พิธาร่วมเสวนามองสุขภาพประชาธิปไตยอาเซียนที่ม.เมลเบิร์น

Asialink

"สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหลายๆ อย่างก็มีอยู่ในภูมิภาคของเรา" พิธา ลิ้มเจริญรัตน์กล่าว Credit: Aaron Francis

พิธา ลิ้มเจริญรัตน์เข้าร่วมเสวนาในงาน Southeast Asia Oration จัดโดยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น พูดคุยเกี่ยวกับอนาคตประชาธิปไตยในไทยและภูมิภาคอาเซียน


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคมที่ผ่านมา ภาควิชาเอเชียศึกษา (Asia Institute) มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น (University of Melbourne) จัดงานเสวนาในหัวข้อเซาท์อีสต์ เอเชีย ออเรชัน (Southeast Asia Oration) โดยมีพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคก้าวไกลขึ้นกล่าวสุนทรพจน์และร่วมเสวนากับนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น

งานเสวนา Southeast Asia Oration เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาแบบซีรีส์ จัดขึ้นเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และอนาคตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มุ่งเสริมสร้างความร่วมมืออันดีกับพันธมิตรในภูมิภาค ขับเคลื่อนแนวทางแก้ไขที่มีประสิทธิผลโดยอิงจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เพื่อรับมือกับความท้าทายที่เผชิญร่วมกัน
กด ▶️ ฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai_Interview_Pita in AU_090724 image

พิธาร่วมเสวนามองสุขภาพประชาธิปไตยอาเซียนที่ม.เมลเบิร์น

SBS Thai

05/07/202413:01
Asialink
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ที่งานเสวนา Southeast Asia Oration จัดโดยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย Credit: Aaron Francis
พิธากล่าวกับเอสบีเอสไทยว่า ภาควิชาเอเชียศึกษาที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นสนใจภูมิภาคอาเซียนเป็นพิเศษ จึงได้รับเชิญมาพูดเกี่ยวกับอนาคตของประชาธิปไตยในภูมิภาคนี้ อีกทั้งยังเป็นคนแรกจากภูมิภาคอาเซียนที่ได้รับเชิญมาร่วมงานเสวนาแบบซีรีส์ดังกล่าว

การเสวนาเพื่อ "ความยั่งยืน" ของประชาธิปไตยในภูมิภาค

ในงานเสวนา มีการหารือเรื่องอนาคตประชาธิปไตยในอาเซียนและในประเทศไทย รวมถึงวิเคราะห์สถานการณ์ในอาเซียนที่อาจกระทบกับออสเตรเลีย

“พูดในสองมุมว่าเราคิดกับออสเตรเลียยังไง ได้พูดคุยว่าสิ่งที่เขาคิดกับอาเซียนหรือคิดกับประเทศไทยเป็นยังไง ดูว่าทั้งสองภูมิภาคสามารถร่วมมือกันในหลายๆ เรื่องได้หรือไม่อย่างไร มีอะไรที่จะต้องเปลี่ยนแปลงบ้างทั้งในประเทศไทยและประชาคมอาเซียน ในการเป็นพาร์ทเนอร์ที่ดีกับออสเตรเลีย โดยยึดผลประโยชน์ของสองชาติหรือสองภูมิภาคเข้าด้วยกัน”
Asialink
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์และนักวิชาการท่านอื่น ที่งานเสวนา Southeast Asia Oration จัดโดยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย Credit: Aaron Francis
ผู้ร่วมงานเสวนามองว่าหลายสิ่งที่เกิดในประเทศไทย มีในประเทศอื่นในภูมิภาคเพื่อนบ้านเช่นกัน ทั้งเรื่องการทำการเมืองในลักษณะครอบครัว (Dynasty politics) ซึ่งพบว่าภูมิภาคเอเชียคะวันออกเฉียงใต้มีเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ในภูมิภาคอื่นของโลกลดน้อยลง การใช้กฎหมายเข้ามาเกี่ยวของกับการเมือง รัฐสภา และการจัดตั้งรัฐบาล รวมถึงการคอรัปชั่น
เรานั่งคิดร่วมกันว่าจะทำยังไงให้ระบอบประชาธิปไตยยังยืนอยู่ได้ และสรุปด้วยกันว่าการเลือกตั้งไม่ได้หมายความว่าเป็นประชาธิปไตย
พิธากล่าว

สุขภาพประชาธิปไตยในไทยยัง "แข็งแรง" แม้มีปัจจัยภายนอกรุมเร้า

หากเปรียบเทียบประชาธิปไตยเป็นสุขภาพ พิธามองว่าประชาธิปไตยของไทยยังแข็งแรง ประชาชนยังตื่นตัวและให้ความสนใจเรื่องการเมือง โดยยกประเด็นการที่ประชาชนออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2566 รวมทั้งการเลือกตั้งนอกราชอาณาจักร ซึ่งออสเตรเลียจัดเป็นประเทศที่มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งอันดับต้นๆ ของโลก

“ผมคิดว่าสุขภาพภายในแข็งแรง ประชาชนตื่นตัว สังเกตได้จากการมาใช้สิทธิ์เลือกตั้ง 76% สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย แสดงว่าประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลง และใส่ใจในสิทธิในการเลือกตั้ง แต่ว่าภายนอก ปัจจัยรุมเร้ามันก็เยอะ”

อ้างว่า 'มือที่มองไม่เห็น' เป็นปัจจัยภายนอกที่รุมเร้าสุขภาพประชาธิปไตยในประเทศไทย แนวทางแก้ไขเรื่องนี้สามารถทำได้ด้วยหลักสองประการคือความโปร่งใสและการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด

“การเปลี่ยนแปลงที่พวกเราพยายามจะทำไม่ได้ทำให้พวกเขาเสียประโยชน์ อาจจะทำให้เขามีประโยชน์ด้วยซ้ำ”
Asialink
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์และนักวิชาการท่านอื่น ที่งานเสวนา Southeast Asia Oration จัดโดยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย Credit: Aaron Francis
สำหรับสุขภาพของประชาธิปไตยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พิธามองว่ามีทั้งความคล้ายและความต่างกันตามประวัติศาสตร์และบริบทของแต่ละประเทศ แต่ล้วนเผชิญปัญหาและความท้าทายที่คล้ายกัน เช่น การเมืองในเมียนมาร์ ปัญหาทะเลจีนใต้ และผลกระทบจากการทำเขื่อนจากประเทศจีน ที่กระเทือนทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา

“ถ้าเราเห็นเป้าหมายร่วมกันและพยายามทำงานร่วมกัน ผมคิดว่าอำนาจต่อรองจะเยอะกว่าการที่แต่ละประเทศเป็นคนต่อรองกับประเทศมหาอำนาจ”
Asialink
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ที่งานเสวนา Southeast Asia Oration จัดโดยมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย Credit: Aaron Francis

บทบาทของออสเตรเลียในภูมิภาคอาเซียน และความร่วมมือออสเตรเลีย-ไทย

สำหรับบทบาทของออสเตรเลีย พิธามองว่าออสเตรเลียเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนมานาน โดยเป็นพาร์ทเนอร์ที่ร่วมตั้งอาเซียนประเทศแรก คอยช่วยเหลือและส่งเสริมประชาธิปไตยในภูมิภาค เช่น ที่สิงคโปร์และอินโดนีเซีย

สำหรับประเทศไทย พิธามองว่าออสเตรเลียสามารถช่วยเหลือประเทศไทยได้ด้วยการเป็นอำนาจอ่อน ผ่านกระบวนการด้านการศึกษาและการส่งเสริมภาคประชาสังคม เช่นเรื่องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เชื่อว่าหากกระชับความสัมพันธ์กันได้ดี จะสามารถทำให้ออสเตรเลียเห็นถึงศักยภาพและโอกาส และอาจทำให้ออสเตรเลียสนใจไทยเหมือนประเทศอื่นๆ
Asialink
ศาสตราจารย์ไมเคิล เวสลีย์ รองคอธิการบดี ภาควิชาเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น Credit: Aaron Francis
ศาสตราจารย์ไมเคิล เวสลีย์ รองอธิการบดีฝ่ายการมีส่วนร่วมด้านวัฒนธรรมและนานาชาติกล่าวว่า

"เราลงทุนในการสร้างความร่วมมือทางความรู้กับสถาบันวิจัยและนวัตกรรมใหม่ ในขณะเดียวกันเรายังกระชับความสัมพันธ์ทางวิชาการที่มีมายาวนานด้วย ซีรีส์การสนทนาภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Asia and Pacific Outlook) ช่วยให้เราสามารถริเริ่มและเสริมสร้างการประชุมหารือภายในภูมิภาคที่ซับซ้อนและมีพลวัต นับเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธขับเคลื่อนเมลเบิร์นในระดับโลก (Advance Melbourne Globally)"



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand