เหตุใดผู้เชี่ยวชาญจึงเตือนว่าเราไม่ควรชะล่าใจเกี่ยวกับโอมิครอน

ขณะที่เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพต่างอธิบายว่าเหตุใดเราจึงควรพยายามหลีกเลี่ยงการติดเชื้อ แม้ว่าจะมีการกล่าวกันว่าเชื้อสายพันธุ์นี้ทำให้เกิดอาการป่วยที่ไม่รุนแรงก็ตาม

An artwork depicting a man wearing a mask as he checks in using a QR code.

An artwork depicting a man wearing a mask as he checks in using a QR code. Source: SBS News

เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่แพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เกิดอาการป่วยไม่รุนแรงเท่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ จึงทำให้คนไม่น้อยมีความคิดที่ว่าขณะนี้โควิด-19 มีอันตรายน้อยกว่าในอดีต

นี่ทำให้บางคนตั้งคำถามว่า เหตุใดจึงต้องพยายามอย่างมากมายเพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อในตอนนี้ เพราะทุกคนจะต้องติดเชื้อไม่ช้าก็เร็ว

แต่นี่คือเหตุผลที่ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์กล่าวว่า นี่ไม่ใช่เวลาที่จะชะล่าใจเกี่ยวกับเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน

เรายังคงมีโอกาสป่วยหนักได้

การวิจัยชี้ว่าโอมิครอนอาจมีแนวโน้มที่นำไปสู่การติดเชื้อโควิด-19 แต่ไม่แสดงอาการมากกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ สำหรับผู้ที่มีอาการนั้น มีสัดส่วนสูงขึ้นที่จะมีอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อย เช่น เจ็บคอหรือน้ำมูกไหล โดยไม่มีอาการหายใจลำบากอย่างที่พบโดยทั่วไปในการติดเชื้อก่อนหน้านี้

แต่การแพร่ระบาดอย่างเหนือธรรมดาของเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในหลายประเทศหมายความว่า ถ้าดูตามจำนวนจริงแล้ว ผู้คนจำนวนมากขึ้นที่จะประสบกับอาการป่วยที่ร้ายแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อมูลล่าสุดจากอิตาลีและเยอรมนีแสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะต้องรักษาตัวในโรงพยาบาล ในห้องดูแลผู้ป่วยวิกฤต และมีความเสี่ยงมากกว่าที่จะเสียชีวิต

"ฉันเห็นด้วยว่า ไม่ช้าก็เร็วทุกคนก็จะติดเชื้อ แต่ติดทีหลังจะดีกว่า" คุณ มิเชล นุสเซนซ์ไวก์ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจากมหาวิทยาลัยร็อกกีเฟลเลอร์ (Rockefeller University) กล่าว
ทำไมนะหรือ? เพราะในภายหลังเราจะมียารักษาที่ดีขึ้นและหาง่ายขึ้น และจะมีวัคซีนที่ดีขึ้นด้วย

เราอาจนำเชื้อไปติดคนอื่นได้

เราอาจป่วยเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่เราสามารถแพร่เชื้อไวรัสไปสู่คนอื่นที่เสี่ยงต่อการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงได้ แม้ว่าเราจะมีแอนติบอดีจากการติดเชื้อครั้งก่อนหรือจากการฉีดวัคซีนก็ตาม คุณอะกิโกะ อิวะซะกิ ผู้ศึกษาด้านภูมิคุ้มกันวิทยาจากไวรัส ที่มหาวิทยาลัยเยล กล่าว

ยังไม่มีใครรู้แน่ชัดถึงผลกระทบระยะยาวของโอมิครอน

การติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ รวมถึงการติดเชื้อที่อาการไม่รุนแรงและกรณีติดเชื้อแม้จะฉีดวัคซีนแล้ว บางครั้งทำให้เกิดกลุ่มอาการโควิด-19 ระยะยาว (long-haul COVID syndrome) ที่ทำให้ร่างกายอ่อนเปลี้ยเรื้อรัง “เรายังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับสัดส่วนของจำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนที่ลงเอยด้วยอาการโควิดระยะยาว (Long COVID)” คุณอะกิโกะ อิวะซะกิ กล่าว
คนที่ดูถูกสายพันธุ์โอมิครอนว่า 'ไม่รุนแรง' กำลังทำให้ตนเองเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายอ่อนเปลี้ยเรื้อรัง ซึ่งอาจมีอาการได้เป็นเดือนหรือหลายปี
นอกจากนี้ ยังไม่ชัดเจนว่าโอมิครอน จะมีผลกระทบที่ “ซ่อนอยู่อย่างเงียบๆ” อย่างที่เห็นในเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ เช่น แอนติบอดีที่โจมตีตัวเอง มีความผิดปกติของอสุจิ และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ที่ผลิตอินซูลิน

มีคนติดเชื้อมากขึ้นหมายถึงมีสายพันธุ์ใหม่เพิ่มขึ้น

โอมิครอนเป็นเชื้อสายพันธุ์ที่มีนัยสำคัญอย่างยิ่งตัวที่ห้าของเชื้อ SARS-COV-2 ดั้งเดิม และยังคงต้องจับตาดูว่าความสามารถของเชื้อไวรัสชนิดนี้ในการกลายพันธุ์ต่อไปอีกจะช้าลงหรือไม่

อัตราการติดเชื้อที่สูงยังทำให้เชื้อไวรัสชนิดนี้มีโอกาสกลายพันธุ์มากขึ้น และไม่รับประกันว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะมีพิษสงน้อยกว่าเชื้อสายพันธุ์ก่อนหน้า

"เชื้อ SARS-CoV-2 ทำให้เราประหลาดใจในหลายๆ ด้านในช่วงสองปีที่ผ่านมา และเราไม่มีทางที่จะคาดเดาวิถีวิวัฒนาการของไวรัสชนิดนี้ได้เลย" ศ.เดวิด โฮ ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยาและภูมิคุ้มกันวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าว


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 17 January 2022 11:05am
Updated 17 January 2022 12:23pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: Reuters, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand