'พิธา' วิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย การส่งออกแรงงาน และ soft power

Photo-Pita interview  (4).png

พิธามองอำนาจกลางจะช่วยให้มีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น Credit: SBS

'พิธา' วิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย แนะสร้างแรงงานทักษะสูง ภาษาอังกฤษแข็งแรง ย้ำไม่ใช่ทุกเรื่องจะเป็น soft power ได้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

จากงานเสวนามองสถานการณ์และอนาคตประชาธิปไตยในอาเซียน ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยมีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกลเข้าร่วมงาน หนึ่งในประเด็นที่มีการกล่าวถึงคือความร่วมมือระหว่างประเทศของไทยและออสเตรเลีย

เอสบีเอสไทยสัมภาษณ์ถึงความเห็นและมุมมองในประเด็นดังกล่าว

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ออสเตรเลีย

ประเทศไทยและออสเตรเลียมีความสัมพันธ์ทางการทูตร่วมกันกว่า 70 ปี ทั้งไทยและออสเตรเลียเป็นสมาชิกอาเซียน โดยออสเตรเลียเป็นประเทศพาร์ทเนอร์ที่ร่วมก่อตั้งอาเซียนเป็นประเทศแรก มีบทบาทมากในการให้ความช่วยเหลือและส่งเสริมประชาธิปไตยในภูมิภาค

พิธามองว่าไทยสามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับออสเตรเลียให้ดีขึ้นได้อีก ทั้งเรื่องการพัฒนาศักยภาพ การค้า การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการร่วมกันแก้ปัญหาหรือความท้าทายที่กำลังเผชิญ เพื่อให้สามารถเข้าไปอยู่ในห่วงโซ่มูลค่า (value chain) ของโลกร่วมกันได้ โดยไม่เลือกข้างตามประเทศมหาอำนาจ

“ใช้ competitive advantage ของทั้ง 2 ประเทศให้กลายเป็น collective advantage”

พิธามองว่า เมื่อเรามีอำนาจกลาง (middle power) ในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก เราจะมีอำนาจในการต่อรองมากขึ้น และอาจพัฒนาไปสู่การเป็นสะพานเชื่อมมหาอำนาจได้
labour-Man in orange hoodie jacket harvesting coffee beans-pexels-thủy-durio.jpg
คนทำงานในฟาร์มกำลังเก็บผลไม้ Credit: Pexels/Thủy Durio

การพัฒนาศักยภาพแรงงานไทย

ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในประเทศจุดหมายปลายทางของการศึกษาต่อและการมาทำงานของคนไทย

สำหรับการพัฒนาศักยภาพแรงงานไทย พิธามองว่าต้องเริ่มจากในประเทศไทยและปรับตามตลาดของแต่ละประเทศที่จะส่งไป โดยสนับสนุนการส่งออกแรงงานที่เป็น hi-tech และ hi-touch เช่น อาชีพบาร์เทนเดอร์หรือสาขาอาชีพการช่างต่างๆ

“ตอนที่ผมไปนิวยอร์ก บาร์เทนเดอร์เป็นอาชีพเป็นที่ต้องการมาก มันเป็นสิ่งที่คนไทยเก่ง เป็นสิ่งที่คนไทยขายได้ เป็นสิ่งที่อยู่ใน DNA ของคนไทยอยู่แล้ว”

นอกจากเรื่องทักษะแล้ว พิธาย้ำว่าควรมีการฝึกฝนภาษาอังกฤษตั้งแต่แรก โดยยกตัวอย่างคนมาเลเซียว่าสามารถพูดได้ 4 ภาษาจึงเป็นข้อได้เปรียบเมื่อเป็นแรงงานในต่างประเทศ

ในทางกลับกัน ไทยควรดูแลสวัสดิภาพแรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยด้วย เช่น แรงงานจากเมียนมาร์และกัมพูชา

รวมถึงสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนไทยในต่างแดน ทั้งการถูกขูดรีดเอาเปรียบและแรงงานที่เข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย
มาที่นี่ก็มีความเสี่ยง มาที่นี่ต้นทุนชีวิตก็สูงเหมือนกัน ถึงแม้ว่าจะมีระบบสาธารณูปโภคที่ดี แต่ก็ยังเป็นประชาชนชั้นสอง เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการเจรจา
พิธากล่าว
Mechanic fixing car engine-Pexel-Malte Luk.jpeg
ช่างกำลังซ่อมรถยนต์ Credit: Pexel-Malte Luk

การผลักดัน Soft power ของไทย

การส่งออก soft power ที่รัฐบาลไทยยกให้เป็นวาระแห่งชาติ พิธาวิเคราะห์ว่าไม่ใช่ทุกอย่างจะเป็น soft power ได้ทั้งหมด ยังมีปัจจัยเรื่องธุรกิจสร้างสรรค์ (creative economy) การสร้างแบรนด์ (branding) และการตลาด (marketing) ร่วมด้วย

เมื่อถามถึงสิ่งที่ไทยจะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติ รวมถึงชาวออสเตรเลีย ให้เดินทางเข้ามาประเทศไทย พิธาคิดว่าจุดแข็งของประเทศไทยคือเรื่องทักษะทางเทคนิค (technical skill) ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศเพื่อนบ้านสามารถมาศึกษาเพื่อกลับไปพัฒนาประเทศได้

“Technical skill ที่คนไทยมี ในอุตสาหกรรมยานยนต์ สิ่งทอ งานฝีมือ การทำอาหาร การท่องเที่ยว”
Photo-Pita interview  (7).png
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ขณะให้สัมภาษณ์กับ SBS Credit: SBS
ในส่วนท้ายของบทสัมภาษณ์ พิธายังได้เล่าถึงประสบการณ์เมื่อครั้งเป็นนักศึกษาต่างชาติที่นิวซีแลนด์ ความประทับใจกับเมืองเมลเบิร์น รวมถึงประเด็น Global Citizen

ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
ฟังบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai_Interview_Pita Aus Thai relations_110724 image

'พิธา' วิเคราะห์ความสัมพันธ์ไทย-ออสเตรเลีย การส่งออกแรงงาน และ soft power

SBS Thai

12/07/202411:59

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand