ผู้ประกอบการวอนขอเงินเยียวยาจากงบประมาณรัฐ

พนักงานเสิร์ฟกำลังทำงานในร้าน

พนักงานเสิร์ฟกำลังทำงานในร้าน Credit: Pexels/Ketut Subiyanto

ธุรกิจขนาดเล็กกว่า 2.3 ล้านรายเรียกร้องเงินเยียวยาเพื่อบรรเทาครองชีพที่สูง ในการประชุมงบประมาณของรัฐบาลกลาง ที่จะมีขึ้นในวันอังคารที่ 25 ตุลาคมนี้


ในเวลาพักกลางวัน ที่ร้านอาหารเล็กๆ แถบตอนเหนือของซิดนีย์ คุณดีน ซู (Dean Xu) เจ้าของร้านเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ต้องกัดฟันพยายามให้ร้านเปิดทำการ

ทุกครั้งที่ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ย ความกังวลของเขาก็ทวีคูณ

“เรามีค่าผ่อนบ้าน และอัตราดอกเบี้ยก็ขึ้นในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ผมรู้สึกเหนื่อยมาก และยิ่งไปกว่านั้นคือความกดดันเรื่องเงิน”
คุณซูกล่าวว่าร้านคาเฟ่ของเขาเงียบกว่าปกติ มีคนออกมารับประทานอาหารนอกบ้านไม่กี่คนในหลายๆ สัปดาห์ที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะค่าครองชีพสูงขึ้น

คุณซูจึงต้องดึงเงินออมมาใช้เพื่อจ่ายค่าบ้านและค่าใช้จ่ายในธุรกิจ

“มันค่อนข้างยาก ค่าใช้จ่ายบางอย่างผมต้องใช้เงินเก็บมาจ่าย ถ้าผมจ่ายไม่ได้ ผมต้องย้ายออกจากบ้าน ผมจึงต้องใช้เงินเก็บของผมจ่ายค่าบ้าน”

ราคาผักและผลไม้ที่สูงขึ้น จากเหตุฝนตกไม่นานมานี้ นับเป็นหนึ่งในปัญหาที่ถาโถมใส่ผู้ประกอบการ คุณเบลินดา คลาร์ก (Belinda Clarke) ผู้บริหารสมาคมร้านอาหารและการจัดเลี้ยง (Restaurant and Catering Association) กล่าว

“เราเห็นหลายคนพยายามอดทนให้ถึงคริสต์มาส พวกเขาเกือบถึงจุดแตกหักแล้ว เรามีร้านกาแฟในเมือง หลายคนยังทำงานจากบ้าน การยกเลิกระบบขนส่งสาธารณะ ฝนตกหนัก และอีกหลายสิ่ง และร้านอาหารไม่รู้ว่าพวกเขาต้องบริการลูกค้ากี่คนที่ร้าน พวกเขากำลังเผชิญปัญหาหนัก มันเป็นพายุที่ถาโถมพวกเขา และมันเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับพวกเขาในการดำเนินธุรกิจ”
การจัดโต๊ะอาหารในงานเลี้ยง
การจัดโต๊ะอาหารในงานเลี้ยง Credit: Chuttershap/Unsplash
คุณคลาร์กชี้ว่าปัญหาการขาดแคลนแรงงานทักษะนับเป็นอีกปัญหาใหญ่ระดับประเทศ ตำแหน่งว่างงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
มีประกาศหาคนทำงาน 102,000 ตำแหน่งในอุตสาหกรรมการบริการ (Hospitality) และมีสถานที่จัดงาน 55,000 แห่งทั่วประเทศ เมื่อคุณลองคำณวนดู ทุกๆ ร้านต้องการพนักงานอย่างน้อย 2 คน เพื่อทำงานในทีมของเขา
ผู้ประกอบการหลายราย รวมถึงคุณซูกล่าวว่า ถึงแม้ว่าจะสามารถหาคนทำงานได้ แต่รายได้ที่ต่ำลงของร้านหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถจ่ายค่าจ้างเพิ่มเติมได้ พวกเขาจึงต้องลงมาทำงานในตำแหน่งที่ขาดเอง

“ผมทำงานประมาณเกือบ 12 หรือ 13 ชั่วโมงทุกวัน บางครั้งผมไม่ได้รับเงิน และบางครั้งผมไม่สามารถจ้างพนักงานหลายคนได้ ธุรกิจเงียบมาก ผมจ่ายพวกเขาไม่ได้ ทั้งจ่ายค่าแรงและค่าเลี้ยงดูครอบครัวของผม ผมมีลูกๆ และผมทำงาน 7 วันต่อสัปดาห์”
ผู้หญิงนั่งเครียดหน้าคอมพิวเตอร์
ผู้หญิงนั่งเครียดหน้าคอมพิวเตอร์ Source: Getty / Getty Images
เป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการหลายคนทั่วประเทศต้องเผชิญเพื่อพยายามลดต้นทุน และหลายคนทำงานมากขึ้น แต่ได้รับเงินน้อยลง คุณคลาร์กกล่าว

“4 ใน 5 ของธุรกิจไม่สามารถจ่ายให้ตนเองได้มากนัก จ่ายน้อยไป หรือไม่จ่ายค่าจ้างตนเองเลย มีเจ้าของธุรกิจจำนวนมากที่กำลังเผชิญปัญหา เรารู้ว่าหลายธุรกิจต้องปิดทำการในบางวันหรือบางเวลา และเราได้ยินว่าเจ้าของธุรกิจต้องขับรถไปซื้อของที่ตลาดเอง พวกเขาทำงานหนักมาก”คุณพอล ซาห์รา (Paul Zahra) ผู้บริหารสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งออสเตรเลียกล่าวว่า ไม่ใช่แค่ธุรกิจการบริการที่ขาดพนักงาน

“เราต้องมองหาวิธีใหม่ในการจัดการเรื่องนี้ สิ่งที่เรากำลังเล็งเห็นคือผู้รับเงินบำนาญ ซึ่งขณะนี้มีจำนวนมากขึ้น ให้พวกเขาได้กลับมาทำงานโดยไม่กระทบกับเงินบำนาญ”
แรงงานต่างชาติทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟและในครัว
แรงงานต่างชาติทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟและในครัว Source: Supplied / Supplied by Punjabi Curry Cafe
คุณไมเคิล เชน (Michael Chen) เจ้าของร้านซัลเวจ สเปเชียลที คอฟฟี (Salvage Specialty Coffee) ที่เมืองอาร์ทามอน (Artarmon) ในซิดนีย์ เรียกเพื่อนของเขาคุณแกรี เหลียง (Gary Liang) ที่กำลังเกษียณอายุมาช่วยบริการลูกค้า

“ตอนนี้ผมสามารถลงตารางทำงานได้ 2 วันต่อสัปดาห์ การหาพนักงานที่ทำงานดีได้มาตรฐานเพื่อทำงานในคาเฟ่นั้นยากมาก”

สมาพันธ์องค์กรธุรกิจขนาดเล็กแห่งออสเตรเลีย (The Council of Small Business Organisations Australia) เรียกร้องให้มีการปฏิรูปเพื่อขจัดระเบียบต่างๆ

คุณอเล็กซี บอยด์ (Alexi Boyd) ผู้บริหารแนะว่าต้องมีแนวทางใหม่

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะมีเงินเยียวยาบางอย่างสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก รัฐบาลควรทราบถึงข้อเท็จจริงว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจนั้นสูงขึ้น ค่าขนส่งระหว่างประเทศ ค่าไฟ ค่าเช่า และภาระหนี้ตั้งแต่เกิดโควิดทั้งหมดควรมีการแก้ไข เราต้องการโครงการเพื่อดึงดูดนักศึกษาต่างชาติ ผู้อพยพที่มีทักษะ และนักท่องเที่ยวกลับเข้าประเทศ กุญแจสำคัญคือการเสนอเส้นทางการเป็นผู้พำนักถาวร (Permanent residency) เพื่อให้พวกเขาเห็นอนาคตระยะยาวในฐานะส่วนหนึ่งของแรงงานและผู้อาศัย และอาจเป็นเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก”
ผู้นำเข้าต้องประสบปัญหาอื่นอีก

คุณไม นากาชิมะ (Mai Nagashima) เจ้าของร้านขายของชำกำลังประสบปัญหาการขนส่ง และเธอกล่าวว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าไฟ ทำให้กำไรลดลง
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของทุกอย่าง ค่าจ้าง ค่าอาหาร ค่าเช่าที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน อัตรากำไรจึงลดลงเรื่อยๆ
คุณพอล ซาห์รากล่าวว่า การลดภาษีเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถแบ่งเบาภาระได้

“สิ่งที่เราอยากเห็นคือการลดภาษีนิติบุคคล (Corporate tax) จาก 30 เป็น 25 เปอร์เซ็นต์สำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง นับเป็นเงินจำนวน 250 ล้านดอลล่าร์”

อย่างไรก็ตาม ตลาดโลกกำลังย่ำแย่ การใช้จ่ายของรัฐบาลจึงถูกเพ่งเล็ง คุณดีน ซู ทำได้เพียงหวังว่าคำร้องของเขาจะส่งเสียงถึงกรุงแคนเบอร์รา

“หวังว่าเราจะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ผมเหนื่อยมากๆ และไม่รู้ว่าผมจะอยู่แบบนี้ได้อีกนานเท่าไหร่”

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand