เด็กๆ สามารถฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่จันทร์ที่ 10 ม.ค.

A girl after having her vaccine

A girl after having her vaccine Source: Pexels/CDC

ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมเป็นต้นไป เด็กๆ ในออสเตรเลียที่มีอายุระหว่าง 5-11 ปีสามารถรับวัคซีนไฟเซอร์ได้ หน่วยงานที่ปรึกษาด้านการสร้างภูมิคุ้มกันในออสเตรเลียยืนยันวัคซีนปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์อยากให้เด็กๆ ได้รับวัคซีนก่อนเริ่มเข้าเรียนในปีการศึกษานี้ แม้การฉีดวัคซีนจะไม่เป็นสิ่งบังคับ


กดฟังสัมภาษณ์
LISTEN TO
Children eligible for vaccine from Monday Jan 10 image

เด็กๆ สามารถฉีดวัคซีนได้ตั้งแต่จันทร์ที่ 10 ม.ค.

SBS Thai

10/01/202209:12
คุณไฟซา มาฮาด (Faiza Mahat) คุณแม่ลูกสี่ชาวโซมาเลีย ตั้งตารอให้ลูกๆ ที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาของเธอได้รับวัคซีน
สองสามเดือนที่ผ่านมา เราเห็นเด็กๆ หลายคนติดเชื้อไวรัสเพราะเห็นได้ชัดว่าพวกเขาไม่ได้รับวัคซีน และเพราะว่าวัคซีนสามารถปกป้องคุณได้จากการเจ็บป่วย มันเป็นโอกาสที่ดี ฉันอดทนรอแทบไม่ไหวที่จะให้ลูกๆ ของฉันได้รับวัคซีน
ซาฟา (Safa) ลูกสาววัย 8 ขวบของเธอหวังว่าการได้รับวัคซีนหมายถึงการที่ไม่ต้องหยุดเรียน แต่เธอยังไม่แน่ใจในเรื่องการฉีดวัคซีน

“กลัวนิดหน่อยค่ะ แต่หนูจะพยายามกล้าเข้าไว้ เพราะคุณไม่มีทางรู้ว่าคุณจะติดโควิดเมื่อไหร่ และคุณต้องตรวจเชื้อเพราะคุณสามารถติดเชื้อได้ทุกเมื่อ”
คุณลอร่า โอเชีย (Laura O’Shea) หัวหน้าโครงการตอบสนองต่อความเสี่ยงในระดับสูง (High Risk Accommodation Response Project) กล่าวว่า การสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กอายุระหว่าง 5-11 ปี เป็นขั้นตอนที่สำคัญ
การฉีดวัคซีนสองโดสสำหรับผู้ใหญ่เป็นเครื่องมือในการลดจำนวนการแพร่ระบาดลง แต่น่าเสียดายที่เรามักเห็นเด็กในวัยเรียนติดเชื้อในโรงเรียนทั่วออสเตรเลีย เด็กๆ ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด เพราะพวกเขาไม่สามารถรับวัคซีนได้
ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคมเป็นต้นไป เด็กที่มีอายุระหว่าง 5-11 ปี สามารถรับวัคซีนไฟเซอร์เพื่อป้องกันโควิด-19 ได้ พวกเขาจะได้รับวัคซีนเป็นจำนวนสองโดส ห่างกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยวัคซีนมีปริมาณหนึ่งในสามของโดสที่อนุมัติฉีดให้ผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป

คุณโอเชีย กล่าวว่าทีมของเธอพร้อมดำเนินการอีกครั้ง โดยศูนย์การแพทย์มีพนักงาน 20 คนที่สามารถพูดได้มากกว่า 15 ภาษา ที่จะคอยช่วยเหลือทุกครอบครัวตลอดกระบวนการฉีดวัคซีน

“เพื่อช่วยให้ข้อมูลในภาษาต่าง ๆ โดยเจ้าหน้าที่ของเรา ที่เข้าใจถึงความกังวลในแต่ละกลุ่มชุมชนจากต่างวัฒนธรรม เราจะช่วยพวกเขาเมื่อพวกเขาเข้ามาหาเรา เจ้าหน้าที่เป็นแหล่งข้อมูลของเรา และพวกเขามีกลยุทธ์ต่างๆ ตามแต่ละกลุ่มชุมชน เพราะความกังวลที่พวกเขามีในบางครั้งแตกต่างกันเล็กน้อย”

สหพันธ์สภาชุมชนหลากหลายชาติพันธุ์แห่งออสเตรเลีย (The Federation of Ethnic Communities Councils of Australia – FECCA) กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือกลุ่มชุมช   นที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษาทั่วประเทศได้รับข้อมูลที่เชื่อถือได้และเข้าใจง่ายเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนสำหรับเด็กอายุระหว่าง 5-11 ปี ในภาษาของพวกเขา

“ชุมชนต่างๆ ต้องการการมีส่วนร่วมที่แตกต่างกัน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการใช้ทุกเครือข่าย สมาชิกทั้งหมดของเรา เพื่อให้ความช่วยเหลือชุมชนแต่ละท้องถิ่นนั้นสำคัญ ชุมชนท้องถิ่นรู้จักพวกเขาดีที่สุด รู้ว่าปัญหาคืออะไร และไม่มีสิ่งใดสำคัญไปกว่าการให้ความช่วยเหลือทางด้านภาษา”

แพทย์หญิงมาร์จี แดนชิน (Margie Danchin) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างภูมิคุ้มกันที่โรงพยาบาลเด็กในราชอุปถัมภ์ (Royal Children’s Hospital) อยากเห็นเด็กๆ ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 เร็วที่สุด ก่อนที่จะเริ่มการศึกษาในปีนี้
สิ่งสำคัญคือเด็กอายุระหว่าง 5-11 ปีได้รับวัคซีน เพื่อให้การติดเชื้อไม่รุนแรงและมีสัดส่วนของเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นจำนวนน้อย เราไม่อยากให้เด็กๆ ติดโควิดหรือป่วยหนัก และสิ่งสำคัญที่สุดคือผลประโยชน์ทางอ้อมของการลดการแพร่เชื้อในบ้าน ในชุมชนและในโรงเรียน และเพื่อให้เด็กๆ สามารถไปโรงเรียนได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องกักตัวที่บ้านหรือติดเชื้อโควิดจากโรงเรียน
ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า สิ่งสำคัญสำหรับเด็กที่เป็นโรคหอบหืดคือการได้รับวัคซีน เพราะการติดเชื้อสามารถทำให้อาการกำเริบได้ การฉีดวัคซีนแก่เด็กอายุระหว่าง 5-11 ปีเริ่มให้บริการแล้วในบางประเทศแถบยุโรป สหรัฐอเมริกาและแคนาดา ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ปวดแขน ปวดศีรษะ เหนื่อยล้าและหนาวสั่น

“อาการข้างเคียงเหล่านั้นเกิดขึ้นน้อยในกลุ่มวัยรุ่น แต่อาการข้างเคียงระดับรุนแรงที่พบได้น้อย ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจตายหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ พบได้ในกลุ่มวัยรุ่นและคนหนุ่มสาว”
The Dran Family
ครอบครัวที่รอพาเด็กๆ ไปฉีดวัคซีน Source: SBS/Phillippa Carisbrooke
ในออสเตรเลีย วัคซีนมีให้บริการในคลินิกแพทย์ทั่วไป (GP) ร้านขายยา และศูนย์ฉีดวัคซีนของรัฐและมณฑล เด็กๆ นั้นอาจกังวลกับการฉีดวัคซีน

แพทย์หญิงแอนเทีย โรดส์ (Anthea Rhodes) กุมารแพทย์ที่โรงพยาบาลเด็กในราชนูปถัมภ์ ในเมลเบิร์น ให้เคล็ดลับในการพาเด็กๆ ไปฉีดวัคซีน

“เด็กๆ จะรู้สึกกังวลน้อยลงหากพวกเขาได้รับข้อมูลที่ดีและมั่นใจ ดังนั้นควรพูดคุยกับเขา เช่น วันที่คุณจะพาเขาไปฉีดวัควีน ที่ไหน ใครจะพาพวกเขาไป ที่สำคัญคือการพูดคุยแบบตรงไปตรงมา แต่อย่าทำให้เด็กๆ หวาดกลัวกับข้อมูล พูดถึงวัคซีนว่าอาจจะรู้สึกเหมือนถูกหยิกหรือถูกจิ้ม แต่จะหายได้เร็ว ไม่ควรใช้คำว่า เจ็บ หรือถูกจิ้ม เพราะบางครั้งสิ่งเหล่านั้นน่ากลัวสำหรับเด็กๆ และเป็นความคิดที่ดีเสมอที่จะพูดถึงรางวัล และการต้องมาฉีดวัคซีนนี้มากกว่าหนึ่งครั้ง และนี่เป็นเวลาที่การให้ลูกอมเป็นเรื่องโอเค”

การฉีดวัคซีนสำหรับเด็กที่ทุพพลภาพหรือเด็กพิเศษอาจเป็นเรื่องท้าทาย แพทย์หญิงโรดส์กล่าวว่ามีความช่วยเหลือสำหรับเด็กๆ

“พวกเขาอาจมีปัญหากับการกระตุ้นหรือประสาทสัมผัส เช่น เด็กออทิสติกอาจรู้สึกเครียดหรือมีปัญหากับการฉีดวัคซีน มีทางเลือกอื่นสำหรับเรื่องกระตุ้นประสาทสัมผัส สิ่งสำคัญคือผู้ปกครองควรพูดคุยกับแพทย์ทั่วไป  (GP)  หรือที่ที่จะไปฉีดวัคซีนแต่เนิ่นๆ  เพื่อความมั่นใจว่าการฉีดวัคซีนจะเป็นไปในทางที่ละมุนละม่อมและระมัดระวัง”


เด็กๆ ที่กลัวเข็มอาจมีบริการที่เบี่ยงเบนความสนใจได้ เช่น การใส่ชุดหูฟัง
สำหรับเด็กที่กลัวเข็มมากๆ พวกเขาสามารถขอรับบริการ เพื่อรับยาระงับประสาทในการฉีดวัคซีน หากจำเป็น

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand