โอกาสที่ริบหรี่ของคนหางานที่มีข้อเสียเปรียบ

People sitting in an office waiting for a job interview

People at an office waiting for a job interview Source: Getty

วิกฤตโควิดส่งผลให้โอกาสที่จะมีงานทำยิ่งน้อยลงไปอีก สำหรับผู้หางานที่เสียเปรียบคนทั่วไป เช่นมีข้อจำกัดทางร่างกาย หรือสูงอายุ องค์กรกระบอกเสียงผู้ด้อยโอกาสชี้โครงการช่วยเหลือด้านการหางานทำของรัฐบาลไม่ได้ผลดีอย่างที่คาดหวัง บางโครงการยังส่งผลเสียมากกว่าผลดี


ขณะนี้มีสัดส่วนผู้หางานที่เสียเปรียบผู้อื่น 8 คน ต่องานระดับเริ่มต้นที่ไม่ต้องการประสบการณ์ 1 ตำแหน่งทั่วออสเตรเลีย จากรายงานล่าสุดของแองกลิแคร์ (Anglicare)

นับตั้งแต่การระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา สถิติดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นอย่างมากและชาวออสเตรเลียที่อายุมากกำลังได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้อย่างรุนแรงกว่าคนกลุ่มอื่น

ฟังรายงาน
LISTEN TO
jobs snapshot image

โอกาสที่ริบหรี่ของคนหางานที่มีข้อเสียเปรียบ

SBS Thai

15/10/202005:58
คุณเวนดี้ มอร์แกน เป็นหญิงวัย 60 ปี ที่อาศัยอยู่ในนครอะดิเลด เธอทำงานเป็นพนักงานทำความสะอาด ที่ทำงาน 2 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์

เธอมีปัญหาสุขภาพเรื้อรัง จึงไม่สามารถทำงานที่ต้องใช้แรงกายมากกว่านี้ได้ แต่งานที่เธอทำนั้นไม่เพียงพอที่จะทำให้เธอไม่ต้องขอรับเงินสวัสดิการผู้ว่างงานจ๊อบซีกเกอร์ (JobSeeker)

แต่เธอกล่าวว่า เธอยังคงต้องไปสัมภาษณ์งานอยู่เรื่อยๆ สำหรับงานที่เธอไม่มีคุณสมบัติพอจะทำได้ ไม่เช่นนั้น เธอจะไม่มีสิทธิ์รับความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาลสำหรับผู้ว่างงาน

“นายจ้างคนไหนจะให้งานแก่คนอายุ 60 ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนเลยสักวันในชีวิต สำหรับตำแหน่งที่ระบุในประกาศรับสมัครว่าต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 5 ปี แต่ตัวแทนจ๊อบเนตเวิร์ก (job network agency) ก็บอกว่า หากฉันไม่สมัครงานนั้น เงินช่วยเหลือสำหรับฉันจะยุติลง” คุณมอร์แกน กล่าว
อ่านเพิ่มเติม

ลดเงินช่วยเหลือ JobSeeker

โควิด-19 ได้กัดกร่อนอุตสาหกรรมทั้งหมดในปี 2020 และทำให้ออสเตรเลียตกสู่การเป็นหนี้สิน ที่จะกินเวลานานหลายปี

แต่คุณเคซี แชมเบอร์ ผู้อำนวยการบริหารขององค์กรการกุศล แองกลิแคร์ (Anglicare) กล่าวว่า เรายังคงไม่มีภาพรวมเต็มทั้งภาพ สำหรับการตกงานของประชาชนในปี 2020

รายงานล่าสุดของแองกลิแคร์ ชื่อรายงาน จ๊อบส์ สแนบชอต (Jobs Snapshot) ได้ทำการวิเคราะห์ว่า ขณะนี้มีงานกี่ตำแหน่งสำหรับประชาชนที่มีสิ่งกีดขวางอย่างมีนัยสำคัญต่อการทำงาน เช่น ประชาชนที่อายุมากแล้ว และผู้ที่ว่างงานมาเป็นระยะยาว

“ทั่วประเทศ มีผู้กำลังหางานที่มีความเสียเปรียบผู้อื่นเหล่านั้น 8 คน ต่องานระดับเริ่มต้นที่ไม่ต้องการประสบการณ์เลย 1 ตำแหน่ง แต่โดยเฉพาะในภาวะที่เศรษฐกิจถดถอยเช่นนี้ มีลูกจ้างที่ทำงานในสำนักงานมากมาย ซึ่งกำลังตกงาน และเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย พวกเขาก็มองหางานในสาขาอาชีพอื่นด้วยเช่นกัน” คุณแชมเบอร์ กล่าว

ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียและแทสเมเนีย จัดว่าสถานการณ์เลวร้ายกว่ารัฐอื่นๆ สำหรับการขาดโอกาสในการทำงานของประชาชนที่ไม่มีวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษาและผู้ที่มีปัญหาส่วนตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน

ในเซาท์ออสเตรเลีย ผู้กำลังหางานทำที่มีอุปสรรคด้านวุฒิการศึกษาที่ต่ำกว่าผู้อื่น มีสัดส่วน 10 คนต่องานระดับเริ่มต้น 1 ตำแหน่ง ขณะที่ในแทสเมเนียนั้น มีสัดส่วน 20 คนต่องาน 1 ตำแหน่ง

คุณมอร์แกน กล่าวว่า ระบบที่รัฐบาลใช้อยู่ไม่ได้ช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเลย รวมทั้งโครงการจ๊อบเมกเกอร์ (JobMaker) ที่เธอกล่าวว่า ไม่แยแสต่อชาวออสเตรเลียที่อายุมากอย่างเธอ

“พวกเขากล่าวว่า ฉันต้องสมัครงานขายปลีก แต่ฉันไม่เคยทำงานขายปลีกมาก่อนเลยในชีวิต ร้านค้าส่วนใหญ่ที่จะจ้างคนที่ไม่มีประสบการณ์ขายปลีกเลย มักจะต้องการคนอายุ 15 ที่จะทำงานให้ไม่กี่ชั่วโมงหลังเลิกเรียน 2-3 วันต่อสัปดาห์” คุณมอร์แกน เล่า

แองกลิแคร์ กำลังเรียกร้องให้มีการยกเลิกโครงการจ๊อบแอ็กทิฟ (Jobactive) ที่รัฐบาลสหพันธรัฐริเริ่มด้วย

โดยโครงการนี้พุ่งเป้าไปยังชาวออสเตรเลียที่อายุต่ำกว่า 35 ปี

“มันไม่ได้ให้ผลลัพธ์อย่างที่มุ่งหวัง รายงานเกือบทุกฉบับเกี่ยวกับโครงการนี้พบว่า มันไม่ได้ทำในสิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจากโครงการ มันสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก ดังนั้น เราควรใช้เงินในทางที่ทำให้เราได้สิ่งที่เราต้องการจะดีกว่า” คุณแชมเบอร์ ของแองกลิแคร์ กล่าว

คุณคริสเตน โอคอนเนอร์ โฆษกของสภาพลูกจ้างที่ว่างงานแห่งออสเตรเลีย เห็นด้วย เธอเชื่อว่าโครงการ จ๊อบแอ็กทิฟ (Jobactive) นี้กำลังทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี

“มันบั่นทอนความมั่นใจ กระบวนการที่ต้องทำอาจทำให้ผู้คนรู้สึกว่าด้อยค่า ที่ต้องพยายามหางานทำในพื้นที่ที่ตนอาศัยอยู่ ต้องสมัครงานที่ถูกบีบให้ต้องสมัครทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าไม่มีคุณสมบัติที่จะทำได้ มันทำให้ผู้คนท้อแท้และในที่สุดยังทำให้ความสามารถในการได้รับการจ้างงาน (Employability) ของพวกเขาน้อยลงด้วย” คุณโอคอนเนอร์ กล่าว
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

ไทยประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ยุติชุมนุมคณะราษฎร 63


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand