วิธีจัดการกับการกลั่นแกล้งที่โรงเรียนและทางออนไลน์

Australia Explained - Bullying

"การหยอกล้อที่เจ็บปวดเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่พบได้บ่อยที่สุดที่พวกเขาเจอ" ศาสตราจารย์กรีนกล่าว Credit: Maskot/Getty Images/Maskot

การมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและไม่แบ่งแยกเป็นภารกิจของโรงเรียนทุกแห่งในออสเตรเลีย แต่หากลูกของคุณถูกรังแกที่โรงเรียน ผู้ปกครองควรทำอย่างไร? ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จิตวิทยา และการรับมือเรื่องการกลั่นแกล้งบนอินเทอร์เน็ตมีคำแนะนำ


ประเด็นสำคัญ
  • การกลั่นแกล้งอาจเกิดจากบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคน และสิ่งที่มองว่าการล้อเล่นที่ไม่เป็นอันตรายอาจกลายเป็นการกลั่นแกล้งได้
  • ทุกโรงเรียนในออสเตรเลียมีกระบวนการป้องกันและรับมือกับการกลั่นแกล้งที่โรงเรียน
  • คุณสามารถแจ้งถึงการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ที่ออสเตรเลียได้

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

พฤติกรรมกลั่นแกล้ง (bully) มีหลายรูปแบบและหลายระดับ ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ผู้เชี่ยวชาญแนะว่าไม่ควรเพิกเฉย

ศาสตราจารย์เดโบราห์ กรีน จากแผนกอนาคตการศึกษาของมหาวิทยาลัยเซาท์ ออสเตรเลียสรุปผลกระทบระยะยาวของการกลั่นแกล้งที่มีต่อเหยื่อและต่อสังคม โดยพิจารณาจากค่าใช้จ่ายในการให้ความช่วยเหลือและทางการแพทย์

“1 ใน 4 ของนักเรียนชั้นปีที่ 9 (มัธยมศึกษาปีที่ 3) ในออสเตรเลียรายงานว่าถูกรังแกทุกๆ 2-3 สัปดาห์ หรือบ่อยกว่านั้น มีรายงานว่าการกลั่นแกล้งมีค่าใช้จ่าย $2.3 ล้านที่สังคมต้องจ่าย โดยเป็นค่าใช้จ่ายในระหว่างที่เด็กศึกษาอยู่ที่โรงเรียนจนถึง 20 ปีหลังจากจบการศึกษา”
พฤติกรรมประเภทใดที่เข้าข่ายการกลั่นแกล้ง? และแตกต่างจากการล้อเล่นที่ไม่อันตรายอย่างไร?

ศาสตราจารย์กรีนอธิบายถึงคำจำกัดความที่ออสเตรเลีย ซึ่งบรรยายการกลั่นแกล้งว่าเป็น ‘การใช้อำนาจกับความสัมพันธ์ในทางที่ผิดโดยเจตนาและต่อเนื่อง ผ่านพฤติกรรมทางวาจา ร่างกาย และ/หรือทางสังคมซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยมีเจตนามุ่งร้าย การกลั่นแกล้งอาจกระทำโดยบุคคลหนึ่งหรือกลุ่มคนที่ใช้อำนาจในทางที่ผิดต่อบุคคลหนึ่งหรือมากกว่านั้น’

ศาสตราจารย์กรีนกล่าวว่า องค์ประกอบของเจตนามุ่งร้าย ความไม่สมดุลของอำนาจ และการเกิดขึ้นซ้ำๆ เป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้การกลั่นแกล้งแตกต่างจากการยุแหย่ของเด็ก อย่างไรก็ตาม รายงานล่าสุดชี้ว่าการกลั่นแกล้งและการยุแหย่มีความคล้ายกัน

"เพราะเมื่อพฤติกรรมแบบนั้นบ่อนทำร้ายผู้ที่ต้องเผชิญและเกิดขึ้นซ้ำๆ พฤติกรรมยุแหย่จะกลายเป็นการกลั่นแกล้ง"
เมื่อเด็กออสเตรเลียตอบคำถามเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งและการหยอกล้อ พวกเขาตอบว่าการหยอกล้อที่เจ็บปวดเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่พบได้บ่อยที่สุดที่พวกเขาเจอ ตามด้วยการเล่าเรื่องโกหกอย่างเจ็บปวดที่เกี่ยวกับพวกเขา
ศาสตราจารย์กรีนกล่าว
Australia Explained - Bullying
การล้อเลียนที่สร้างความเจ็บปวดเป็นพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่พบบ่อยที่สุด ตามมาด้วยการโกหกที่เกี่ยวกับพวกเขา Credit: FatCamera/Getty Images
ศาสตราจารย์คาร์เมล ทัดเดโอทำงานร่วมกับศาสตราจารย์กรีนในโครงการวิจัย โครงการนำร่องของรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ความช่วยเหลือในการป้องกันการกลั่นแกล้งในโรงเรียน

ศาสตราจารย์ทัดเดโออธิบายว่า ถึงแม้แต่ละโรงเรียนจะมีนโยบายแตกต่างกัน ทุกโรงเรียนควรมีวิธีป้องกันการกลั่นแกล้ง รวมถึงการรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ ความพิการ เชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาด้วย

โรงเรียนควรมีขั้นตอนที่ชัดเจนในการจัดการเหตุการณ์กลั่นแกล้งที่มีการรายงานและให้ความช่วยเหลือแก่เด็กที่ถูกกลั่นแกล้ง

“ปกติแล้ว เมื่อมีการรายงานเหตุการกลั่นแกล้ง ข้อมูลจะถูกรวบรวมและบันทึกเพื่อหาวิธีแทรกแซงและสิ่งที่ควรทำเพื่อความปลอดภัยและสุขภาวะที่ดีของนักเรียน ในบางกรณี นักเรียนอาจถูกส่งต่อให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยเหลือและบริการช่วยเหลือต่างๆ แน่นอนว่าเรื่องนี้ต้องหารือกับนักเรียนและครอบครัวของพวกเขาก่อน หากนักเรียนหรือผู้ปกครองไม่พอใจกับขั้นตอนที่โรงเรียนดำเนินการ พวกเขาสามารถร้องเรียนต่อฝ่ายจัดการของกระทรวงศึกษาธิการได้”
Australia Explained - Bullying
การกลั่นแกล้งทางออนไลน์อาจเป็นการสร้างบัญชีแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง หรือเนื้อหาทางเพศที่ใช้ AI Credit: fcafotodigital/Getty Images
เมื่อเด็กรายงานถึงการกลั่นแกล้ง เป็นเรื่องปกติที่ผู้ปกครองจะมีอารมณ์ร่วม

สิ่งสำคัญคือต้องให้ความมั่นใจแก่เด็กว่าคุณพร้อมจะช่วยเหลือพวกเขา

ศาสตราจารย์ทัดเดโอแนะนำวิธีสงบสติอารมณ์และปฏิบัติตามกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

“ผู้ปกครองอาจเริ่มด้วยการขอนัดพบครูของเด็กหรือเจ้าหน้าที่ เช่น ที่ปรึกษาสุขภาพจิต และควรจดบันทึกเมื่อเข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน อธิบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ถามถึงขั้นตอนการดำเนินการโดยละเอียดและระยะเวลาการดำเนินการ ถามเรื่องการรักษาความลับและความช่วยเหลือที่อาจมีให้แก่เด็ก ควรจดบันทึกทุกครั้งที่เข้าพบกับเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน สอบถามความคืบหน้าเพื่อทราบถึงสถานการณ์และเพื่อให้เจ้าหน้าที่บอกความคืบหน้ากับคุณด้วย”

พอล คลาร์กเป็นผู้บริหารฝ่ายการจัดการของฝ่ายการศึกษา การป้องกัน และการรวมกลุ่มที่ หรือคณะกรรมาธิการเพื่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ หน่วยงานรัฐบาลที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนออสเตรเลียที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์

คลาร์กอธิบายสิ่งที่ควรทำเมื่อมีเหตุกลั่นแกล้งทางออนไลน์ (cyberbully) และอธิบายขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือของ eSafety

“หากมีเด็กที่ถูกกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ สกรีนชอตหน้าจอ บันทึก URL ไว้ก่อนที่ช่วยให้เด็กปิดหรือบล็อกบัญชี จากนั้นหากคุณรายงานกับแพลตฟอร์มที่มีการกลั่นแกล้งเกิดขึ้นและไม่มีการดำเนินการใดๆ รายงานกับ esafety.com.au เรามีอำนาจในการลบเนื้อหาที่เป็นอันตรายร้ายแรง”
Australia Explained - Bullying
ทุกโรงเรียนควรมีวิธีป้องกันการกลั่นแกล้ง รวมถึงการรณรงค์เรื่องความหลากหลายทางเพศ ความพิการ เชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาด้วย Source: Moment RF / Natalia Lebedinskaia/Getty Images
การกลั่นแกล้งทางออนไลน์อาจเกินเลยมากกว่าแค่คอมเมนต์ที่น่ารังเกียจ

ตัวอย่างของการกลั่นแกล้งทางออนไลน์ในรูปแบบที่ร้ายแรงกว่าที่รายงานกับ eSafety คือ การสร้างบัญชีแอบอ้างเป็นบุคคลอื่น การข่มขู่ว่าจะใช้ความรุนแรง หรือเนื้อหาทางเพศที่ใช้ AI (Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์)

เมื่อ eSafety ได้รับรายงาน พนักงานจะตรวจสอบเนื้อหาและบริบทในการพิจาณาว่าการกลั่นแกล้งที่รายงานเกิดขึ้นจริงหรือไม่

“ผมขอยกตัวอย่างกรณีเด็กผู้ชายที่เราช่วยไว้ ผู้ปกครองของเด็กรายงานถึงโพสต์และบัญชีปลอมที่ล้อเลียนการชอบรถเมล์ของลูกชาย เรื่องแบบนี้อาจถูกมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่บริบทคือกุญแจสำคัญ เด็กผู้ชายคนนี้พิการและต้องเผชิญกับการรังแกทางออนไลน์ พนักงานของเราตัดสินใจว่าเป็นไปตามกรณีที่ควรดำเนินการและจัดการลบสิ่งเหล่านั้นได้สำเร็จ”
Australia Explained - Bullying
"เราแนะนำให้ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือลูกๆ ให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ด้วยกัน และให้พวกเขาแน่ใจว่ามีความช่วยเหลือทางจิตใจที่พวกเขาต้องการ" คลาร์กจาก eSafety Commissioner กล่าว Credit: triloks/Getty Images
ในกรณีที่สงสัยหรือได้รับการยืนยันถึงการถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ คลาร์กไม่แนะนำให้ผู้ปกครองยึดอุปกรณ์ของเด็กไป

“เราเข้าใจว่านี่เป็นสัญชาติญาณตามธรรมชาติในการปกป้องลูกจากอันตราย แต่มันอาจส่งผลให้เด็กไม่ขอความช่วยเหลือในอนาคตได้ เพราะพวกเขากลัวว่าจะถูกยึดอุปกรณ์ไป ดังนั้น เราแนะนำให้ผู้ปกครองให้ความช่วยเหลือลูกๆ ให้ผ่านสถานการณ์นั้นไปได้ด้วยกัน และให้พวกเขาแน่ใจว่ามีความช่วยเหลือทางจิตใจที่พวกเขาต้องการ”

เจมี เคนดัลล์ ที่ปรึกษาจาก บริการให้คำปรึกษาแก่เด็กอายุตั้งแต่ 5 ขวบ ทางโทรศัพท์และทางออนไลน์

เขากล่าวว่า วิธีที่มักใช้ในการรับมือกับการกลั่นแกล้ง ได้แก่ การเดินหนี การใช้มุขตลกเพื่อเบี่ยงเบน หรือการไม่สนใจผู้ที่มีพฤติกรรมกลั่นแกล้ง

อย่างไรก็ตาม เคนดัลล์อธิบายว่าวิธีเหล่านี้สามารถใช้ได้ในระยะสั้นและส่งเสริมให้เด็กขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ หากเจอกับพฤติกรรมกลั่นแกล้งที่เกิดขึ้นซ้ำหรือกระทบกับความรู้สึก

“มันเป็นเรื่องปกติที่เราอยากพยายามและจัดการด้วยตัวเราเองก่อนบอกผู้ใหญ่ แต่บางครั้งเราอาจไม่รู้ว่าเมื่อไหร่คือเวลาที่ควรมีคนเข้ามาช่วยเหลือ ดังนั้นควรบอกใครสักคนทันทีที่เกิดขึ้น เป็นวิธีที่ดีในการมีความช่วยเหลือเพื่อจัดการกับมัน แม้กระทั่งการบอกผู้ใหญ่ที่บ้านหรือที่ไว้ใจว่า ‘ฉันโอเคที่จะพยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองในตอนนี้ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง หากมีอีก ฉันอาจขอความช่วยเหลือจากคุณ’
Australia Explained - Bullying
การเดินหนี การใช้มุขตลกเพื่อเบี่ยงเบน หรือการไม่สนใจผู้ที่กลั่นแกล้งอาจช่วยได้ในระยะสั้น Credit: FangXiaNuo/Getty Images
สำหรับผู้ใหญ่ สิ่งแรกที่ต้องทำคือเปิดโอกาสให้เด็กบอกถึงสิ่งที่เกิดขึ้น นับเป็นวิธีสร้างพลังในการจัดการกับการกลั่นแกล้ง

ท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใหญ่ที่เด็กไว้ใจทุกคนต้องทำงานร่วมกัน

“แม้คุณจะถามเด็กถึงสิ่งที่เกิดขึ้น แต่ยังรู้สึกว่ายังมีอะไรบางอย่าง ควรปฏิบัติตัวในลักษณะของผู้ใหญ่ เช่น ‘ฉันรู้ว่าคุณบอกฉันว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ฉันยังรู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างเกิดขึ้น จะเป็นอะไรไหม หากฉันจะสอบถามกับครูที่โรงเรียน? เพียงเพื่อดูว่าคุณเป็นยังไง หรือครูจะมีเรื่องอะไรนอกจากนี้ไหม’ เราทุกคนสามารถทำงานร่วมกันในชุมชนเพื่อช่วยเด็กที่ถูกกลั่นแกล้ง ไม่จำเป็นต้องพูดคุยเรื่องนี้กับคนเพียงคนเดียว”
Australia Explained - Bullying
ผู้ใหญ่ควรเปิดโอกาสให้เด็กเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น นับเป็นวิธีสร้างพลังอย่างหนึ่งให้แก่เด็ก Credit: triloks/Getty Images
  • หน่วยงานของโรงเรียนและนโยบายป้องกันและรับมือกับการกลั่นแกล้งในโรงเรียนของแต่ละเขตอำนาจศาล  
  • ข้อมูลเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งทางออนไลน์และความช่วยเหลือ และข้อมูลที่แปลไว้  
  • Kids Helpline เป็นหน่วยงานที่ให้บริการช่วยเหลือแก่เด็กที่อายุตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปทางโทรศัพท์และทางออนไลน์ 24 ชั่วโมง โทร 1800 55 1800 หรือเว็บไซต์
อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก  


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand