วิกฤติโคโรนาส่งผลต่อสุขภาพจิตของ ปชช

A young man looks at his mobile sitting on steps.

Source: Getty Images/Bancha Srijaroen/EyeEm

รายงานจากองค์กรการกุศลด้านสุขภาพจิต ระบุว่ามีประชาชนที่กำลังมีปัญหาเรื่องความวิตกกังวลโทรศัพท์เข้ามาขอความช่วยเหลือมากขึ้น นับตั้งแต่มีวิกฤติเชื้อไวรัสโคนา


บริการให้ความช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตอย่าง ไลฟ์ไลน์ (Lifeline) และ บียอนด์ บลู (Beyond Blue) บอกว่า การแยกตัวเพื่อกักโรคอาจกระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวล และพวกเขากำลังทำงานหามรุ่งหามค่ำเพื่อช่วยชาวออสเตรเลียรับมือกับปัญหานี้
การแวะพักเครื่องที่ท่าอากาศยานมิลาน-มัลเปนซา ประเทศอิตาลี เพียง 1 ชั่วโมง ระหว่างช่วงวันหยุดพักร้อนในทวีปยุโรปหมายความว่าคุณเอียนและคุณโรบิน วิดัล จะต้องแยกตัวเพื่อกักโรคเมื่อพวกเขาเดินทางกลับมายังประเทศออสเตรเลีย

คู่รักจากซิดนีย์คู่ดังกล่าวบอกว่าตอนนี้ก็เพิ่งเข้าสู่วันที่ 4 ของระยะเวลาแยกตัวเพื่อกักโรค 2 สัปดาห์ และพวกเขาพยายามจะคิดบวกกับเรื่องนี้

“มันดำเนินไปอย่างดีมากๆ เราได้ทำความสะอาดออฟฟิศที่บ้าน...”

“ใช่ เราทำอะไรหลายๆ อย่าง ที่เราไม่ได้เคยทำมาก่อนจริงๆ และมันน่าจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายลงเล็กน้อย และยังได้ตระหนักว่ามันยังมีสิ่งดีๆ มากมายอยู่ในนั้น”

แต่ในฐานะเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้ คุณโรบิน วิดัล บอกว่ามันยากมากที่จะไม่กังวลเกี่ยวกับอนาคตเลย

“มันเป็นปัจจัยภายนอกที่เราไม่รู้ ไม่รู้ว่าทุกสิ่งทั้งหมดนี้จะเป็นไปอีกนานเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่ในด้านการแยกตัวเพื่อกักโรค แต่มันคือปัญหาด้านสาธารณสุขทั้งหมดของเชื้อโควิด 19 ที่กำลังดำเนินต่อไป” 

คุณจอห์น โบรกเดน ประธานบริการสายด่วนด้านสุขภาพจิต ไลฟ์ไลน์ (Lifeline) บอกว่าการโทรศัพท์เข้ามายังบริการช่วยเหลือช่วงภาวะวิกฤต ได้เพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ช่วงฤดูไฟป่า และอย่างน้อย 1 ใน 4 ของประชาชนที่โทรเข้ามา รายงานว่าตนมีอาการวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา

“มีความเป็นไปได้อย่างยิ่งว่า หากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโคโรนานี้แย่ลง เราคงจะได้เห็นคนโทรศัพท์เข้ามาหาเรากว่า 1 ล้านสายต่อปี”  

คุณ โบรกเดน ยังบอกว่าอีก เจ้าหน้าที่ของ Lifeline จำนวนมากและบรรดาอาสาสมัคร ทำงานทางไกลจากนอกออฟฟิศ เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถให้บริการแก่ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามา ตลอด 24 ชั่วโมง

“คนที่อยู่คนเดียว คนที่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างที่พวกเขาเคยมีมาเป็นประจำ คนที่กังวลกับการออกไปข้างนอก ผมหมายถึงว่า คุณไม่จำเป็นต้องมีเชื้อไวรัส หรือไม่จำเป็นต้องมีแม้แต่ความเสี่ยงติดเชื้อไวรัส ในตอนนี้ แต่คุณก็อาจกระวนกระวายว่าคุณควรจะออกไปซื้อของนอกบ้านหรือไม่”
ขณะที่คำแนะนำอย่างเป็นทางการของกระทรวงสาธารณสุขของให้ชาวออสเตรเลียทุกคนทำการเว้นระยะห่างทางสังคม ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตบางบางคนบอกว่า มันยังมีหนทางที่จะมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้คนได้

คุณอแมนดา กอร์ดอน นักจิตวิทยาจากอาร์มแชร์ ไซโคโลจี (Armchair Psychology) อธิบายว่า

“แทนที่จะส่งข้อความหากัน ให้ยกหูโทรศัพท์ขึ้นมาและใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้คุณใกล้ชิดกับคนอื่นๆ มากขึ้น” 

สำหรับผู้ที่ต้องแยกตัวเพื่อกักโรคพร้อมกับเด็กๆ อยู่ที่บ้าน องค์การต่างๆ รวมไปถึงบียอนด์ บลู (Beyond Blue) ได้แบ่งปันเคล็ดลับเพื่อช่วยให้ครอบครัวรับมือกับปัญหานี้ได้

นั่นคือ ให้รักษาความรู้สึกของการปฏิบัติตามกิจวัตรประจำ เล่นเกมและออกกำลังกาย จำกัดการเข้าถึงสื่อ และที่สำคัญที่สุดคือต้องสร้างความมั่นใจให้แก่กัน

“ถ้าคุณเริ่มทำสิ่งที่ชาวออสเตรเลียมักจะทำเป็นปกติและดูแลคนรอบข้าง เราจะพบว่ามันทุกข์ทรมานน้อยลงสำหรับตัวเราเอง”

ถ้าคุณรู้สึกมีปัญหาและต้องการคุยกับใครสักคน สามารถติดต่อที่เบอร์โทรศัพท์ด้านล่างนี้

  • Lifeline crisis support โทร 13 11 14
  • Suicide Call Back Service โทร 1300 659 467
  • 1800RESPECT โทร 1800 737 732 
  • Kids Helpline (สำหรับเยาวชนอายุระหว่าง 5 – 25 ปี) โทร 1800 55 1800
  • บริการรล่ามภาษาไทย โทร 131 450 แล้วแจ้งภาษาและบริการที่คุณต้องการ
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ and .


 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 




Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand