แม้จะโลว์เทคแต่กล้าขายผ่านไลฟ์สด

คุณเชอรี่ เจ้าของธุรกิจในซิดนีย์

คุณเชอรี่ เจ้าของธุรกิจในซิดนีย์ Source: Supplied

คุณเชอรี่ เจ้าของธุรกิจคนไทยในซิดนีย์ที่ยอมรับตัวเองเป็นคนโลว์เทค เล่าถึงการปรับเปลี่ยนช่องทางการขายหันไปหาออนไลน์ของร้าน ที่เธอมองว่าเป็นทางรอดเดียวของธุรกิจยุคโควิด พร้อมฝากคำแนะนำถึงเจ้าของธุรกิจคนอื่นๆ ที่คิดว่าตัวเองเป็นคนโลว์เทคเหมือนกัน จะก้าวเข้าสู่ตลาดออนไลน์ได้อย่างไร


ผลกระทบจากวิกฤตโควิดกำลังทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคในออสเตรเลียเปลี่ยนแปลงไป การขายของแค่ที่หน้าร้านอาจไม่พอสร้างรายได้ให้ธุรกิจอยู่รอดได้ คุณเชอรี่ เจ้าของร้าน Cherry@Sydney ซึ่งเจ้าตัวยอมรับว่าเป็นคน “โลว์เทค” แต่ต้องปรับตัวอย่างหนัก โดยหันมาขายของผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อหารายได้เข้าร้าน เธอมองว่าช่องทางออนไลน์เป็นทางรอดเดียวของธุรกิจยุคโควิด

ฟังการพูดคุยกับคุณเชอรี่ทั้งหมดที่นี่
LISTEN TO
Businesses need to turn to online to survive amid COVID image

แม้จะโลว์เทคแต่กล้าขายผ่านไลฟ์สด

SBS Thai

15/10/202015:11
คุณเชอรี่ เจ้าของร้านจำหน่ายของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ความงามของออสเตรเลีย ที่ตั้งอยู่ในไชน่าทาวน์ ของนครซิดนีย์ สังเกตว่า ผู้บริโภคในออสเตรเลียกำลังมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่เปลี่ยนไป เพราะวิกฤตโตวิด “คนไม่กล้าใช้เงิน เงินทองตอนนี้หายาก ทุกคนจะเลือกใช้เงินกับของที่จำเป็นก่อน ของทางเราจัดอยู่ในหมวดสินค้าฟุ่มเฟือย เลยจะเป็นทางเลือกรองลงมา” คุณเชอรี่ เล่า

ขณะเดียวกัน การขาดนักท่องเที่ยวและผู้คนท้องถิ่นที่เดินทางไปต่างประเทศ เพราะการปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลีย ประกอบกับสถานการณ์โควิดที่ขึ้นๆ ลงๆ ในซิดนีย์ ทำให้ลูกค้าที่เคยออกมาจับจ่ายซื้อของที่ร้าน หดหายไปด้วย
โดยเฉพาะในย่านไชน่าทาวน์ในซิดนีย์ ซึ่งปกติจะมีคนเดินไปมาเยอะมาก เพราะมีทั้งอาหารการกิน มีสิ่งของให้จับจ่ายใช้สอย แต่เดี๋ยวนี้มีผู้คนบางตาลงไปมากๆ ค่ะ
จากสถานการณ์ต่างๆ ที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป จึงทำให้ร้านค้าของคุณเชอรี่ต้องคิดหาช่องทางการขายเพิ่มขึ้น และทำให้ตัวคุณเชอรี่เองต้องหันมาเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี ซึ่งเธอยอมรับว่าตนไม่คุ้นเคยมาก่อน

“ทางร้านเปลี่ยนรูปแบบไปขายออนไลน์ผ่านทางเฟซบุ๊ก เพราะพี่เริ่มรู้ว่าลูกค้าคงไม่เดินมาหาเราแน่ๆ เนื่องจากมีข้อจำกัดในช่วงของโควิด จึงคิดว่าเราจำเป็นต้องมาเรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีทั้งๆ ที่ไม่ใช่รุ่นของเรา แล้วก็เริ่มมีการเปิดเพจ เริ่มไลฟ์สด (การถ่ายทอดสดเรื่องราวต่างๆ ผ่านทางเฟซบุ๊ก) โดยให้ลูกจ้างที่เด็กๆ ในร้านช่วย” คุณเชอรี่ เผย
ตอนนี้ ออนไลน์เป็นทางรอดทางเดียวที่เราจะหารายได้เข้ามาเพื่อมาหมุนเวียนในธุรกิจ เพื่อมาจ่ายค่าจ้างให้พนักงานและจ่ายค่าเช่าร้าน การขายออนไลน์จึงเป็นทางรอดทางเดียวที่เราต้องลุกขึ้นมาทำค่ะ
คุณเชอรี่ ยอมรับว่าตัวเองเป็นคน “โลว์เทค” แต่สำหรับเธอนั่นไม่ได้เป็นอุปสรรคขัดขวางการทำธุรกิจผ่านโซเชียลมีเดีย เธอเล่าให้เอสบีเอส ไทย ฟังถึงการปรับตัวครั้งใหญ่ของร้านและของตัวเธอเองว่า
คุณเชอรี่และลูกค้าที่ร้านในซิดนีย์
คุณเชอรี่และลูกค้าที่ร้านในซิดนีย์ Source: Supplied
“แรกๆ ก็ใช้ภาษาไม่เป็นเลยค่ะ เช่น การแคปหน้าจอ (การสั่งเก็บภาพที่แสดงอยู่บนจอโทรศัพท์มือถือทั้งหมดหรือบางส่วน) การให้คนกดไลค์ (กดปุ่มแสดงความถูกใจ) กดแชร์ (กดปุ่มเพื่อแบ่งปันเรื่องราวกับเพื่อนๆ บนเฟซบุ๊ก) แรกๆ เราก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แล้วจะต้องพูดตอนไหนในการไลฟ์สด ก็ต้องเข้ามาเรียนรู้ ทุกวันต้องมาคิดหัวข้อว่าเราจะพูดเรื่องอะไรในไลฟ์สด เสนอสินค้าตัวไหนดี ทำยังไงให้ลูกค้าไม่เบื่อ เราจะต้องมาพัฒนาบุคลิกตัวเองยังไง หรือจะแต่งหน้า จะใส่ชุดอะไรดี ลำบากอยู่นะคะ เพราะอายุเราก็เยอะ แต่ก็ต้องสู้ค่ะ” คุณเชอรี่ เล่าอย่างกระตือรือร้น

เธอฝากข้อคิดถึงเจ้าของธุรกิจที่เป็นคนโลว์เทค ให้เปิดใจเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี เพื่อให้พวกเขาเจาะตลาดออนไลน์ได้

“ขอให้ลุกขึ้นมาเรียนรู้สิ่งที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือของตัวเองก่อน เริ่มตรงนี้ก่อน แล้วค่อยมาคิดว่าจะพัฒนารูปแบบให้ดีขึ้นอย่างไร"
แต่แรกๆ ขอให้ทุกท่านอย่าเขิน อย่าอาย อย่ากลัว ให้ลุกขึ้นมาทำและมาเรียนรู้สิ่งต่างๆ ในโลกออนไลน์ทีละขั้นตอนไป
โปรดติดตามฟังบทสัมภาษณ์คุณเชอรี่ทั้งหมด เพื่อฟังเธอเล่าถึงความท้าทายและอธิบายความแตกต่างของการขายของหน้าร้านกับการขายของออนไลน์ ที่เจ้าของร้านและพนักงานต้องปรับตัวและใส่ใจจึงจะทำให้ธุรกิจออนไลน์เป็นไปได้อย่างดี รวมทั้งการพูดคุยในประเด็นว่าการมีหน้าร้านยังจำเป็นอยู่อีกหรือไม่ใ นยุคที่ค่าเช่าแพงแต่รายได้ของร้านไม่ได้มากอย่างเมื่อก่อนและธุรกิจสามารถขายออนไลน์ได้

เทศบาลนครซิดนีย์กำลังเปิดรับธุรกิจในซิดนีย์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการพัฒนาช่องทางการขายสินค้าผ่านสื่อออนไลน์ โดยให้การอบรมและให้คำปรึกษาจากผู้มีประสบการณ์ฟรี ผ่านโครงการ Retail Innovation Program ที่กำลังเปิดรับใบสมัครจากธุรกิจรุ่นต่อไปเข้าร่วมโครงการจนถึงวันที่ 30 ตุลาคมนี้ เจ้าของธุรกิจที่สนใจ สามารถอ่านรายละเอียดได้จากเว็บไซต์ของเทศบาลนครซิดนีย์

ในรัฐวิกตอเรีย เจ้าของธุรกิจที่ต้องการขยายธุรกิจสู่การขายออนไลน์ และต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สามารถดูรายละเอียดเกี่ยวกับการอบรมออนไลน์จาก

เจ้าของธุรกิจในรัฐอื่นๆ สามารถติดต่อสอบถามเรื่องความช่วยเหลือให้ธุรกิจขยายตลาดออนไลน์ได้จากองค์กรที่ดูแลด้านธุรกิจขนาดเล็กของรัฐบาลท้องถิ่นในรัฐของคุณ
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand