ผู้หญิงอายจนไม่ไปตรวจมะเร็งปากมดลูก

NEWS: ความรู้สึกกระดากใจและความเขินอายอาจหยุดยั้งไม่ให้ออสเตรเลียกลายเป็นประเทศแรกในโลก ที่กำจัดมะเร็งปากมดลูกได้สำเร็จ รายงานล่าสุดเผย

การที่ผู้หญิงพูดคุยกันเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกจะช่วยกำจัดความเชื่อผิดๆ และความไม่เข้าใจได้ (Pixabay)

การที่ผู้หญิงพูดคุยกันเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกจะช่วยกำจัดความเชื่อผิดๆ และความไม่เข้าใจได้ Source: Pixabay

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English

ออสเตรเลียอาจเป็นประเทศแรกในโลกที่กำจัดมะเร็งปากมดลูกให้หมดไปได้สำเร็จภายในปี 2035 หากมีผู้หญิงน้อยลงที่รู้สึกกระดากใจจนไม่กล้าไปรับการตรวจคัดกรองโรค ซึ่งอาจช่วยชีวิตพวกเธอได้

การวิจัยโครงการใหม่ของมูลนิธิมะเร็งปากมดลูกแห่งออสเตรเลีย ที่เผยแพร่ออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว พบว่ามีผู้หญิง 1 ใน 3 ที่ผัดผ่อนการไปรับการตรวจมะเร็งปากมดลูก เพราะคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ “น่าเคอะเขิน” ขณะที่ 1 ใน 4 รู้สึก “อาย”

ร้อยละ 10 รู้สึกวิตกว่าพวกเธอ “ไม่ปกติในช่วงล่าง” ขณะที่ร้อยละ 8 รู้สึกกังวลว่าพวกเธอ อาจมีกลิ่นหรือไม่ได้ดูแล “ส่วนล่าง” อย่างเพียงพอ

การวิจัยที่ว่านี้ได้รับการเผยแพร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการรณรงค์ cerFIX2035 ของมูลนิธิ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดโรคมะเร็งปากมดลูกให้หมดไปภายในปี 2035

"การกำจัดให้หมดไปนั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม ซึ่งนั่นน่าตื่นเต้นมาก และเป็นสิ่งที่ทำให้สำเร็จได้" น.พ. โจ ทูมา ซีอีโอ ของมูลนิธิ กล่าวในแถลงการณ์

เพื่อทำให้เป้าหมายนี้เป็นจริง จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอัตราการไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกให้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 50 ให้มากขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 70 น.พ.ทูมา ระบุ

อัตราการให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่โรงเรียนต่างๆ ซึ่งขณะนี้อยู่ในอัตราสูงจะต้องรักษาให้อยู่ในระดับเช่นนี้ต่อไปด้วย

พญ.จินนี แมนสเบิร์ก หวังว่าโครงการรณรงค์นี้ก่อให้เกิดการสนทนาพูดคุยกัน

“เป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องพูดคุยกันต่อไปเกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรค และคุณค่าของมันที่ทำให้เราสามารถพูดคุยกันเรื่องนี้ได้อย่างปกติ ช่วยกำจัดมายาคติที่พบบ่อย และที่สำคัญที่สุด คือช่วยกระตุ้นกันและกันให้ไปรับการตรวจ” พญ.แมนสเบิร์ก กล่าว

“เป็นเรื่องธรรมดาที่จะรู้สึกไม่สบายตัวขณะตรวจ โดยผู้หญิงร้อยละ 40 บอกกับเราว่ารู้สึกเช่นนั้น นั่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อนฝูงที่เคยผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว เพื่อจะได้เข้าใจมากขึ้นว่าจะคาดหวังอะไรเกี่ยวกับการตรวจ”

ในเดือนธันวาคม 2017 การตรวจแปปสเมียร์ถูกแทนที่ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งกำหนดให้ต้องได้รับการตรวจทุก 5 ปี แทนที่จะต้องรับการตรวจทุก 2 ปี

การตรวจแบบใหม่นี้มีความแม่นยำมากกว่าในการตรวจหาเชื้อไวรัส Human papillomavirus หรือชื่อย่อว่าเชื้อเอชพีวี ซึ่งติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ โดยเชื้อไวรัสนี้เป็นต้นเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่ผู้หญิงเกือบครึ่งหนึ่งที่ร่วมการสำรวจ ไม่ตระหนักว่าการตรวจคัดกรองโรคนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว

สาเหตุที่ผู้หญิงผัดผ่อนการไปรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก:

*รู้สึกกระดากใจ ร้อยละ 32.3

*เขินอาย ร้อยละ 27.6

*รู้สึกเจ็บ ร้อยละ 18.5

*รู้สึกว่าต้องเปิดเผยส่วนล่าง ร้อยละ 17.7

*รู้สึกหวาดกลัว ร้อยละ 15.8

*รู้สึกถูกล่วงล้ำ ร้อยละ 8.6

*แพทย์จีพีเป็นผู้ชาย ร้อยละ 8.4

แหล่งที่มาข้อมูล: Australian Cervical Cancer Foundation, PureProfile Consumer Survey, 2019

Share
Published 15 July 2019 3:42pm
Updated 15 July 2019 5:41pm
Presented by SBS Thai
Source: AAP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand