นักอนุรักษ์เผยโลกสูญเสียสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์

2024 United Nations Biodiversity Conference (COP16) in Cali, Coliombia

พิธีเปิดสุดยอดการประชุมความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติ หรือ COP-16 ที่ประเทศโคลอมเบีย Source: EFE / Mauricio Dueñas Castañeda/EPA

ผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเข้าร่วมประชุมแห่งสหประชาชาติหรือ COP-16เพื่อกำหนดยุทธศาสตร์ความร่วมมือของนานาประเทศในการปกป้องพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ขณะนี้ ผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกกำลังประชุมหารือ กันที่เมืองกาลี ประเทศโคลอมเบีย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของโลก และทบทวนพันธสัญญาระดับชาติในการอนุรักษ์พืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อมที่สำคัญในการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย

การประชุมความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติครั้งนี้มีระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการประชุมต่อเนื่องมาจากการประชุม ที่มอนทรีออลในปี 2022 ซึ่งมีประเทศต่างๆ กว่า 196 ประเทศ ที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาระดับโลกเพื่อ ร่วมมือกันอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

ในระหว่างพิธีเปิด มีการแสดงต่างๆ เช่น การร้องเพลง เต้นรำ และพิธีกรรมที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำ ผืนดิน และผู้คน

ประธานาธิบดีกุสตาโว เปโตร ของโคลอมเบียกล่าวเปิดการประชุม ซึ่งมีใจความสำคัญว่า หากประเทศที่ร่ำรวยยังหากำไรจากเศรษฐกิจของประเทศที่ยากจนกว่า มนุษยชาติจะขาดกลไกสำคัญในการเอาชนะวิกฤติต่างๆ

"ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหนี้ให้เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อช่วยเหลือเรื่องสภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง เราไม่สามารถนำเอามาตรวัดจากอัตราดอกเบี้ยหรือการกู้ยืมต่อไปได้ หากเศรษฐกิจของประเทศร่ำรวยได้มาจากการเอาเปรียบประเทศที่ยากจนกว่า ถ้าสถานการณ์นี้ยังดำเนินต่อไป มันจะทำให้มนุษยชาติขาดเครื่องมือ ที่ใช้ในการก้าวข้ามวิกฤติเหล่านี้"


ประธานาธิบดีเปโตร ยังเรียกร้องให้ ประเทศมหาอำนาจ เช่น สหรัฐฯ จีน และยุโรป เรียกเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษเฉพาะกับประเทศที่สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้เท่านั้น

"เศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงคือเศรษฐกิจที่อาจบ่อนทำลายชีวิตผู้คนในปัจจุบัน ประเทศที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากที่สุดโดยมีการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้น้ำมัน และ ก๊าซ เช่น ประเทศมหาอำนาจทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป เพราะพวกเขาคิดดอกเบี้ยแพงๆ กับประเทศที่มีรายได้น้อยกว่า"

ด้านเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ยังได้ส่งสาร์น ผ่านวิดีโอไปยังการประชุม มีข้อความดังนี้

"เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของมนุษยชาติ ธรรมชาติจะต้องเบ่งบาน การทำลายธรรมชาติไม่เพียงทำให้เกิดความขัดแย้งและโรคภัยจากธรรมชาติ ที่มีอิทธิพลต่อความไม่สงบ เกิดความยากจน ความไม่เท่าเทียมกันในวิกฤตสภาพภูมิอากาศ และหยุดยั้งการพัฒนาที่ยั่งยืน การอนุรักษ์ธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม และตัวเลขเศรษฐกิจมวลรวม"

เขากล่าวว่าประเทศกำลังพัฒนากำลังถูกเอารัดเอาเปรียบ

"ประเทศกำลังพัฒนากำลังถูกปล้น - ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าเป็น แผนพัฒนา DNA ดิจิทัลจากความหลากหลายทางชีวภาพ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์และการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ประเทศกำลังพัฒนาไม่ได้รับส่วนแบ่งจากความก้าวหน้าเหล่านี้ แม้จะเป็นแหล่งที่มาของความมั่งคั่งเหล่านี้ก็ตาม การประชุม COP ต้องดำเนินการตามข้อตกลง เพื่อให้แน่ใจว่าเมื่อประเทศต่างๆ แบ่งปันข้อมูลทางพันธุกรรม ได้แบ่งปันผลประโยชน์นี้อย่างเท่าเทียมกัน"

จากข้อมูลของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ โดยขณะนี้พืชและสัตว์ประมาณหนึ่งล้านสายพันธุ์เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนของ Amazon Watch แอนดรู มิลเลอร์ กล่าวว่า

"เราเผชิญกับภัยคุกคามมากมาย ที่ทำให้ความหลากหลายทางชีวภาพในแอมะซอนตกอยู่ในความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นการขยายพื้นที่เกษตรกรรม การตัดไม้ทำลายป่า การขยายเครือข่ายคมนาคมถนน โครงการขนาดใหญ่ต่างๆ เราเห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นความแห้งแล้ง ไฟป่าที่รุนแรง จะเห็นว่าสถานการณ์ตอนนี้ เป็นภัยคุกคามของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างแท้จริง ยกตัวอย่างในแอมะซอน มันคือจุดเปลี่ยนของ และมีความเป็นไปได้ที่ระบบนิเวศทั้งหมดจะพังทลายลง"

ผู้อำนวยการด้านความหลากหลายทางชีวภาพของ The Nature Conservancy ลินดา ครูเกอร์ กล่าวว่าหลักฐานแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงจำนวนและประเภทของสัตว์ป่าหลายชนิดทั่วโลกที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

 "หลักฐานทั้งหมดแสดงให้เห็นว่ามีเราสูญเสียความอุดมสมบูรณ์และการกระจายพันธุ์ นั่นหมายความว่าสายพันธุ์ต่างๆ มีสัตว์ป่าจำนวนมากมีพื้นที่ในการดำรงชีวิตน้อยลงซึ่งทำให้ สัตว์ป่ามีจำนวนลดลง นอกจากนี้ เรายังเห็นอัตราการสูญพันธุ์ที่เพิ่มขึ้นด้วย"


 คุณ ครูเกอร์กล่าวว่า เรายังมีความหวังยังว่า เรายังจะสามารถฟื้นฟูให้สิ่งเหล่านี้กลับมาเหมือนเดิม

"เรารู้ว่ามีปัจจัยอะไรที่ผลักดันให้เกิดสถานการณ์นี้ พื้นฐานเลยคือการสูญเสียพื้นที่ที่เคยอยู่อาศัย กิจกรรมของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น มลพิษ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ดังนั้นหากเราสามารถหยุดกิจกรรมเหล่านั้นได้ เราก็สามารถฟื้นฟูธรรมชาติได้"

 ในการประชุม COP-15 ในปี 2022 ที่ทรีออล ถือเป็นการทำข้อตกลงนานาชาติ ที่สำคัญในการกำหนดเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกจนถึงปี 2030

ข้อตกลงที่สำคัญ เช่น การนำกรอบความหลากหลายทางชีวภาพของโลก ในการประชุมที่ คุนหมิง-มอนทรีออลมาใช้ โดยมีเป้าหมายที่จะปกป้อง 30 เปอร์เซ็นต์ของผืนดินและมหาสมุทรของโลก และฟื้นฟูระบบนิเวศที่เสื่อมโทรม ให้ทันภายในปี 2030

นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นไปที่การระดมงบประมาณ สำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ มียุทธศาสตร์ที่จัดการกับการใช้ประโยชน์จากธรรมชาติมากเกินไป มลพิษ และแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรที่ไม่ยั่งยืน และการปกป้องสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง

อย่างไรก็ตาม กรรมการบริหารของกลุ่ม Business for Nature คุณ เอวา ซาเบย์ กล่าวว่าการดำเนินการตามข้อตกลง ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้

"ตั้งแต่ปี 2022 ที่รัฐบาลต่างๆ นำกรอบความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลกมาใช้ แต่ดูเหมือนว่ายังเห็นผลล่าช้ากว่าที่คาดไว้ แม้ว่าจะมีความคืบหน้าอยู่บ้าง เราหวังว่าทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจจะเล็งเห็น ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงและการดำเนินการที่กำลังเกิดขึ้น แต่ที่เห็นเด่นชัดคือ ในขณะนี้การดำเนินการตามกรอบความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกนั้นยังล่าช้าเกินไป และเราจำเป็นต้องเร่งดำเนินการให้เร็วและเป็นวงกว้างมากที่สุด"
___________________________________________________________________

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand