ค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย

Man and woman at work

ผู้ชายและผู้หญิงทำงานร่วมกัน Source: Fauxels/Pexel

จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ถึงสนธิสัญญาการได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมของออสเตรเลีย 70 กว่าปีที่แล้วจนถึงวันนี้ผู้หญิงก็ยังไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันกับผู้ชาย วันนี้กับวิกฤตไวรัสโคโรนา ผู้หญิงในออสเตรเลียตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากมากขึ้นกว่าเดิมอย่างไร


LISTEN TO
Pay equity advocates call out COVID's unequal effect on financial security image

ค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย

SBS Thai

07/09/202009:39
ผู้สนับสนุนการได้รับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันในออสเตรเลียเล็งเห็นปัญหาความมั่นคงทางการเงินของผู้หญิงซึ่งได้รับผลกระทบจากวิกฤตไวรัสโคโรนาที่แตกต่างจากผู้ชาย

ผู้หญิงในออสเตรเลียต้องทำงานเพิ่ม 59 วันต่อปีเพื่อมีรายรับเทียบเท่ากับผู้ชาย

“วันนี้เรายืนอยู่ในจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ ทั้งในยุคขององค์การสหประชาชาติและของมวลมนุษยชาติ”

ในปี ค.ศ. 1948 เอลินอร์ รูสเวลต์ เป็นหนึ่งในหลายคนที่ยกย่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปฏิญญาที่ถูกยึดถือเป็นหลักปฏิบัติของการมีค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันในการทำงาน

ตั้งแต่นั้นมาทั่วโลกก็ยอมรับแง่คิดของการมีค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน โดยที่ผู้ชายและผู้หญิงสามารถรับค่าตอบแทนเท่ากันในการทำงานที่เท่ากันหรือเปรียบเทียบเท่ากัน

ในปี ค.ศ. 1969 ผู้หญิงในออสเตรเลียได้ทำสนธิสัญญาในการรับค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกัน

51 ปีผ่านไปก็ยังมีผู้หญิงอีกหลายคนที่ยังไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เท่ากับผู้ชาย

ลิบบี้ ลีออนส์ ผู้อำนวยการของสำนักงานสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน ได้กล่าวถึงความล้มเหลวของการปกป้องโดยกฎหมาย

“เรายังคงพบว่ามีนายจ้างที่จ่ายลูกจ้างผู้หญิงไม่เท่ากับที่จ่ายลูกจ้างผู้ชาย และไม่ทำตามข้อกำหนดของกฎหมาย ซึ่งมันเป็นสิ่งที่น่ากังวลมาก”

สำนักงานสนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงานคำนวณค่าตอบแทนที่ต่างกันระหว่างหญิงและชายสำหรับคนที่ทำงานแบบฟูลไทม์ปัจจุบันอยู่ที่ 14 เปอร์เซ็นต์

ในเดือนพฤษภาคมปีนี้ ค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยรายสัปดาห์ของผู้หญิงที่ทำงานแบบฟูลไทม์ทุกอาชีพและทุกสาขาสูงกว่า 1,500 ดอลลาร์เพียงเล็กน้อย (1,558.40 ดอลลาร์)

ในขณะที่ค่าตอบแทนโดยเฉลี่ยรายสัปดาห์ของผู้ชายที่ทำงานแบบฟูลไทม์อยู่ที่ประมาณ 1,800 ดอลลาร์ (1,812 ดอลลาร์)

เมไรยาห์ โฟลี่ย์ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยสตรีกับการทำงานโดยภาควิชาธุรกิจของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ชี้แจงว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผู้ชายและผู้หญิงได้รับค่าตอบแทนต่างกัน

“สิ่งที่มีมาตั้งแต่ในอดีตและยังมีอยู่คือการให้ความสำคัญในการทำงานของผู้หญิงนั้นไม่ได้รับการตีราคาที่เหมาะสม เช่น ในสาขาพยาบาล การศึกษา การดูแลคนชรา และการค้าขาย เป็นต้น เรารู้ว่าการเลือกปฏิบัติก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกันทางเพศ เพราะฉะนั้นถึงแม้ว่าผู้หญิงและผู้ชายจะทำงานในสาขาอาชีพเดียวกัน ก็ดูเหมือนว่าผู้หญิงจะได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าผู้ชาย อีกประการหนึ่งก็คือการที่ผู้หญิงต้องรับภาระในการดูแลผู้อื่นโดยที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนในสังคมของเรา" 

ผู้หญิงยังคงเสียเปรียบจากผลกระทบของธุรกิจที่ตกต่ำจากวิกฤตไวรัสโคโรนามากกว่าผู้ชาย

นักวิจัยจากสถาบันของออสเตรเลียพบว่า ในระหว่างเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนจำนวนผู้หญิงที่ตกงานหล่นมาอยู่ที่ 5.3 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ของผู้ชายอยู่ที่ 3.9 เปอร์เซ็นต์

ศาสตราจารย์เรย์ คูเปอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ในการทำงานและการจ้างงานจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ให้ความเห็นว่าขอบเขตที่แท้จริงของผลกระทบจากโควิด 19 ต่อความแตกต่างของรายรับนั้นยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน 

“ถ้าให้คาดการณ์ เราจะเห็นผลกระทบจากการได้รับค่าตอบแทนที่แตกต่างระหว่างเพศเพราะอิทธิพลเรื่องความแตกต่างระหว่างเพศมีอยู่ทุกที่ โควิดทำให้หลายคนตกงาน แต่ผู้หญิงคือคนส่วนใหญ่ที่ตกงาน และผู้หญิงถือเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ของการตกงานที่เกิดจากโควิด เรากำลังเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านอื่นที่กำลังจะเกิดขึ้น มีผู้หญิงบางคนที่ทำงานในหน่วยงานที่มีลูกจ้างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก”

ดีแอน สจ๊วต ผู้บริหารระดับสูงของ เฟิร์ส สเตท ซุปเปอร์ กองทุนเงินบำนาญออสเตรเลียที่ไม่แสวงผลกำไรเผยว่าผู้หญิงถอนเงินบำนาญก่อนกำหนดมากกว่าผู้ชายที่ทำงานในสาขาอาชีพเดียวกัน

“สิ่งที่เราเป็นห่วงคือสิ่งนี้จะยิ่งทำให้ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่มีอยู่แล้วแย่ลงไปอีกในแง่ของเงินบำนาญ 47 เปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงจะเกษียณโดยมีเงินบำนาญที่น้อยกว่าผู้ชาย ดังนั้นโควิด 19 และผลกระทบของมันน่าตกใจมาก”

นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งของการอภิปรายเรื่องการได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกันจากเพศที่แตกต่างกันยังมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงการตีความเกี่ยวกับเพศอีกด้วย

ในที่นี้ได้รวมถึงการตีความอัตลักษณ์ทางเพศในหลายขอบเขต จากการข้ามเพศถึงการไม่จำกัดเพศและเพศที่เปลี่ยนแปลงคำจำกัดความได้ 

มาเรียน แบร์ด ศาสตราจารย์ด้านเพศและความสัมพันธ์ในการจ้างงานภาควิชาธุรกิจจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ชี้ว่า องค์กรต่างๆ ควรให้ความสำคัญต่อการยอมรับถึงความหลากหลายทางเพศและสถานะทางสังคมในการสนทนาเรื่องการได้รับค่าตอบแทนที่แตกต่างด้วย

“เรามีสถานะทางเพศที่เกิดขึ้นใหม่ที่เพิ่มความซับซ้อนทางรูปแบบของเพศ หลายบริษัทรับรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ในเบื้องหน้า พวกเขาต้องสร้างความมั่นใจในการวางนโยบายเพื่อให้มีการตรวจสอบว่าบริษัทปฏิบัติต่อลูกจ้างที่มีสถานะทางเพศที่ต่างกันอย่างเท่าเทียมหรือไม่ รวมถึงการปฏิบัติต่อกลุ่มคนที่แตกต่างอย่างเท่าเทียมอย่างไรด้วย”

ลิซ่า แอนนีส ผู้บริหารสูงสุดของสภาความหลากหลายออสเตรเลียเสริมถึงการได้รับค่าตอบแทนที่แตกต่างของผู้หญิงในออสเตรเลียที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

“เราทราบดีว่าการเลือกปฏิบัติมีแนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเราพูดถึงผู้หญิงที่มีภูมิหลังทางวัฒนธรรมและภาษาที่แตกต่าง ในขณะที่เราไม่สามารถวัดปริมาณค่าตอบแทนที่แตกต่างได้ เพราะข้อมูลไม่สามารถแสดงผลได้ตรงตามวิธีการที่ใช้เปรียบเทียบค่าตอบแทนที่แตกต่าง โดยรวมเราทราบว่าการเลือกปฏิบัติมีแนวโน้มที่สูงขึ้นและผลลัพธ์ที่แย่ลงในกรณีที่ผู้หญิงที่มีอัตลักษณ์ทางเพศที่ไม่เฉพาะเจาะจง”

เมไรยาห์ โฟลี่ย์ จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ชี้ว่า ความโปร่งใสคือหัวใจสำคัญในการกำจัดการได้รับค่าตอบแทนที่ไม่เท่าเทียมกันเนื่องจากปัจจัยทางเพศในสถานที่ทำงาน

“สิ่งหนึ่งที่องค์กรต่างๆ สามารถทำเพื่อจัดการกับปัญหาคือการตรวจสอบเรื่องค่าตอบแทนภายในองค์กรอย่างจริงจัง และนำผลที่ตรวจสอบมาแสดง เพื่อรับรู้ถึงปัญหาและแก้มันอย่างจริงจัง”

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand