Explainer

สรุปคำแนะนำที่ควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนกระตุ้นโควิด-19 รุ่นใหม่

วัคซีนป้องกันโควิด-19 รุ่นล่าสุดมุ่งเป้าไปที่การป้องกันเชื้อไวรัสสายพันธุ์ย่อย และจะพร้อมจำหน่ายแก่ชาวออสเตรเลียตั้งแต่เดือนหน้า

A person receiving a vaccine

People who have already had their 2023 vaccination(s) don't need to get jabbed again and remain well protected against severe disease. Source: Getty / Francine Orr/Los Angeles Times

เนื่องจากไวรัสโควิด-19 มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของวัคซีน ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม ชาวออสเตรเลียจะสามารถเข้าถึงวัคซีนรุ่นใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูงกว่ารุ่นเดิม

วัคซีนเข็มกระตุ้น "โมโนวาเลนต์" เหล่านี้คาดว่าจะป้องกันสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ได้ดีกว่า ซึ่งสายพันธุ์นี้เป็นไวรัสที่กำลังแพร่กระจายอยู่ในปัจจุบัน

วัคซีน”โมโนวาเลนต์” ของไฟเซอร์จะสามารถฉีดให้กับผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่มีอายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป ส่วนวัคซีน”โมโนวาเลนต์” ของModerna สามารถใช้กับผู้ที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป

ใครบ้างที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนกระตุ้นรุ่นใหม่? และมันมีความแตกต่างจากวัคซีนรุ่นก่อน ๆ อย่างไร? วัคซีนเหล่านี้มีประสิทธิภาพอย่างไรบ้าง และปลอดภัยหรือเปล่า เรามีคำตอบให้คุณ

ใครบ้างที่มีสิทธิ์ได้รับวัคซีนกระตุ้น (booster vaccines) รุ่นใหม่?

รัฐบาลกลางอนุมัติคำแนะนำของกลุ่มที่ปรึกษาทางเทคนิคด้านการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งออสเตรเลีย (the Australian Technical Advisory Group on Immunisation; ATAGI) ที่แนะนำให้ประชาชนได้รับวัคซีนรุ่นใหม่ หลังจากที่หน่วยงานกำกับดูแลของออสเตรเลียอนุมัติการใช้วัคซีนเมื่อเดือนที่แล้ว อย่างไรก็ตาม สิทธิ์รับวัคซีนยังคงเดิมตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นมา

ATAGI แนะนำให้ชาวออสเตรเลียที่มีอายุมากกว่า 75 ปีได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้น ได้รับวัคซีนครั้งสุดท้ายมากกว่าหกเดือนขึ้นไป และแนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 65-74 ปีได้รับการฉีดวัคซีนกระตุ้นรุ่นใหม่ที่ผลิตในปี 2023 หากยังไม่ได้ฉีด

file-20231120-21-4igdnx.png?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=754&fit=clip
Advice for people without risk factors. Source: The Conversation
ส่วนกลุ่มที่มีอายุ 18-64 ปีซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงซ่อนเร้น และมีความเป็นไปได้ที่จะมีอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 ขั้นรุนแรง ก็ได้รับแนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่ หากยังไม่เคยฉีด และหากฉีดวัคซีนรุ่นใหม่ของปี 2023 แล้ว พวกเขาสามารถฉีดเข็มกระตุ้นอีกเข็มได้

file-20231120-26-70jfyr.png?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=754&fit=clip
Advice for people with risk factors. Source: The Conversation
สำหรับกลุ่มที่อายุ 18-64 ปี ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง และได้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นรุ่นใหม่ในปีนี้แล้ว จะไม่แนะนำให้ฉีดซ้ำ แต่หากคุณอายุ 18-64 ปีและยังไม่เคยฉีดวัคซีนรุ่นใหม่ คุณสามารถฉีดวัคซีนกระต้นซ้ำได้

ส่วนเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัวหรือปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดขั้นรุนแรง ATAGI ไม่แนะนำให้เด็กอายุหกเดือนถึงห้าปีฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น


โมโนวาเลนต์, ไบวาเลนต์? แตกต่างกันอย่างไร?

วัคซีนป้องกันโควิดในระยะเริ่มแรกเป็นแบบ "โมโนวาเลนต์" ซึ่งจะป้องกันแค่ไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิม

แต่เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ เราได้มีการกำหนดตัวอักษรกรีกตัวใหม่ให้กับแต่ละสายพันธุ์ และทำให้เรารู้จักสายพันธุ์โอไมครอน และการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้เราได้เห็นการ"การหลีกเลี่ยงภูมิคุ้มกัน" ของไวรัส เพราะโครงสร้างของไวรัสที่มีเปลี่ยนแปลงไปมากจนวัคซีนเดิมไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้เพียงพอ

ดังนั้นจึงมีการปรับปรุงวัคซีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันไวรัสสายพันธุ์ย่อยของ Omicron BA.1 ในยุคแรกๆ บวกกับสายพันธุ์ดั้งเดิม และด้วยจุดประสงค์ในการป้องกันทั้งสองสายพันธุ์ จึงเกิดเป็นวัคซีน "ไบวาเลนต์" ซึ่งในปี 2022 วัคซีนไบวาเลนต์ตัวแรกที่ได้รับการอนุมัติในออสเตรเลีย

ไวรัสโควิดสายพันธุ์ Omicron มีวิวัฒนการอย่างต่อเนื่อง นำไปสู่ "การหลบหนีทางภูมิคุ้มกัน" มากขึ้นและส่งผลให้เกิดการระบาดหลายระลอก


มีการปรับปรุงวัคซีนโควิดอีกครั้งเมื่อต้นปีนี้ (2023) และวัคซีนไบวาเลนต์รุ่นใหม่เหล่านี้มุ่งเป้าไปที่2 สายพันธุ์ 2 ใหม่ ได้แก่ สายพันธุ์เดิมบวกกับสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5

การเปลี่ยนแปลงของไวรัสทำให้เราจำเป็นต้องปรับปรุงวัคซีนอีกครั้ง และนี่คือวัคซีนที่เพิ่งประกาศไปล่าสุด

คราวนี้วัคซีนเข็มบูสเตอร์ใหม่ จะป้องกันสายพันธุ์ย่อยตัวใหม่ของ Omicron ที่รู้จักกันในชื่อ XBB.1.5 (บางครั้งเรียกว่า Kraken)

วัคซีนนี้เป็นวัคซีนแบบโมโนวาเลนต์ ซึ่งหมายความว่ามีการป้องกันเพียงสายพันธุ์เดียว เพราะวัคซีนที่ป้องกันสายพันธุ์ดั้งเดิมนั้นถูกยกเลิกไปแล้ว

เนื่องมาจากมีคำแนะนำต่อองค์การอนามัยโลกในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ชี้ว่าวัคซีนที่ป้องกันเฉพาะสายพันธุ์ดั้งเดิมนี้ไม่จำเป็นอีกต่อไป (เพราะไม่มีการแพร่เชื้อในมนุษย์อีกต่อไป) การเพิ่มภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์ดั้งเดิมอาจขัดขวางการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต่อการป้องกันในวัคซีนตัวใหม่ส่วนประกอบที่ใหม่กว่า แต่เราก็ไม่แน่ใจว่ามันมีความสำคัญเพียงใด

ในช่วงกลางเดือนกันยายน สหรัฐอเมริกาอนุมัติวัคซีนรุ่นใหม่ที่ป้องกันเฉพาะสายพันธุ์ย่อย XBB.1.5 จากไฟเซอร์และโมเดอร์นา และอีกหลายประเทศเช่น ยุโรป แคนาดา ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ก็มีการอนุมัติวัคซีนปรับปรุงใหม่เหล่านี้ด้วย

ส่วนในประเทศออสเตรเลีย Therapeutic Goods Administration (TGA) อนุมัติวัคซีนรุ่นใหม่ดังกล่าวในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา

วัคซีนรุ่นใหม่เหล่านี้มีประสิทธิภาพเพียงใด?

หลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนโมโนวาเลนต์ใหม่เหล่านี้อ้างอิงจากผลการวิจัยของไฟเซอร์และโมเดอร์น่าที่ส่งไปยัง TGA

และยังมาจากการวิจัยที่มีการตีพิมพ์ล่วงหน้า (การวิจัยเบื้องต้นทางออนไลน์ที่ยังไม่ได้รับการทบทวนและให้คำแนะนำ) และรายการงานปรับปรุงวัคซีนที่ไฟเซอร์นำเสนอต่อศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา

เมื่อพิจารณาหลักฐานอ้างอิงเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าวัคซีนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่เหล่านี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนรุ่นก่อนๆ จะผลิตแอนติบอดีในระดับที่ดี (ในการศึกษาในห้องปฏิบัติการกับมนุษย์และหนู) และเมื่อพิจารณาถึงสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นใหม่หลายสายพันธุ์ รวมถึง EG.5 (บางครั้งเรียกว่าอีริส) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมากทั่วโลกในปัจจุบัน รวมถึงในออสเตรเลียด้วย มันมีความคล้ายคลึงกันกับสายพันธุ์ย่อย XBB ที่มีอยู่ในวัคซีนรุ่นใหม่มาก

วัคซีนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่น่าจะสามารถป้องกันสายพันธุ์ย่อย BA.2.86 หรือ พิโรลา (Pirola) ด้วย หากอ้างอิงจากผลลัพธ์เบื้องต้นจากการทดลองทางคลินิกและศูนย์ควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งสายพันธุ์ย่อยดังกล่าวมีส่วนทำให้สัดส่วนของผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยฌฉพาะจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย

เป็นที่ชัดเจนว่าไวรัสจะมีวิวัฒตนาการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนก็ยังจะต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเช่นกัน

วัคซีนรุ่นใหม่ปลอดภัยแค่ไหน?

มีการศึกษาว่าความปลอดภัยของวัคซีนรุ่นใหม่มีความปลอดภัยในระดับพอๆกันกับวัคซีนรุ่นก่อนๆ การศึกษาเปรียบเทียบพบว่าไม่มีความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในแง่ของผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์

เนื่องจากเรามีวัคซีนรุ่นใหม่แล้ว ทำให้บางประเทศยกเลิกการฉีดวัคซีนรุ่นก่อน เนื่องจากวัคซีนรุ่นใหม่มีประสิทธิภาพที่จะป้องกันสายพันธุ์ใหม่ที่แพร่กระจายอยู่ในปัจจุบันมากกว่า ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยใดๆ ของวัคซีนรุ่นเก่า

ในอนาคตจะเป็นอย่างไร?

ความพร้อมของวัคซีนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ถือเป็นการพัฒนาที่น่ายินดี แต่นี่ไม่ใช่จุดสิ้นสุด เราจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าผู้ที่มีมีความเสี่ยงในการป่วยรุนแรงจะได้รับการฉีดวัคซีน

นอกจากนี้เราต้องทราบว่าการฉีดวัคซีนควรเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์เพื่อจำกัดผลกระทบของโควิด-19 อย่างครอบคลุมนับจากนี้เป็นต้นไป

รวมถึงการใช้มาตรการต่างๆ เช่น การสวมหน้ากาก การเว้นระยะห่างทางสังคม การให้ความสำคัญกับการระบายอากาศและคุณภาพอากาศ ลดความตื่นตระหนกของสุขอนามัยความสะอาดของมือ และการเข้าถึงยาต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับการหลีกเลี่ยงการพบปะผู้อื่นหากคุณติดเชื้อ

* บทความโดย ผู้อำนวยการและสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของกลุ่ม Immunization Coalition พอล กริฟฟิน เขาเคยเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาของ Pfizer, Moderna และ Novavax

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 






บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Published 23 November 2023 12:55pm
By Paul Griffin
Presented by Chayada Powell
Source: The Conversation


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand