.gov.au'

“ช่องทางโซเชียลมีเดียของเราเปิดดำเนินการมาราว 10 ปีแล้ว – หากเป็นบัญชีที่สร้างขึ้นใหม่หรือมีโพสต์เพียงเล็กน้อย ก็แสดงว่าไม่ใช่เรา” เอทีโอระบุ

การหลอกลวงว่ามีบ้านให้เช่า

ขณะที่ออสเตรเลียกำลังเผชิญวิกฤตด้านที่อยู่อาศัย คุณอาจถูกล่อใจให้ฉวยโอกาสใดๆ ที่จะให้คุณได้บ้านเช่าอย่างแน่นอน

แต่เพื่อจะได้แน่ใจอย่างไม่มีข้อสงสัยว่า บ้านเช่าที่คุณสนใจเช่านั้นมีอยู่จริงและให้เช่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย Scamwatch แนะนำให้คุณไปตรวจสอบบ้านเช่าหลังนั้นก่อนที่จะจ่ายเงินใดๆ ไป

นอกจากนี้ ยังแนะนำให้ตรวจสอบว่า ที่พักให้เช่านี้ประกาศหาคนเช่าในพื้นที่โฆษณาหลายๆ แห่งหรือไม่ และรายละเอียดการติดต่อนั้นเหมือนกัน เนื่องจากมิจฉาชีพมัก "ขโมยรูปภาพจากเว็บไซต์ที่พักให้เช่าของจริง"

การหลอกลวงโดยอ้างชื่อ Telstra และ Optus

ผู้คนในออสเตรเลียยังถูกหลอกลวงทางอีเมลที่อ้างว่ามาจากบริษัทโทรคมนาคม ตามข้อมูลของ ACMA

ACMA กล่าวว่าลูกค้าของเทลสตรา (Telstra) ควรระวังอีเมลที่พวกเขาไม่ได้คาดว่าจะได้รับ ซึ่งขอพวกเขาให้กรอกแบบฟอร์ม 'Know Your Customer' (รู้จักลูกค้าของคุณ) เพื่อหลีกเลี่ยงการบริการหยุดชะงักหรือบริการถูกยกเลิก

"หากคุณได้รับอีเมลนี้ อย่าดาวน์โหลดหรือเปิดไฟล์แนบหรือลิงก์ใดๆ ในข้อความ" ACMA กล่าว

"หากคุณสงสัยว่าอีเมลที่คุณได้รับจากเทลสตรา (Telstra) เป็นของแท้หรือไม่ โปรดติดต่อเทลสตรา ผ่านรายละเอียดการติดต่อที่เปิดเผยต่อสาธารณะหรือแอปฯ ที่ได้รับการยืนยัน"

คำแนะนำนี้ยังใช้ได้กับทุกคนที่ได้รับอีเมลที่ถูกอ้างว่ามาจากออปตัส (Optus) ซึ่งขอให้คลิกลิงก์เพื่ออัปเดตหรือยืนยันรายละเอียดของพวกเขาเพื่อ "เหตุผลด้านความปลอดภัย"

ACMA กล่าวว่าตัวอย่างอื่นๆ ของการหลอกลวงทางอีเมลออปตัส (Optus) นั้นรวมถึงการแจ้งเตือนการชำระเงิน ซึ่งคุณจะถูกขอให้คลิกลิงก์เพื่อชำระใบเรียกเก็บเงินที่ค้างชำระหรืออัปเดตวิธีการชำระเงินของคุณ

“ในบรรดาข้อความหลอกลวงทั้งหมดเหล่านี้สิ่งที่พบร่วมกันคือความรู้สึกเร่งด่วน — ซึ่งหากคุณไม่ดำเนินการโดยเร็ว บัญชีของคุณจะถูกปิดหรือถูกระงับ หรือบริการของคุณจะถูกตัดขาด” ACMA ระบุ

"การหลอกลวงเหล่านี้ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของคุณ ออปตัสแจ้งว่าบริษัทจะไม่ขอข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของคุณทางอีเมลหรือทางข้อความทางโทรศัพท์มือถือ"

การหลอกลวงด้านการจัดหางาน

ในเดือนสุดท้ายของปีที่แล้ว ACCC พบว่ามีการ "เพิ่มขึ้นอย่างมาก" ทั้งสำหรับกรณีที่มีผู้แจ้งเข้ามาและความสูญเสียที่เกี่ยวกับการหลอกลวงด้านการจัดหางาน

การหลอกลวงประเภทนี้มักเกี่ยวข้องกับบุคคลที่แสร้งทำเป็นว่ากำลังมองหาลูกจ้างให้แก่บริษัทที่มีชื่อเสียงและแพลตฟอร์มการช็อปปิ้งออนไลน์ และแอบอ้างเป็นบริษัทจัดหางานที่มีชื่อเสียง

มิจฉาชีพมักจะขอเงินเพื่อแลกกับการรับประกันรายได้ Scamwatch กล่าว

"หากคุณกำลังหางานและคุณได้รับข้อเสนอให้ทำงานที่ต้องใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยเพื่อแลกกับค่าตอบแทนเป็นเงินก้อนใหญ่ ก็เป็นไปได้มากว่าเป็นการหลอกลวง" คุณ เดเลีย ริกการ์ด รองประธาน ACCC กล่าว

"ซึ่งอาจรวมถึงการคลิกปุ่มบนเว็บไซต์หรือในแอปฯ ซ้ำๆ เพื่อซื้อผลิตภัณฑ์หรือส่งรีวิวสินค้าและบริการ"

การหลอกลวงใน Facebook Marketplace

ผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดียได้รายงานถึงสแกมเมอร์ที่ใช้ PayID เพื่อหลอกผู้ขายของบนเฟซบุ๊ก มาร์เก็ตเพลส (Facebook Marketplace)

ธนาคาร Heritage Bank ได้แจ้งเตือนลูกค้าในเดือนมกราคมเกี่ยวกับวิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพออนไลน์

ธนาคารระบุว่า ผู้ซื้อที่เล่นไม่ซื่อเหล่านี้จะบอกกับผู้ขายว่า พวกเขาไม่สามารถไปพบกับผู้ขายได้ด้วยตนเอง แต่จะให้ญาติหรือเพื่อนของพวกเขาจะไปพบและรับสินค้าแทน

"จากนั้นสแกมเมอร์จะส่งอีเมล PayID ปลอมไปให้ผู้ขาย" ธนาคารกล่าว

"อีเมลปลอมนี้จะระบุว่ามีปัญหาในการรับเงินเนื่องจากมีข้อจำกัดสำหรับ PayID ในบัญชีที่ไม่ใช่บัญชีของธุรกิจ”

“ผู้ขายต้องโอนเงินก่อนเพื่อเพิ่มวงเงิน PayID เพื่อให้สามารถรับการชำระเงินได้ ทันทีที่ดำเนินการเสร็จสิ้น พวกเขาจะได้รับคำมั่นว่าจะได้รับเงินนั้นคืนและได้รับเงินที่ผู้ซื้อชำระ”

"แต่ความจริงแล้ว ผู้ขายที่ไม่ได้เฉลียวใจกลับถูกหลอกให้จ่ายเงินให้แก่นักต้มตุ๋น"

กลอุบายเดียวกันนี้ยังถูกใช้ในตลาดซื้อขายออนไลน์ Gumtree อีกด้วย

การหลอกลวงเกี่ยวกับยาลดน้ำหนัก

นักต้มตุ๋นออนไลน์กำลังพยายามใช้ประโยชน์จากความต้องการ Ozempic ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงยาช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานเท่านั้น แต่ยังถูกผู้อื่นนำไปใช้ “นอกข้อบ่งใช้ยา” เพื่อลดน้ำหนักอีกด้วย

องค์กรผู้ควบคุมผลิตภัณฑ์สุขภาพของออสเตรเลีย (Therapeutic Goods Administration หรือ TGA) กล่าวกับ The Feed ว่าการหลอกลวงประเภทนี้หลอกให้ผู้คนป้อนรายละเอียดส่วนตัวหรือรายละเอียดการชำระเงินออนไลน์เพื่อซื้อสินค้าที่ไม่มีอยู่จริง

ทีจีเอกล่าวว่ากำลังตรวจสอบบางเว็บไซต์ที่อ้างว่าขายเซมาลูไทด์ ที่ซื้อขายในชื่อ Ozempic โดยมีรายงานว่าลูกค้าไม่ได้รับผลิตภัณฑ์เลย หรือพบว่าสิ่งที่พวกเขาได้รับเป็นยาทางเลือกหรือยาทดแทน
การโฆษณาของ Ozempic ถูกห้ามในออสเตรเลีย โดยทีจีเอระบุว่าประชาชนควรหาซื้อยาจากร้านขายยาเท่านั้น โดยจะต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

หากต้องการแจ้งการถูกหลอกลวงและหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีขอความช่วยเหลือ ให้ไปที่ www.scamwatch.gov.au

รายงานเพิ่มเติมโดย Jessica Bahr, Stephanie Corsetti และ Tom Canetti

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 3 April 2023 4:00pm
By Amy Hall
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand