ไวรัสโคโรนา: มีกลไกการทำงานและแพร่เชื้ออย่างไร?

NEWS: มีประชาชนอย่างน้อย 170 รายที่เสียชีวิตในประเทศจีน จากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ต่างเร่งมือหาข้อมูลว่าเชื้อนี้มีกลไกการทำงานอย่างไร

An illustration of the 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV), which first emerged in Wuhan, China.

An illustration of the 2019 Novel Coronavirus (2019-nCoV), which first emerged in Wuhan, China. Source: Centers for Disease Control and Prevention

ไวรัสโคโรนานี้มีอันตรายต่อร่างกายขนาดทำให้ตายได้มากน้อยแค่ไหน และเป็นเชื้อที่ติดกันได้ง่ายหรือไม่

อาการของเชื้อจะปรากฏเมื่อไร และผู้มีเชื้อสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่บุคคลอื่นก่อนที่ตนเองจะมีอาการปรากฏหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญต่างกำลังพุ่งความสนใจไปยังประเด็นเหล่านี้ และคำถามอื่นๆ ที่เกี่ยวกับไวรัสโคโรนา แต่ขณะนี้ยังไม่มีคำตอบที่แน่ใจ

ยอดผู้เสียชีวิตจนถึงขณะนี้

จนถึงวันพฤหัสบดี ที่ 30 ม.ค.2020 พบผู้ที่ได้รับการยืนยันแล้วว่าติดเชื้อ 7,700 คนในประเทศจีน ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเชื้อนี้ โดยมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อนี้ไปแล้วอย่างน้อย 170 ราย

ไวรัสโคโรนาแพร่กระจายจากเมืองอู่ฮั่นไปทั่วประเทศจีน และข้ามไปยังประเทศอื่นๆ อีก 15 ประเทศ โดยมีรายงานการพบผู้มีเชื้อนี้ราว 60 กรณี ในทวีปเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และเมื่อเร็วๆ นี้ ในตะวันออกกลางด้วย

แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีรายงานการเสียชีวิตจากเชื้อนี้นอกประเทศจีน

เชื้อนี้ ที่ถูกตั้งชื่ออย่างเป็นทางการว่า 2019-nCoV เป็นส่วนหนึ่งของเชื้อไวรัสในกลุ่มตระกูลโคโรนา ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคระบาดที่อันตรายถึงตายมาแล้ว 2 ครั้งก่อนหน้านี้
การระบาดของโรคซาร์ส (SARS หรือ กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลัน) ที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2002/2003 เริ่มขึ้นในมณฑลกวางตุ้งของจีน และคร่าชีวิตผู้คนไป 774 รายจากจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด 8,096 ราย

ในปี 2012 มีการระบาดของโรคเมอร์ส (MERS หรือโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง) ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตไป 858 ราย จากผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,494 ราย

อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากเชื้อทั้งสองนี้ อยู่ที่ 9.5 สำหรับโรคซาร์ส และ 34.5 สำหรับโรคเมอร์ส ซึ่งเป็นอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้อย่างมาก
Passengers arriving at airport wearing masks
Passengers arriving at an airport wearing masks. Source: EPA
นายไมเคิล ไรอัน ผู้อำนวยการด้านการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก กล่าวเมื่อวันพฤหัสบดี (30 ม.ค.) ว่ามีเพียงราวร้อยละ 2 ของผู้ได้รับการยืนยันว่ามีเชื้อนี้ ที่เสียชีวิต

“อัตราการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อที่ร้อยละ 2 นั้นยังถือว่าเป็นอัตราป่วยตาย (case fatality rate) ที่สูงอยู่ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราของเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล หรือเชื้ออื่นๆ” นายไรอัน เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลก กล่าว

ติดเชื้อกันได้ง่ายเพียงไร

การคาดการณ์ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาติดกันได้ง่ายเพียงใดนั้น มีทั้งแต่ค่าระดับการติดเชื้อพื้นฐาน (base reproduction rate) ระหว่าง 1.4 และ 3.8 โดยเป็นอัตราการแพร่เชื้อจากคนไข้หนึ่งคนไปยังคนอื่นๆ จากข้อมูลของ ศ.เดวิด ฟิซแมน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโตรอนโต

ขณะเดียวกัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย อิมพีเรียล คอลเลจ ในประเทศอังกฤษ คาดว่าผู้มีเชื้อไวรัสโคโรนาแต่ละคนสามารถแพร่เชื้อไปติดยังคนอื่นได้โดยเฉลี่ย 2.6 คน ส่งผลให้เชื้อนี้ติดต่อกันได้ง่ายพอๆ กับการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ประจำปี

ผลการศึกษาเชื้อนี้ ที่ตีพิมพ์เมื่อวันพุธ ในวราสารด้านการแพทย์นิว อิงแลนด์ ระบุว่า ระยะเวลาระหว่างการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรนา จนกระทั่งผู้ติดเชื้อแสดงอาการนั้น โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 5.2 วัน

องค์กรด้านสาธารณสุขต่างๆ ของฝรั่งเศส และประเทศอื่นๆ กำหนดระยะเวลาการแยกผู้สงสัยว่ามีเชื้อออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ ไว้ที่ 14 วัน สำหรับพลเมืองของตนและบุคคลอื่นๆ ที่เดินทางมาจากพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

มันจะเริ่มแพร่เชื้อได้เมื่อใด

นี่เป็นคำถามสำคัญที่ยังคงไม่มีคำตอบ

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (26 ม.ค.) นายหม่า เสียวเว่ย หัวหน้าคณะกรรมาธิการด้านสุขภาพแห่งชาติของจีน กล่าวว่า การแพร่เชื้อไวรัสโคโรนานั้นเป็นไปได้ก่อนที่จะมีการแสดงอาการให้เห็น ระหว่างที่เชื้อกำลังอยู่ในระยะฟักตัว
coronavirus
Medical staff work at Wuhan Jinyintan hospital in Wuhan City. Source: EPA
ลักษณะดังกล่าวนี้เป็นเช่นเดียวกันกับเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล แต่เป็นลักษณะที่แตกต่างจากเชื้อโรคซาร์ส

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่ม รวมทั้ง ศ.มาร์ก วูลเฮาส์ อาจารย์ด้านระบาดวิทยาของโรคติดเชื้อ ของมหาวิทยาลัยเอดินบะระ กล่าวว่า ยังเร็วเกินไปที่จะสรุปได้ว่า เชื้อนี้แพร่กระจายได้ตั้งแต่ตอนที่ผู้มีเชื้อไม่แสดงอาการของโรค

การติดเชื้อที่แพร่จากคนสู่คน

เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ เชื่อกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากสัตว์ป่า โดยอาจเป็นค้างคาว แต่ขณะนี้แพร่กระจายจากคนสู่คน

กรณีการติดเชื้อจากคนสู่คนเกือบทั้งหมดเกิดขึ้นในประเทศจีน และยังมีกรณีการติดเชื้อในรูปแบบนี้ไม่มากนักเกิดขึ้นในเวียดนาม เยอรมนี และญี่ปุ่น

“ในทั่วโลกแล้ว มีเพียงไม่กี่กรณีโดดๆ ของการติดเชื้อระดับทุติยภูมิ (ของคนที่ไม่ได้เดินทางไปยังจีน)” นายสตีเฟน มอร์ริสัน จากศูนย์ด้านยุทธศาสตร์และนานาชาติศึกษา ในกรุงวอชิงตัน กล่าว

แต่เขาเตือนว่า มีความเสี่ยงของการระบาดระดับทุติยภูมิ (secondary outbreaks) ของเชื้อนี้ในประเทศที่มีความมั่นคงด้านสุขภาพจำกัด

อาการของเชื้อเป็นอย่างไร

จากผลการศึกษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 99 ราย ที่เผยแพร่ออกมาในวราสาร เดอะ แลนเซต เมื่อวันพุธ (29 ม.ค.) พบว่า ครึ่งหนึ่งของกรณีการติดเชื้อเกิดกับประชาชนที่มีอาการป่วยเรื้อรังอยู่แล้ว เช่น เป็นโรคหัวใจ และเบาหวาน

ผู้ป่วยทั้งหมดมีอาการปอดบวม ทั้งหมดมีไข้ และร้อยละ 80 มีอาการไอ และกว่าครึ่งหนึ่งมีอาการหายใจลำบาก

แต่การจะระบุชี้อาการของไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญนั้น ยากลำบาก เนื่องจากการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และมีอาการของโรคเหมือนกัน
Fake coronavirus news is spreading on social media.
There has been claim that fake coronavirus news is spreading on social media. Source: Getty
การศึกษาวิจัยอีกโครงการหนึ่ง ระบุชี้ การจัดลำดับชุดของดีเอ็นเอ ที่บรรจุอยู่ในทุกๆ เซลล์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ ที่นำมาจากผู้ป่วย 9 ราย และพบว่ามีความเหมือนกันจนเกือบเป็นตัวเดียวกัน (มีความเหมือนกันร้อยละ 99.98)

เวยเฟง ชี จากมหาวิทยาลัยชานตง กล่าวว่า นี่ชี้ว่าเชื้อไวรัสโคโรนาถือกำเนิดมาจากต้นกำเนิดเดียว และถูกตรวจพบได้ค่อนข้างรวดเร็วหลังจากนั้น

“แต่อย่างไรก็ตาม หากเชื้อไวรัสนี้แพร่กระจายจากคนไปสู่คนมากขึ้น ก็จำเป็นจะต้องมีการเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลาว่าอาจมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้น” คุณเวยเฟง ชี กล่าว

การหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ

องค์การด้านสุขภาพต่างๆ และนักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ทำได้ด้วยมาตรการมาตรฐานเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสอย่างทั่วๆ ไป ได้แก่ การล้างมือของเราบ่อยๆ การปิดปากเมื่อไอหรือจาม และพยายามอย่าใช้มือจับบริเวณใบหน้าของเรา

ผู้ใดที่ติดเชื้อไวรัสนี้ ควรต้องการแยกตัวออกจากผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ

จากการที่ผู้ป่วยโรคซาร์สและเมอร์สจำนวนมากติดเชื้อในสถานที่ดูแลด้านสุขภาพ จึงจำเป็นต้องมีมาตรการป้องกันเพื่อไม่ให้เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นซ้ำรอย ทีมนักวิทยาศาสตร์จีน เตือนในวราสารแลนเซตเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share
Published 31 January 2020 10:55am
Updated 31 January 2020 2:51pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand