อาจใช้เวลา 6 ปีกว่าจะฉีดวัคซีนโควิดให้คนได้ทั่วโลก

นพ. สันจายา เซนานายาเค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ

นพ. สันจายา เซนานายาเค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ Source: AAP

ผู้เชี่ยวชาญของออสเตรเลีย กล่าวว่า อาจต้องใช้เวลานานถึง 6 ปีกว่าที่คนทั่วโลกจะได้รับการฉีดวัคซีนต่อต้านโควิด-19 อย่างทั่วถึง


ผู้เชี่ยวชาญชาวออสเตรเลียสามคน ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับวิกฤตด้านสุขภาพจากเชื้อไวรัสโคโรนา โดยกล่าวว่าอาจต้องใช้เวลานานถึง 6 ปีกว่าที่คนทั่วโลกจะได้รับการฉีดวัคซีนต่อต้านโควิด-19 ได้ทั่วถึง ซึ่งจะต้องมีการแบ่งปันวัคซีนให้ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ด้วย เพื่อทำให้แน่ใจว่าเชื้อกลายพันธุ์ที่อันตรายกว่าจะไม่ผุดขึ้นมา

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของออสเตรเลียกลุ่มนี้ ได้กล่าวแสดงความเห็นที่สมาคมผู้สื่อข่าวแห่งชาติ หนึ่งในนั้นคือ นพ. สันจายา เซนานายาเค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ ซึ่งกล่าวว่า ขณะที่ราว 70 ประเทศทั่วโลกเริ่มฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชน แต่จากอัตราการฉีดขณะนี้ จะใช้เวลาราว 6 ปี กว่าจะฉีดวัคซีนให้ประชากรครบร้อยละ 75 ของประชากรโลก

เขากล่าวว่า นี่ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา

หากเรายังคงดำเนินการฉีดวัคซีนให้ได้ทั่วโลกเช่นนี้ต่อไป ขณะที่การติดเชื้อในส่วนอื่นๆ ของโลกยังคงเกิดขึ้นโดยไม่มีการติดตามดูแล เราก็จะเห็นเชื้อสายพันธุ์ที่อันตรายกว่าผุดขึ้นมาอีก ซึ่งอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีนได้

“ดังนั้น หากคุณมีความคิดชาตินิยมเกี่ยวกับวัคซีน ต้องการให้วัคซีนส่งผลอย่างดีที่สุดต่อประเทศของคุณเอง คุณก็ต้องมีความไม่เห็นแก่ตัวเกี่ยวกับวัคซีนด้วย และพยายามทำให้แน่ใจได้ว่าวัคซีนถูกจัดส่งให้ประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ อย่างเพียงพอและทันท่วงที” นพ. เซนานายาเค ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ กล่าว
ศ.โรเบิร์ต บอย เป็นกุมารแพทย์ด้านโรคติดเชื้อ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ เขากล่าวว่า จำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยที่ดีกว่านี้และศึกษาในคนจำนวนมากกว่านี้ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีน

แอฟริกาใต้ ระงับการฉีดวัคซีนของแอสตราเซนากา หลังมีสถิติบางอย่างชี้ว่า วัคซีนดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการปกป้องน้อยลงสำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อยถึงปานกลางจากเชื้อไวรัสโคโนราสายพันธุ์ใหม่ที่พบในแอฟริกาใต้

ศ.บอย กล่าวว่า ขณะที่เขาไม่ต้องการทำเหมือนไม่แยแสต่อความวิตกดังกล่าว แต่เขาเชื่อว่า ระบบสุขภาพที่แตกต่างของออสเตรเลีย และลักษณะความเป็นอยู่ของประชากรในแอฟริกาใต้ ทำให้การเปรียบเทียบในประเด็นนี้ทำได้ยาก

“ผมต้องการโต้แย้งว่า ผลที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้อาจไม่ใช่เพียงเพราะเชื้อไวรัส แต่มันเพราะประชากรหรือผู้คนด้วย เพราะพวกเขาอาศัยอยู่ในสภาพที่แออัดเช่นนั้นในหลายๆ กรณี นอกจากคนไม่มากนักที่ร่ำรวย พวกเขาจึงมีพลังผลักดันที่สูงกว่าจากการติดเชื้อ ดังนั้น เชื้อจึงแพร่ระบาดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้ง่ายกว่า จึงดูเหมือนว่าวัคซีนอย่างของจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน หรือของแอสตราเซเนกา มีประสิทธิภาพน้อยลง แต่ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะประชากรและพฤติกรรม ดังนั้น ประสิทธิภาพของวัคซีนร้อยละ 60 ในแอฟริกาใต้ ความจริงแล้วอาจเป็นร้อยละ 80 ในประเทศที่รวยกว่า ซึ่งมีประชากรน้อยกว่าและมีระบบดูแลสุขภาพที่ดีกว่า” ศ. บอย ให้เหตุผล
ล่าสุด รัฐวิกตอเรียได้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เชื่อมโยงกับการระบาดของเชื้อในโรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ สาขาสนามบินเมลเบิร์น ซึ่งเป็นที่กักกันโรคผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ

ศ.แมรีลุยส์ แมกลอว์ส ปรึกษาชาวออสเตรเลีย ขององค์กรอนามัยโลก กล่าวว่า วัคซีนอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอที่จะควบคุมการระบาดของเชื้อโควิด-19 ได้

เธอกล่าวว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องปรับปรุงโครงการกักกันโรคให้แข็งแกร่งขึ้น ซึ่งขณะนี้โครงการกักกันโรคสำหรับผู้มาจากต่างประเทศเป็นความเสี่ยงที่มากที่สุดของออสเตรเลีย

เรามีสิ่งที่น่าเป็นห่วงต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงที่เชื้อจะแพร่ะกระจายไปสู่ชุมชนของเราได้ ดังนั้น จึงสำคัญที่เราจะต้องไม่มีการละเมิดข้อกำหนดใดๆ เลยในโครงการกักกันโรคของเรา ต้องไม่มีเลย

“เรามีเชื้อสายพันธุ์ บี117 จากอังกฤษ ซึ่งใช้เวลาเพียง 4 เดือนในการกลายเป็นเชื้อสายพันธุ์หลัก ราวร้อยละ 83 ของเชื้อที่แพร่กระจายอยู่ทั้งหมด เชื้อสายพันธุ์แอฟริกาใต้ใช้เวลาเพียง 3 เดือน ดังนั้น ฉันจึงเตือนอยู่เสมอว่า เราจำเป็นต้องพยุงโครงการกักกันโรคของเราไว้ มันอาจไม่สามารถทำให้ยอดเยี่ยมได้ แต่มันต้องดีที่สุด” ศ.แมกลอว์ส ปรึกษาชาวออสเตรเลีย ขององค์กรอนามัยโลก ย้ำ


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand