ชุดข้อมูลสังหาร: ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำมาใช้เพื่อฆ่าคนอย่างไร

Are robot killers the future in warfare (SBS).jpg

หุ่นยนต์นักฆ่าอาจเป็นอาวุธสงครามในอนาคต Source: SBS

นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจได้เสมือนมนุษย์ ทำงานได้ทุกภาคส่วน รวมถึงการทำสงครามด้วย ผู้เชี่ยวชาญออกมาเตือนถึงปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนและศีลธรรมที่ยังไม่มีการตรวจสอบให้เคร่งครัด


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

กลวิธีที่เราทำสงครามกำลังเปลี่ยนไป

ศาสตราจารย์โทบี วอล์ช (Toby Walsh) หัวหน้านักวิทยาศาสตร์จากสถาบันปัญญาประดิษฐ์แห่งมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (the Artificial Intelligence Institute at the University of New South Wales) กล่าวเตือนถึงการแข่งขันใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) ในการสร้างอาวุธใหม่

“คุณอาจคุ้นกับการเห็นโดรนบินผ่านน่านฟ้าของอัฟกานิสถานหรืออิรัก มันยังคงกึ่งอัตโนมัติ ยังคงมีมนุษย์ควบคุมด้วยมือหรือเหนี่ยวไก แต่โดรนเริ่มใช้คอมพิวเตอร์ตัดสินใจมากขึ้นเรื่อยๆ ตัดสินใจกำหนดเป้าหมายและจะสังหารใคร”
ข้อมูลจากองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ระบุว่า ระบบอัตโนมัติ ‘ค้นหา คัดเลือก และโจมตีเป้าหมายโดยไม่มีมนุษย์ควบคุมดูแล’

ระบบนี้เรียกว่า ‘หุ่นยนต์นักฆ่า (killer robots)’ สามารถวิเคราะห์ข้อมูล เช่น น้ำหนัก อายุ และเชื้อชาติเพื่อระบุและโจมตี

ด็อกเตอร์โอลกา โบชัค (Olga Boichak) นักสังคมวิทยาและวิทยากรด้านวัฒนธรรมดิจิทัลแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์อธิบาย (Digital Cultures at the University of Sydney)
AI ถูกใช้เพื่อฆ่าคนตามข้อมูลที่ได้รับ เรารู้ว่ากองทัพหลายแห่งทั่วโลกใช้ AI เพื่อระบุวัตถุที่อาจเป็นอันตราย เรียกว่าชุดข้อมูลสังหาร (death by meta-data) และนั่นเป็นเพราะชุดข้อมูลรายบุคคลที่อยู่บนโลกอินเทอร์เน็ตของใครบางคนคล้ายคลึงกับของผู้ก่อการร้าย
ศาสตราจารย์โบชัคอธิบาย
รายงานขององค์การสหประชาชาติระบุว่า การโจมตีด้วยโดรนอัตโนมัติครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 2020 โดยโดรนที่ผลิตโดยตุรกีถูกส่งไปในฉนวนความขัดแย้งที่ลิเบีย

นับแต่นั้นมา อาวุธประเภทนี้เริ่มเข้ามามีบทบาทที่อื่นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงสงครามที่ยูเครนด้วย

ข้อมูลของสถาบันกิจการระหว่างประเทศระหว่างแห่งออสเตรเลีย (Australian Institute of International Affairs) ระบุว่า รัสเซีย จีน อิสราเอล อินเดีย สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียเป็นประเทศผู้นำในการใช้ AI ด้านการทหาร

“อิสราเอลเป็นประเทศมีความสามารถอย่างมากในการพัฒนาอาวุธ และชายแดนกาซา (Gaza) ก็เป็นหนึ่งในพรมแดนที่มีการเฝ้าระวังมากที่สุด มีระบบ AI เคลื่อนที่อัตโนมัติเฝ้าระวังจำนวนมาก”
drone
โดรนบินผ่านทะเล Source: AAP
การให้เครื่องจักรตัดสินใจถึงความเป็นความตายนับเป็นปัญหาทางศีลธรรม สิ่งนี้ทำให้ผู้เชี่ยวชาญออกมาเรียกร้องให้มีการควบคุมอาวุธอัตโนมัติที่อันตรายถึงชีวิต ภายใต้อนุสัญญาของสหประชาชาติว่าด้วยอาวุธบางประเภท (UN's Convention on Certain Conventional Weapons) และกำหนดให้อาวุธทางเคมีและชีวภาพเป็นสิ่งต้องห้ามภายใต้อนุสัญญาเจนีวา (Geneva Convention) เมื่อปี 1925 เช่นกัน

คุณดาเนียลา กัฟชอน (Daniela Gavshon) ผู้อำนวยการองค์กรสิทธิมนุษยชน (Human Rights Watch) กล่าว
อาวุธเหล่านี้ทำงานโดยปราศจากการควบคุมของมนุษย์ ไม่มีคุณสมบัติของมนุษย์ในการตัดสินใจหรือความเห็นอกเห็นใจ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวิเคราะห์ว่าอะไรคือเป้าหมายที่ถูกต้องตามกฎหมาย และจากนั้นควรเดินหน้าหรือถอยกลับในช่วงเวลาต่างๆ
คุณกัฟชอนอธิบายถึงอันตรายของเรื่องนี้
ศาสตราจารย์วอล์ชกังวลว่ายังไม่มีการตระหนักถึงความเป็นจริงเรื่องอาวุธอัตโนมัติและเรียกร้องให้มีการดำเนินการก่อนที่จะสายเกินไป

“ตัวอย่างของสิ่งที่ผมกังวลมากที่สุดคือเรือดำน้ำอัตโนมัติของรัสเซียที่ชื่อว่าโพไซดอน (Poseidon) มีขนาดเท่ากับรถบัส ใช้พลังงานนิวเคลียร์ ดังนั้นสามารถเดินทางได้โดยไม่จำกัดเรื่องระยะทางและมีความเร็วสูงมาก เชื่อว่ามันบรรทุกระเบิดนิวเคลียร์ไว้ด้วย สิ่งนี้สามารถขับเข้ามาที่ท่าเรือที่ซิดนีย์ได้ และระบบอัลกอริทึม (algorithm) จะตัดสินใจเริ่มสงครามนิวเคลียร์ได้โดยอัตโนมัติ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand