เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่นในออสเตรเลียได้ แม้มีปัญหาการได้ยิน

ชยธร ศักดาทร หรือเบส เยาวชนไทยในออสเตรเลียแชร์ประสบการณ์ได้รับความช่วยเหลือด้านการได้ยินจากภาครัฐของออสเตรเลีย

ชยธร ศักดาทร หรือเบส เยาวชนไทยในออสเตรเลียแชร์ประสบการณ์ได้รับความช่วยเหลือด้านการได้ยินจากภาครัฐของออสเตรเลีย Source: Chayathorn Sakdatorn

ชยธร ศักดาทร หรือเบส เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่น แม้จะมีปัญหาการได้ยิน ต้องขอบคุณความช่วยเหลือฟรีจากภาครัฐในออสเตรเลียที่มีให้แก่เด็กๆ ที่มีปัญหาสูญเสียการได้ยิน


ชยธร ศักดาทร หรือเบส เยาวชนไทยในออสเตรเลียแชร์ประสบการณ์ได้รับความช่วยเหลือด้านการได้ยินจากภาครัฐของออสเตรเลีย ทั้งให้พบผู้เชี่ยวชาญและได้รับเครื่องช่วยฟังฟรีมูลค่าหลายพันเหรียญ ตั้งแต่อายุ 12 ปีจนโตเป็นผู้ใหญ่ เขาเล่าว่าปัญหาสูญเสียการได้ยินสร้างความท้าทายอย่างไร ความช่วยเหลือที่เขาได้รับอย่างต่อเนื่องจากภาครัฐของออสเตรเลีย พร้อมย้ำให้สังคมเปิดใจยอมรับในความแตกต่างของผู้พิการทุพพลภาพ เพื่ออุ้มชูให้คนกลุ่มนี้ได้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอย่างแท้จริง

กด ▶ เพื่อบทสัมภาษณ์ทั้งหมด
LISTEN TO
thai_200722_bass_hearing_loss.mp3 image

เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่นในออสเตรเลียได้ แม้มีปัญหาการได้ยิน

SBS Thai

21/07/202223:03
“ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้ตระหนักรู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่ มันก็จะไม่เกิดบรรยากาศของการอุ้มชู มันจะกลายเป็นว่าคนพิการเป็นคนที่น่าสงสารตลอดไป เพราะเขาช่วยตัวเองไม่ได้ แต่บางคนเขาต้องการช่วยตัวเอง เขาต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้”: ชยธร ศักดาทร

ชยธร ศักดาทร (Chayathorn Sakdatorn) หรือเบส ย้ายมาอาศัยอยู่ที่ซิดนีย์มาตั้งแต่ตอนที่เขาอายุ 12 ปี และมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในออสเตรเลีย เขาเล่าถึงให้เราฟังถึงต้นเหตุที่ทำให้เขาสูญเสียการได้ยินไปในบางส่วนในช่วงวัยเด็ก

“ตอนเด็กๆ ผมชอบว่ายน้ำมากและไปว่ายน้ำที่สโมสรหน้าหมู่บ้านตลอดเวลา ตอน 5-6 ขวบ เกิดอาการติดเชื้ออักเสบในหู เลยไปหาหมอ ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่เชียงใหม่ ก็รักษาไปตามอาการ แล้วกลายเป็นว่าพอเชื้อมันหายไปแล้ว แต่การได้ยินก็สูญเสียไป ตอนนั้นก็ไม่รู้ว่าการได้ยินมันสูญเสียไปมากน้อยแค่ไหน จนได้มาที่ออสเตรเลีย เข้า ม.1 นี่แหละครับ” เบส เล่า

“ตอนนั้นเขาก็มีการตรวจสุขภาพประจำปีพอดี ซึ่งรวม (การตรวจ) หูอยู่ในนั้นด้วย เขาก็ตรวจไปและพบว่าผมมีปัญหาด้านการได้ยินและมันก็ค่อนข้างซีเรียส เขาเลยออกจดหมายให้ ณ ตอนนั้นเลยว่า น่าจะมีปัญหาหูชั้นกลาง และควรต้องใส่เครื่องช่วยฟัง คือถ้าถามว่าอาการหนักไหม ก็คิดว่าน่าจะหนักครับ เพราะเขาดูตกใจนิดนึงว่า เฮ้ย ไม่ได้ยินเลยเหรอ” เบส กล่าวปนหัวเราะ
เครื่องช่วยฟังที่คุณเบสได้รับฟรีจากภาครัฐของออสเตรเลีย จากสมัยก่อนที่มีขนาดใหญ่และมามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ
เครื่องช่วยฟังที่คุณเบสได้รับฟรีจากภาครัฐของออสเตรเลีย จากสมัยก่อนที่มีขนาดใหญ่และมามีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ Source: Chayathorn Sakdatorn
เขาบอกว่า ก่อนจะมาอยู่ออสเตรเลีย ทั้งตัวเขาเองและครอบครัวไม่ได้ตระหนักว่า เรื่องการได้ยินจะกลายเป็นปัญหาใหญ่สำหรับเด็กได้หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับความช่วยเหลือ

“ตอนที่ยังไม่เคยได้ hearing aids (เครื่องช่วยฟัง) ครอบครัวผมเขารู้ว่า จะต้องพูดกับผมดังๆ แต่โดยส่วนตัวตอนแรกผมไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา อาจจะเพราะคนอื่นพูดดังด้วย จะเริ่มเป็นปัญหาตอนมาอยู่(ในออสเตรเลีย) ใหม่ๆ ช่วงเดือนสองเดือนแรกที่ยังไม่ได้เครื่องช่วยฟัง แล้วมันเป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคยด้วย อันนี้เลยเริ่มเกิดปัญหา ก็ถือว่าดีที่เขามาตรวจตอนนั้นแล้วเจอ ไม่งั้นคงจะทำให้เรียนรู้ยากพอสมควรครับ”
ตอนแรกผมไม่ได้รู้สึกว่ามันเป็นปัญหา อาจจะเพราะคนอื่นพูดดังด้วย จะเริ่มเป็นปัญหาตอนมาอยู่ (ในออสเตรเลีย) ใหม่ๆ แล้วมันเป็นภาษาที่เราไม่คุ้นเคย ดีที่เขามาตรวจเจอ ไม่งั้นคงทำให้เรียนรู้ยากพอสมควร
จากนั้นเบสก็ได้รับความช่วยเหลือฟรีจากภาครัฐและองค์กรด้านนี้โดยเฉพาะคือ จึงทำให้เขาได้รับเครื่องช่วยฟังภายในเวลาไม่นานนัก

“ตอนนั้นตั้งแต่ตรวจที่โรงเรียนไปจนถึงผมได้รับเครื่องช่วยฟังเครื่องแรกในชีวิตใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือน ซึ่งถือว่าไม่นานเลย แต่เดี๋ยวนี้เร็วกว่านั้นอีก เครื่องรุ่นที่ผมมีข้างละประมาณ 4,000-6,000 ดอลลาร์ ซึ่งผมได้ฟรีมาสองข้าง โดยที่นี่ (ออสเตรเลีย) เขาจะมีบริการให้ (เครื่องช่วยฟัง) ฟรีจนถึงอายุ 26 ปี”
เครื่องรุ่นที่ผมมีข้างละ 4,000-6,000 ดอลลาร์ ผมได้ฟรีมาสองข้าง โดยที่นี่ (ออสเตรเลีย) เขาจะมีบริการให้ (เครื่องช่วยฟัง) ฟรีจนถึงอายุ 26 ปี
เครื่องช่วยฟังที่มองจากด้านหลังคล้ายขาแว่นตา
เครื่องช่วยฟังที่มองจากด้านหลังคล้ายขาแว่นตา Source: Chayathorn Sakdatorn
เบสฝากข้อคิดว่า การที่สังคมจะช่วยสนับสนุนผู้มีความพิการทุพพลภาพอย่างแท้จริงนั้นต้องเริ่มจากการเปิดใจยอมรับและเคารพในความแตกต่าง

“ถ้าคนในสังคมไม่เข้าใจพวกเรา ไม่ได้ปลูกฝังให้มีความตระหนักรู้ว่าในสังคมมีใครบ้างที่อยู่ร่วมกับคุณ มีคนตาบอด มีคนขาไม่ดี มีคนนั่งรถเข็น มีคนหูไม่ได้ยิน ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้ตระหนักรู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่ มันก็จะไม่เกิดบรรยากาศของการอุ้มชูขึ้นมา มันก็จะกลายเป็นว่าคนพิการจะเป็นคนที่น่าสงสารตลอดไป เพราะเขาช่วยตัวเองไม่ได้ เพราะเขาใช้ชีวิตด้วยตัวเองไม่ได้ เขาไม่มีความภูมิใจในตัวเองที่ต้องขอความช่วยเหลือตลอดเวลา การช่วยกันนั้นดี แต่บางคนเขาต้องการช่วยตัวเอง เขาต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ ดังนั้นในสังคมจึงควรมีทั้งความช่วยเหลือในด้านอุปกรณ์และการสร้างความตระหนักรู้ ถ้าเราสามารถทำให้คนกลุ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของสังคมได้จริงๆ เราจะไปไกลมาก”
ถ้าคนส่วนใหญ่ในสังคมไม่ได้ตระหนักรู้ว่ามีคนเหล่านี้อยู่ มันก็จะไม่เกิดบรรยากาศของการอุ้มชู มันจะกลายเป็นว่าคนพิการเป็นคนที่น่าสงสารตลอดไป เพราะเขาช่วยตัวเองไม่ได้ แต่บางคนเขาต้องการช่วยตัวเอง เขาต้องการใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้
“ผมคิดว่าการจะเปลี่ยนสังคมโดยรวมให้เกิดความเข้าใจได้ต้องเริ่มจากสถาบันครอบครัว เริ่มจากสื่อ เริ่มจากการปลูกฝังเทรนด์ของโซเชียลให้เห็นว่าเรื่องนี้มันน่าสนใจ เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องน่าเบื่อ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ห้ามแตะต้อง ไม่ได้เป็นเรื่อง sensitive มันก็จะเป็นการให้ความรู้ การสร้างเทรนด์ให้มันเป็นเรื่องปกติในสังคม”
คุณเบสที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนทำให้แทบสังเกตไม่เห็น
คุณเบสที่ใส่เครื่องช่วยฟัง ซึ่งมีขนาดเล็กมากจนทำให้แทบสังเกตไม่เห็น Source: Chayathorn Sakdatorn
ฟังการพูดคุยทั้งหมดกับคุณ ชยธร ศักดาทร หรือเบส ซึ่งอธิบายปัญหาการสูญเสียการได้ยินว่ามีลักษณะหลากหลายเหมือนคนที่มีปัญหาด้านสายตา เสียงแบบไหนที่เขาไม่ได้ยิน เครื่องช่วยฟังเป็นอย่างไร เขายังได้เล่าถึงการจัดการกับความท้าทายอย่างไรขณะมีปัญหาด้านการได้ยินและต้องทำงานในร้านอาหาร และแสดงความเห็นด้านความตระหนักรู้และการยอมรับที่คนในสังคมควรมีให้แก่ผู้ที่มีข้อจำกัดทางร่างกาย พร้อมฝากข้อคิดถึงครอบครัวในการช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูกหลานที่ใช้เครื่องช่วยฟัง

LISTEN TO
thai_200722_bass_hearing_loss.mp3 image

เติบโตเป็นหนุ่มสุดมั่นในออสเตรเลียได้ แม้มีปัญหาการได้ยิน

SBS Thai

21/07/202223:03


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Hearing Services Program และโครงการ National Disability Insurance Scheme (NDIS) ที่มีความช่วยเหลือโดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลออสเตรเลีย สำหรับพลเมืองและผู้อยู่อาศัยถาวรของออสเตรเลีย ได้ที่เว็บไซต์ของ Hearing Australia


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand