ทนายไทยไขข้อข้องใจหลากกรณีหย่าร้างในออสเตรเลีย

House and Scales of Justice

การหย่าร้างอาจต้องมีการเจรจาแบ่งทรัพย์สินและข้อตกลงร่วมกันในการเลี้ยงดูบุตร Source: Getty / Getty images

คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความคนไทยในรัฐนิวเซาท์เวลส์ตอบคำถามหลากกรณีการหย่าร้างว่ากรณีใดทำได้หรือไม่ได้ และคุณสามารถติดต่อหาความช่วยเหลือทางกฏหมายและการสนับสนุนเรื่องภาษาได้จากที่ใด


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในนครซิดนีย์ แนะนำข้อกฎหมายเบื้องต้นสำหรับการหย่าในออสเตรเลีย (ตอนที่ 2) พร้อมไขข้อข้องใจในกรณีการหย่าร้างที่มักพบบ่อยในออสเตรเลีย

ไม่ได้ทำงานและไม่มีเงินเก็บทำอย่างไร ระหว่างและหลังหย่าร้าง

คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในนครซิดนีย์ มีข้อแนะนำในการหย่าร้างในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ทำงานและไม่มีเงินเก็บ ว่าเราควรจะทำอย่างไรกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่เกี่ยวกับบุตรในระหว่างหรือหลังกระบวนการหย่าร้าง

คุณปริตาแนะนำว่า ควรติดต่อหน่วยงาน เพื่อขอความช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายในการดูแลเด็ก ( ได้ทันที

“ขอให้ติดต่อทำเรื่องของ Child support เพื่อขอพวก tax benefit หรือจาก Centrelink ได้เลย ไม่ต้องรอให้การแบ่งทรัพย์สิน ( Property Settlement) ให้เสร็จสิ้น

 
Lawyer nsw photo 1.jpg
คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในรัฐนิวเซาท์เวลส์ Credit: supplied by Parita Pethpipat

ในกรณีโดยเฉพาะผู้หญิงที่อาจต้องออกจากงานหรือไม่ได้ทำงานนานเพราะต้องเลี้ยงดูบุตร จะสามารถดำเนินการขอรับการช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายส่วนตัวในระหว่างหรือหลังกระบวนการหย่าร้างได้อย่างไร คุณปริตาให้คำแนะนำว่าเราอาจไปลงเรียนเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองในการกลับไปทำงานหรือสามารถทำเรื่องให้อีกฝ่ายหนึ่งช่วยเหลือด้านค่าใช้จ่ายให้เราจนกระทั่งเราสามารถกลับไปทำงานได้

เราสามารถเจรจาทำเรื่อง maintenance order เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่ง (กรณีที่มีหน้าที่การงานดี มั่นคงที่จะช่วยเหลือได้) จ่ายเงินเลี้ยงดูเราสักระยะหนึ่งซึ่งจะแยกจาก Child support เพื่อที่จะให้เรากลับไปเรียนหรือสามารถกลับมายืนได้ด้วยตนเอง
คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความในนครซิดนีย์


ไม่มีเงิน แล้วต้องขึ้นศาล จะหาความช่วยเหลือจากที่ไหน


คุณปริตา ชี้ว่าให้ติดต่อองค์กรเช่น Legal aid หรือ community service ในท้องถิ่นของตน แต่ถ้าในกรณีที่ติดต่อ Legal aid แล้วแต่องค์กรเหล่านี้ไม่เข้าข่ายที่จะสามารถให้ความช่วยเหลือได้ ให้ลองติดต่อสมาคมทนายความในรัฐของคุณเพื่อหาโครงการที่อาจมีการช่วยเหลือให้คำปรึกษาทนายฟรี


“อย่างในรัฐนิวเซาท์เวลส์ จะมีพวก ของ Law society NSW ที่มีทนายที่รับทำเคสฟรีในแต่ละปี ที่อาจจะ refer เราไปได้”



คุณ ปริตา กล่าวว่าในกรณีที่มีการแบ่งทรัพย์สินแล้วเราอาจจะสามารถได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สิน ทนายครอบครัวอาจจะว่าความให้ก่อนแล้วเราจ่ายค่าทนายทีหลัง


“ทนายครอบครัวอาจคุยกับเราแล้วถ้าเค้ามองว่าเราอาจมีสิทธิที่จะได้ส่วนแบ่งในทรัพย์สินนั้น เค้าอาจให้เราทำสัญญาว่าจะทำเคสให้เราก่อน แล้วเราจ่ายคืนเค้าทีหลังจากได้รับเงินที่มาจากการแบ่งทรัพย์สินนั้น”


ไม่มั่นใจเรื่องภาษาจะทำอย่างไร


คุณปริตาแนะนำว่าเราสามารถแจ้งความประสงค์ในการขอล่ามโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับองค์กรต่างๆ ของรัฐบาลได้ หรือโดยจรรยาบรรณทนายอาจจะเป็นคนจัดหาล่ามมาให้ลูกความก็ได้หากเกิดปัญหาในการสื่อสาร

เวลาที่เราคุยกับองค์กรรัฐบาล เช่น Legal aid เวลาเราโทรไปจองนัดเราสามารถบอกได้ว่าเราต้องการล่ามภาษา เมื่อถึงเวลาทนายจะติดต่อล่ามก่อนแล้วจึงต่อสายมาคุยกับเรา เพราะฉะนั้นจะคุยผ่านล่ามตลอด ไม่ต้องกลัวว่าภาษาไม่ได้
คุณ ปริตา เพชรพิพัฒน์ ทนายความรัฐนิวเซาท์เวลส์

“โดยปกติจะเป็นหน้าที่ของทนาย ถ้าคุยกับลูกความแล้วรู้สึกว่าลูกความไม่เข้าใจเรา ทนายต้องเป็นคนจัดหาล่ามมาคุย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการผิดกฎทนายเช่นกัน”

บริการล่ามโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย


LISTEN TO
divorce interview full  image

ทนายคนไทยให้ข้อมูลการหย่าร้างในออสเตรเลีย

SBS Thai

05/02/202427:56


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 






บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 





Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand