ทางรอด "ธุรกิจขนาดเล็ก" ท่ามกลางวิกฤติโคโรนา

Small Business

Source: Getty Images

ผลกระทบร้ายแรงจากเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้ตกไปถึงระบบเศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย โดยภาคการธนาคาร รัฐบาลสหพันธรัฐ รัฐบาลของรัฐและมณฑลต่างๆ ต่างพากันออกมาตรการเพื่อช่วยพยุงให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถดำเนินต่อไปได้


ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แต่สภาองค์กรธุรกิจขนาดเล็กแห่งออสเตรเลีย (Council of Small Business Organisations of Australia – COSBOA) คาดการณ์ว่าจำนวนผู้ว่างงานน่าจะเกินกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาส่งผลให้บรรดาธุรกิจที่ไม่มีความจำเป็นต่างๆ ถูกสั่งให้ปิดตัวลง

“อนาคตของเขาจะเป็นอย่างไร ต้องดูกันเดือนต่อเดือนไปอีก 6 เดือนเลยงั้นหรือ? มันคงไม่สนุกนักหรอก มันคงจะห่อเหี่ยวและน่าวิตกกังวลอย่างมากที่ต้องเห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าพวกเขา แต่พวกเขาก็จำเป็นต้องทำ ที่มากพอๆ กับความวิตก คือความรู้สึกที่ไม่อาจทราบได้ว่าธุรกิจของพวกเขาจะดำเนินไปในหนทางใด พวกเขาจำเป็นต้องตัดสินใจ หวังว่าจะไม่ใช่เชื้อโควิด-19 ที่ตัดสินใจแทนพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นการปิดกิจการลงชั่วคราว ปิดกิจการถาวร เปลี่ยนตัวสินค้าใหม่ หรือเปิดกิจการต่อไปหากพวกเขายังอยู่ในจุดที่สามารถทำได้” นายปีเตอร์ สตรอง หัวหน้า สภาองค์กรธุรกิจขนาดเล็กแห่งออสเตรเลียกล่าว
คุณอินดิกา ลิยาเนจ เจ้าของร้านไอศกรีมขายดี นามว่า Ciao Gelato ซึ่งตั้งอยู่ในย่านนันดาห์ เขตพื้นที่ชั้นในของนครบริสเบน โดยธุรกิจของเขานั้นขายไอศกรีมที่เรียกว่า “Fit-Lato” หรือไอศกรีมแบบไขมันต่ำสำหรับส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ หลังเริ่มธุรกิจไปได้ 4 ปี คุณลิยาเนจตัดสินใจขยายกิจการโดยการซื้อบริษัท Shlix Gelato ซึ่งเป็นโรงงานผู้ผลิตของเขา แค่ไม่นานก่อนจะมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

“แน่นอนมันมีผลกระทบ มันคือความเสี่ยงอย่างมากในการซื้อกิจการนั้น แล้วเราซื้อมันช่วงกลางเดือนธันวาคม เราซื้อกิจการนั้นโดยใช้นายทุนเช่นกัน เพราะฉะนั้นมันเป็นการตัดสินใจครั้งใหญ่ในการลงทุน แต่เราก็ทำ และเราไม่ได้คาดว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นเลยแม้แต่น้อย”

คุณลิยาเนจ มีแผนธุรกิจ 6 เดือน เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นกับกิจการทั้ง 3 กิจการของเขา โดยการขายไอศกรีมที่หน้าร้านนั้น สูญเสียรายได้ไปกว่าครึ่งแค่ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่วนร้านอาหารที่เพิ่งซื้อกิจการมาใหม่รายได้ลดลงไปถึง 2 ใน 3 ส่วน ในตอนนี้คุณลิยาเนจได้ปรับโมเดลธุรกิจของเขาไปอย่างฉับพลัน โดยเขาเปลี่ยนจากร้านอาหารและร้านกาแฟ เป็นการขายแบบซื้อกลับไปทานที่บ้านและบริการส่งอาหารตามบ้านเท่านั้น

“ผลกระทบจากรายได้นั้นค่อนข้างหนักกับเรา และ Fit-Lato เป็นแบรนด์ที่เล็กกว่ามาก ดังนั้นถ้ามันไม่สามารถพาเราผ่านสถานการณ์ขณะนี้ไปได้ เราอาจจะต้องตัดชั่วโมงการทำงานของพนักงานแคชวลลง”

ด้านนายปีเตอร์ สตรอง เชื่อว่าเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องการมาตรการขั้นเด็ดขาดในท้ายที่สุด เพื่อพาตนอยู่รอดต่อไปได้

“เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กจำนวนมาก ไม่อยากไล่พนักงานของตนออก พวกเขาไม่ชอบที่จะทำแบบนั้น แต่พวกเขากำลังจำเป็นต้องทำ ถ้าพวกเขามองไปในอนาคตแล้วพบว่ามันไม่มีงานเข้ามาเพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจ ต่อตัวเอง และต่อครอบครัวของพวกเขา พวกเขาจำเป็นต้องตัดลูกจ้างออก และช่วยให้เหล่าลูกจ้างเข้าถึงสวัสดิการช่วยเหลือต่างๆ และช่วยให้พวกเขาได้รับเงินให้เร็วที่สุด มันไม่ใช่ข้อสรุปที่ยอดเยี่ยมนักแต่มันเป็นข้อสรุปที่ดีกว่า ดีกว่าที่เจ้าของธุรกิจจะยังคงเปิดกิจการต่อไปนานเกินจน ตนและครอบครัวต้องสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่างไป” 

นายจอช ฟรายเดนเบิร์ก รัฐมนตรีคลัง เตือนว่า “ภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง (Economic Shock)” จะดำเนินต่อไปอย่าง “ลึกขึ้น กว้างขึ้น และนานมากขึ้น” กว่าที่คาดไว้ โดยรัฐบาลสหพันธรัฐได้ออกกลุ่มมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกี่ยวกับเงินหมุนเวียนในธุรกิจและลูกจ้างที่ถูกลดรายได้ลง

โดยธุรกิจราว 690,000 แห่ง ที่มียอดขายประจำปีไม่เกิน 50 ล้านเหรียญ จะได้รับเงินช่วยเหลือแบบปลอดภาษี ตั้งแต่ 20,000 – 100,000 เหรียญ เพื่อรักษาลูกจ้างของพวกเขาไว้
เงินเบี้ยเลี้ยง ‘Job Keeper Allowance’ เงินชดเชยค่าจ้าง 1,500 เหรียญต่อ 2 สัปดาห์จะจ่ายให้แก่นายจ้างที่สูญเสียรายได้ของธุรกิจอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจ่ายให้กับลูกจ้างที่ทำงานฟูลไทม์ ลูกจ้างพาร์ท ไทม์ ผู้ประกอบกิจการเจ้าของคนเดียว และลูกจ้างแคชวล ที่ทำงานกับธุรกิจของนายจ้างมานานกว่า 12 เดือน 

จะมีการเรียกสมาชิกรัฐสภาสหพันธรัฐให้กลับมาประชุมกันเพื่อผ่านร่างกฎหมายสำหรับมาตรการนี้ ซึ่งหลังจากได้รับการอนุมัติแล้ว จะสามารถจ่ายเงินชดเชยค่าจ้างนี้ได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป แต่จะจ่ายให้ย้อนหลังตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมีนาคม
centrelink
Source: Getty Images
นายไมเคิล โครเกอร์ หัวหน้าด้านภาษีออสเตรเลีย จาก ชาร์เตอร์ แอคเคาแทนส์ ออสเตรเลีย แอนด์ นิวซีแลนด์ (Chartered Accountants Australia and New Zealand) แนะนำว่าเจ้าของธุรกิจควรหาว่าพวกเขามีสิทธิ์อะไรบ้าง ภายใต้โครงการช่วยเหลือต่างๆ ของรัฐบาลสหพันธรัฐและรัฐบาลของรัฐและมณฑลที่พวกเขาอยู่

“มีมาตรการจูงใจสำหรับธุรกิจที่แตกต่างกันไป เช่น ถ้าคุณจ้างผู้ฝึกงาน (apprentices) มันมีโปรแกรมที่จะช่วยเหลือต้นทุนด้านค่าจ้างสำหรับผู้ฝึกงาน หรือคุณอาจจะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลที่มุ่งเป้าไปยังธุรกิจที่จ้างงานประชาชน เพราะฉะนั้นให้ดูว่าคุณเป็นนายจ้างหรือเป็นธุรกิจประเภทไหน  แล้วไปคุยกับนักบัญชีของคุณ เพื่อยื่นเอกสารที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้คุณมีสิทธิ์จะรับเงินสดช่วยเหลือ จากรัฐบาลสหพันธรัฐ”

สำหรับในสถานการณ์นี้ ที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เป็นวิกฤตที่เคยเกิดขึ้น “ครั้งเดียวในรอบ 100 ปี” ธนาคารชาติของออสเตรเลีย ได้ลดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นประวัติการณ์เหลือเพียง 0.25 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ธนาคารต่างๆ ยังเลื่อนการชำระเงินกู้ยืมทั้งหมดให้ถึง 6 เดือน สำหรับธุรกิจขนาดเล็กเพื่อให้พวกเขาสามารถเดินต่อไปได้
นายปีเตอร์ สตรอง แนะนำว่า สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ประสบกับความยากลำบากในการชำระเงินค่าเช่า ให้ลองเจรจากับเจ้าของที่เพื่อหาหนทางแก้ปัญหา

“ถ้าเจ้าของห้างร้านให้เช่าของคุณ เป็นบริษัทรายใหญ่ และคุณมีปัญหากับพวกเขา เราแนะนำให้คุณไปคุยกับกรรมการธิการด้านธุรกิจขนาดเล็ก หรือ Small Business Commissioner ของรัฐที่คุณอยู่ โดยกรรมการธิการที่ว่านี้มีอยู่ในรัฐวิกตอเรีย เซาท์ออสเตรเลีย เวสเทิร์นออสเตรเลีย และนิวเซาท์เวลส์ และถ้าคุณไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือเหล่านั้น คุณสามารถไปคุยกับสำนักงานของคุณเคท คาร์เนล (Kate Carnell) นั่นคือสำนักงานรับเรื่องร้องทุกข์สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและกิจการครอบครัวแห่งออสเตรเลีย (Australian Small Business and Family Enterprise Ombusman - ASBFEO)”  

รัฐและมณฑลต่างๆ จะเตรียมการระงับการห้ามขับไล่ผู้เช่าบ้านและห้างร้าน ที่ไม่สามารถจ่ายค่าเช่าตามสัญญาได้

โดยนายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน ขอร้องให้เจ้าของบ้านและห้างร้านให้เช่าพูดคุยปัญหานี้กับผู้เช่าของตน

“พวกเราอยากเห็นคุณนั่งลงพูดคุยกันและหาทางออก มีธุรกิจมากมายที่อาจมีรายได้ลดลงอย่างมาก พวกเราต้องการให้ผู้คนนั่งลงด้วยกันและหาทางออกเรื่องนี้”

ธุรกิจที่สนใจลงทะเบียนขอรับเงินชดเชยลูกจ้าง (JobKeeper Scheme) สามารถแจ้งความสนใจได้กับกรมสรรพากรของออสเตรเลีย หรือเอทีโอ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand