คุณแม่คนไทยกับการเลี้ยงเด็กพิเศษที่ออสเตรเลีย

disabled_family-a family with a disabled boy together-pexels-rdne-stock-project.jpg

ครอบครัวพ่อแม่ ลูกที่เป็นเด็กพิเศษ และลูกสาว ที่สวนแห่งหนึ่ง Credit: Pexels/RDNE stock project

ในวันแรกๆ ที่มีคนทักว่าลูกไม่ปกติ คุณอ้อมพยายามปฏิเสธว่าไม่จริง แต่แล้วก็ตัดสินใจพาลูกไปตรวจ ฟังคุณอ้อม คุณแม่คนไทย เล่าถึงการเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษ เรื่องราวการเลี้ยงลูก สวัสดิการ และสังคมที่ออสเตรเลีย


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คุณอ้อม (นามสมมติ) เล่าถึงวันที่พยาบาลสงสัยในพฤติกรรมของลูกคุณอ้อมที่พูดช้า

“ตอนนั้นเถียงพยาบาลไปว่า เพราะว่าที่บ้านพูด 2 ภาษาหรือเปล่า เด็กอาจจะยังไม่ถนัด”
disabled_family-A family with a disabled boy together (2)-pexels-rdne-stock-project.jpg
ครอบครัว พ่อ แม่ ลูกชายที่เป็นเด็กพิเศษ และลูกสาวอยู่ด้วยกัน Credit: Pexels/RDNE stock project
จนเมื่อคุณอ้อมพาลูกไปไชล์ดแคร์ (Childcare) พี่เลี้ยงก็บอกให้คุณอ้อมลองเอาลูกไปตรวจ เนื่องจากลูกพูดช้า ไม่เล่นกับเด็กคนอื่น และจดจ่ออยู่กับของเล่นเพียงชิ้นเดียว

คุณอ้อมจึงพาลูกไปตรวจกับแพทย์จีพี (GP) เพื่อส่งตัวไปหากุมารแพทย์ (Paediatrician) หมอจิตแพทย์ และนักบำบัดการพูด (Speech therapist) ประมาณ 3-4 เดือนถึงจะรู้ผล
จริงๆ ในใจก็เตรียมใจไว้อยู่แล้วนะคะ แต่พอไปฟังผลจริงๆ ก็ตกใจเหมือนกัน เพราะว่าคุณหมอเค้าก็ยืนยันครบทุกคน ลงความเห็นว่าลูกยูเป็นนะ
คุณอ้อมเล่าถึงวันที่ตัดสินใจพาลูกไปตรวจ
โดยแพทย์ลงความเห็นว่าลูกของคุณอ้อมเป็นออทิสติก (Autistic) ระดับกลาง (moderate)

“อดคิดไม่ได้ว่า เอ๊ะ เป็นเพราะเราที่เลี้ยงลูกผิดหรือเปล่า”

 “แรกๆ เค้า (สามี) เหมือนกับยังไม่ค่อยยอมรับเท่าไหร่อ่ะค่ะ เค้ารู้สึกว่าลูกเค้าไม่ได้เป็นอะไรซักหน่อย จริงๆ เค้าไม่ได้เห็นด้วยกับการที่เอาลูกไปตรวจนู่นนี่นั่นแล้วค่ะ ... เค้าใช้เวลานานกว่าอ้อมอีกในการที่จะยอมรับว่าลูกเค้าเป็นแบบนี้อ่ะค่ะ”
คุณอ้อมเล่าให้ฟังถึงการเลี้ยงลูกที่เป็นเด็กพิเศษว่า เด็กที่เป็นเด็กพิเศษแต่ละคนมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน โดยลูกของคุณอ้อมมีปัญหาเรื่องการเข้าสังคมและการตอบสนองกับอารมณ์ของผู้อื่น แต่ไม่มีปัญหาเรื่องการเรียน

“บางทีอ่านตำรา อ่านตามพวกผู้เชี่ยวชาญนี่มันก็ช่วยได้ระดับนึง"
แต่สุดท้ายเราก็ต้องมาดูลูกของเราเองด้วย ว่าเค้ามีตรงไหนที่ต้องบำบัด แล้วก็ไปโฟกัสที่ตรงนั้นเอา
คุณอ้อมเล่าถึงการดูแลตัวเอง โดยเฉพาะการเข้าสังคม

“เวลาออกไปข้างนอกเนี่ย เราต้องคอยประกบเค้าตลอด ... เพราะบางทีเค้าจะไปเล่นกับเด็กคนอื่นผิดวิธี จะแบบไปผลักเค้าบ้าง คือนั่นคือวิธีการเล่นของเค้าอ่ะค่ะ เพราะฉะนั้นก็จะเหนื่อยพ่อกับแม่ที่จะต้องคอยไปประกบเค้า แล้วก็คอยอธิบายให้ผู้ปกครองคนอื่นฟัง”
disabled-A father walk with a disabled boy pulling a luggage at a train station-pexels-rdne-stock-project.jpg
คุณพ่อกับลูกชายเด็กพิเศษเดินด้วยกันบริเวณสถานีรถไฟ Credit: Pexels/RDNE stock project
และคุณอ้อมยังเล่าถึงการไปโรงเรียนของลูกที่เป็นเด็กพิเศษ สวัสดิการสำหรับเด็กและผู้ปกครอง (NDIS) รวมถึงการยอมรับของสังคมที่ออสเตรเลีย
คนที่เนี่ย อ้อมคิดว่าเค้าค่อนข้างเปิดกว้าง เปิดรับเรื่องนี้ มีความช่วยเหลือจากรัฐบาลค่อนข้างเยอะอ่ะค่ะ
ฟังรายละเอียดทั้งหมดได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ เพื่อฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai Interview Raising disabled child 070823 image

คุณแม่คนไทยกับการเลี้ยงเด็กพิเศษที่ออสเตรเลีย

SBS Thai

07/08/202321:47
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand