เตือนออสเตรเลียระวังความเสี่ยงโควิดกลายพันธุ์

Colourised scanning electron micrograph of a cell (blue) heavily infected with coronavirus particles (red)

Colourised scanning electron micrograph of a cell (blue) heavily infected with coronavirus particles (red) Source: Universal Images Group Editorial

ออสเตรเลียกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ ชนิดเดียวกับในอังกฤษและแอฟริกาใต้ นักวิทย์ฯ ร้องรัฐบาลเร่งอนุมัติวัคซีนหลังเริ่มพบผู้ติดเชื้อโควิดกลายพันธุ์ในประเทศแล้ว


LISTEN TO
Australia could be at risk from new COVID mutation image

เตือนออสเตรเลียระวังความเสี่ยงโควิดกลายพันธุ์

SBS Thai

28/12/202009:02

มีความกังวลเพิ่มมากขึ้น จากการค้นพบเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในอังกฤษ และแอฟริกาใต้ โดยนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้สามารถแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์เดิม และอาจเป็นสาเหตุของจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงในทั้งสองประเทศ

ในประเทศอังกฤษ จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาได้เพิ่มขึ้นในช่วงล็อกดาวน์เมื่อเดือนพฤศจิกายน และเพิ่มขึ้นอีกเป็น 2 เท่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยรายงานจากเจ้าหน้าที่ว่า ความสามารถในการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้นั้นมากกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 70%

นายแมตต์ แฮนค็อก (Matt Handcock) เลขาธิการหน่วยงานสาธารณสุขของอังกฤษ กล่าวว่า ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ได้นำเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้เข้ามาในอังกฤษจากแอฟริกาใต้

“ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้มีความน่ากังวลอย่างมาก เพราะมันสามารถแพร่กระจายได้ง่ายกว่าเดิม และดูเหมือนว่ามันจะกลายพันธุ์ไปไกลกว่าสายพันธุ์ใหม่ที่เพิ่งค้นพบในอังกฤษ” นายแฮนค็อก กล่าว

“สิ่งที่เราทำก็คือ อันดับแรก เรากักกันผู้ติดเชื้อและผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อที่พบในอังกฤษ และต่อมา เราได้ประกาศห้ามการเดินทางระหว่าประเทศแอฟริกาใต้โดยทันที”

ไวรัสโคโรนารูปแบบใหม่นี้เกิดจากการกลายพันธุ์ ซึ่งเป็นความผิดพลาดในส่วนเล็ก ๆ ในรหัสพันธุกรรมของไวรัส ระหว่างที่ไวรัสคัดลอกตนเอง ตามปกติแล้ว เชื้อไวรัสโคโรนานั้นมีความเสธียร และไม่กลายพันธุ์อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับไวรัสชนิดอื่น เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่

โดยไวรัสโคโรนารูปแบบใหม่ในอังกฤษ มีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมถึง 23 ครั้ง ขณะที่ไวรัสโคโรนารูปแบบใหม่ในแอฟริกาใต้นั้นก็ได้การกลายพันธุ์ที่แตกต่างซึ่งเกิดขึ้นอยู่หลายครั้ง 

นางสมยา สวามินาทัน (Soumya Swaminathan) ประธานเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า ไวรัสโคโรนานั้นได้มีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นสะสมในทุก ๆ เดือน  
Coronavirus Mutant
Coronavirus Mutant Source: SBS
สิ่งที่ไวรัสพยายามจะทำก็คือ การทำตัวเองให้แพร่กระจายได้เร็วขึ้น แต่สร้างความเสียหายกับพาหะให้น้อยลง เพื่อที่จะสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างต่อเนื่อง" นางสวามินาทัน กล่าว

"แต่ช่วงเวลาที่ไวรัสจะกลายพันธุ์หรือมีการเปลี่ยนแปลง คือช่วงที่ไวรัสอยู่ในมนุษย์ในอัตราที่หนาแน่น ดังนั้นมันจะมีไวรัสจำนวนมากที่แพร่กระจายตนเอง และมีโอกาสสูงที่จะมีการกลายพันธุ์”  

ยังไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า ไวรัสโคโรนารูปแบบใหม่ จะสามารถสร้างโรคระบาดที่มีความรุนแรงมากกว่าชนิดเดิม

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไวรัสที่กลายพันธุ์อาจแฝงตัวอยู่กับอวัยวะรับสัมผัสในเซลล์ของมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม และสามารถทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น 

ศาสตราจารย์ปีเตอร์ ฮอร์บี (Prof Peter Horby) นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด กล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจนว่าไวรัสโคโรนาชนิดใหม่จะสามารถแพร่กระจายในอัตราที่เร็วขึ้นหรือไม่

“มันอาจเป็นไปได้ เนื่องจากไวรัสคัดลอกตัวเองได้เร็วขึ้น นั่นทำให้อัตราความหนาแน่นของไวรัสสูงขึ้น ซึ่งหมายความว่าคุณจะสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น มันอาจหมายถึงเวลาที่สั้นลงระหว่างการติดเชื้อและการแสดงอาการเจ็บป่วย หากช่วงเวลาดังกล่าวสั้นลง นั่นจะทำให้เกิดการแพร่ระบาดที่เร็วขึ้น” ศาสตราจารย์ฮอร์บี กล่าว  

คณะกรรมการหลักด้านการคุ้มครองสุขภาพของออสเตรเลีย (The Australian Health Protection Principal Committee หรือ AHPPC) หน่วยงานสูงสุดที่มีอำนาจตัดสินใจด้านสาธารณสุขของออสเตรเลีย กล่าวว่า พวกเขากำลังเฝ้าจับตาสถานการณ์นี้

โดยในแถลงการณ์ของ AHPPC ระบุว่า “ยังไม่มีความกังวลใด ๆ เกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ในออสเตรเลีย” 

อย่างไรก็ตาม มีการพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดใหม่ที่มาจากประเทศอังกฤษแล้วในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และรัฐวิกตอเรีย จากบรรดาผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศที่ได้รับการกักตัวอยู่ในโรงแรมกักกันโรค    

ศาสตราจารย์ไรนา แมคอินไตย์ (Prof Raina MacIntyre) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดจากมหาวิทยาลัยรัฐนิวเซาท์เวลส์ ว่าไวรัสโคโรนาชนิดใหม่นี้อาจหลุดรอดเข้ามายังชุมชนได้  

“เราต้องระมัดระวังอย่างมาก ทุกสิ่งที่เข้ามายังออสเตรเลียนั้นล้วนมาจากต่างประเทศ ดังนั้น หากมีไวรัสโคโรนาชนิดใหม่เกิดขึ้นในอังกฤษ เรากำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่ไวรัสชนิดนี้จะเข้ามาในออสเตรเลีย” ศาสตราจารย์แมคอินไตย์ กล่าว

“ดูเหมือนว่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้จะสามารถแพร่กระจาย และทำให้เกิดการระบาดในเด็กได้ง่าย มันจะเปลี่ยนแปลงทุกสิ่ง ทั้งในแง่ของการปิดสถานศึกษา และความปลอดภัยในการเปิดทำการเรียนการสอน และเราต้องคำนึงถึงทั้งหมดนี้”   

ศาสตราจารย์แมคอินไตย์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้จะระบาดในออสเตรเลีย หากเกิดการแพร่ระบาดในชุมชนในอัตราสูง เธอเรียกร้องให้ชาวออสเตรเลียได้รับการฉีดวัคซีนให้เร็วขึ้น ก่อนเวลาตามแผนในการจ่ายวัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ของบริษัท ไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) แอสตร้า เซเนก้า (AstraZeneca) และโนวาแวกซ์ (Novavax) ในออสเตรเลีน ที่จะมีขึ้นในเดือนมีนาคม 2021
vaccine, Pfizer, COVID-19, Philippines, Christmas
Source: ARIANA DREHSLER/AFP via Getty Images
นอกจากนี้ เธอยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียจองสิทธิ์การเข้าถึงวัคซีนต้านโควิดให้มีความหลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม ท่ามกลางความกังวลว่าวัคซีนที่ได้จองสิทธิ์ไว้ก่อนหน้า อาจไม่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่กลายพันธุ์

“วัคซีนชนิด mRNA อย่างของบริษัท Moderna และ Pfizer มีความต้านทานต่ำต่อเชื้อไวรัสโคโรนาชนิดกลายพันธุ์มากกว่าวัคซีนชนิดอื่น ๆ ที่ผลิดด้วยวิธีดั้งเดิม นั่นเป็นอีกเหตุผลที่ทำไมเราจึงต้องสร้างความแตกต่างให้กับสต๊อกวัคซีนในประเทศ และเราจะต้องตกลงกับบริษัทผลิตวัคซีนอื่นๆ ให้มีความหลากหลาย” ศาสตราจารย์แมคอินไตย์ กล่าว

ขณะที่บริษัท ไฟเซอร์-ไบออนเทค และโมเดิร์นา คาดว่า วัคซีนของพวกเขาอาจมีความสามารถในการต้านเชื้อไวรัสโคโรนาที่กลายพันธุ์ได้

นายเจโรม คิม (Jerome Kim) ผู้อำนวยการทั่วไปของสถาบันวัคซีนระหว่างประเทศ กล่าวว่า จะต้องมีการตรวจหาเชื้อให้มากขึ้น เพื่อสร้างความเข้าใจกับไวรัสชนิดนี้ 

“สิ่งที่เราเดาได้ดีที่สุดในตอนนี้ โดยที่ยังไม่มีการทดลองใด ๆ ก็คือ ไวรัสโคโรนาจะถูกลดฤทธิ์และต่อต้านโดยการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ได้รับการกระตุ้นโดยวัคซีน แต่ในจุดนี้ เรายังคงไม่ทราบแน่ชัด” นายคิม กล่าว

“ผมคิดว่ามีหลายห้องปฏิบัติการทั่วโลกที่กำลังพยายามค้นหาว่า วัคซีนจะยังคงมีประสิทธิภาพในการต้านไวรัสโควิดที่กลายพันธุ์ได้หรือไม่”


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ATO จะรวบรวมข้อมูลผู้ถือวีซ่าจาก Home Affairs เพื่อปราบการโกงภาษี


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand