ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแม้โลกเผชิญโควิด

Discarded face mask lies on the ground.According to data

หน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก Source: LightRocket

แม้จะมีข้อสงสัยว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) นั้นจะชะลอตัวลงจากการระบาดของโควิด-19 แต่ความจริงแล้วโลกเรายังคงจัดการเรื่องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนล่าช้า โดยเฉพาะออสเตรเลีย ตามที่สหประชาชาติและผู้เชี่ยวชาญกล่าว


LISTEN TO
Report shows pace of climate change not slowed by COVID pandemic image

ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงแม้โลกเผชิญโควิด

SBS Thai

27/09/202108:05


ในช่วงการระบาดของโควิด มีการใช้รถ การใช้เครื่องบิน และการเดินเรือน้อยลง แต่มีการสร้างมลพิษมากขึ้น จากที่มีการพบหน้ากากที่ใช้แล้วตามชายฝั่ง และการใช้ถุงพลาสติกใส่อาหารเทคอะเวย์

ก่อนการประชุมประจำปีของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า คุณแอนโทนีโอ กูเตอร์เรส (Antonio Guterres) เตือนรัฐบาลในหลายประเทศเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) เกิดขึ้นเร็วกว่าที่พยากรณ์ไว้ และการปล่อยเชื้อเพลิงฟอสซิส (fossil emissions) นั้นเริ่มกลับมาอีกครั้ง หลังลดน้อยลงในช่วงการระบาด
เราต้องเริ่มทำตอนนี้ ในช่วงทศวรรษนี้ เรารอที่จะเริ่มในปีต่อๆ ไปไม่ได้ มิฉะนั้นเราจะเสียโอกาสตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในข้อตกลงที่ปารีส ที่ 1.5 ถึง 2 องศา
ประธานองค์กรสหประชาชาติกล่าวว่าโลกได้มาถึงจุดเปลี่ยน เมื่อความจำเป็นในการจัดการเรื่องภาวะสภาพภูมิอากาศมาถึง เขาแนะนำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในวงกว้างทันที เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้ายแรง

จากรายงานปี 20-21 องค์กรอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่า เป้าหมายของการลดการปล่อยมลพิษไม่บรรลุ และเป็นไปได้ที่โลกจะพลาดเป้าตามข้อตกลงปารีส ที่มุ่งลดภาวะโลกร้อนให้เหลือ 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนการประกอบอุตสาหกรรม
ศาสตราจารย์วิล สเตฟเฟน (Will Steffen) นักวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ระบบของโลกจากสภาพภูมิอากาศกล่าวว่า ออสเตรเลียไม่เคยบรรลุเป้าหมาย แต่นั่นไม่ใช่ประเด็น

“ที่จริงการระบาดของโควิดสร้างโอกาสให้เรา เพราะการปล่อยมลพิษลดลงเมื่อปีที่แล้วประมาณ 6-7 เปอร์เซ็นต์ หากเราฉวยโอกาสนี้เพื่อที่จะออกจากวิกฤตโควิดด้วยทิศทางที่เปลี่ยนไปในเรื่องของมลพิษ เราคงจะกำลังดำเนินการเพื่อรักษาระดับไว้ที่ไม่เกิน 2 องศา”

ศจ. สเตฟเฟนกล่าวว่าเรากำลังกลับไปที่เดิมมากกว่าที่จะเดินไปข้างหน้า

“เราไม่เห็นการตระหนักถึงผลของโควิด ที่ลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นี่เป็นปัญหาระยะยาว คุณอาจไม่เห็นผลกระทบของความเข้มข้นของซีโอทู (CO2) ที่ลดลง 6 เปอร์เซ็นต์ ลองมองแบบนี้ การปล่อยมลพิษยังคงอยู่ที่ 94 เปอร์เซ็นต์เหมือนในปีที่แล้ว”
Australia is the second highest carbon emission per capita in the world.
ออสเตรเลียปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นอันดับที่สองของโลก Source: Flickr
ในเดือนพฤศจิกายน สหราชอาณาจักรจะเป็นเจ้าภาพการประชุมเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชาชาติครั้งที่ 26 ที่กลาสโกว์

ทั้งสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้ออสเตรเลียเร่งจัดการเรื่องการปล่อยมลพิษที่เพิ่มขึ้น แต่ในสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลประเทศอังกฤษถูกวิจารณ์เรื่องการยอมให้ออสเตรเลียเปลี่ยนเป้าหมายของการรักษาสภาพภูมิอากาศ

สกาย นิวส์ (Sky News) ในสหราชอาณาจักร แฉอีเมลที่รั่วจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงในคณะรัฐมนตรีของอังกฤษ โดยระบุว่าอังกฤษตกลงที่จะลดพันธะผูกพันของข้อตกลงปารีสในการรักษาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง เพื่อเอาใจออสเตรเลีย และหวังทำข้อตกลงเรื่องการค้าเสรี
เรื่องที่น่าเศร้าคือ ออสเตรเลียยังอนุมัติการทำเหมืองถ่านหินใหม่หลายแห่ง การขุดเจาะหาแหล่งก๊าซใหม่ และอื่นๆ เราไม่เพียงสร้างมลพิษ แต่ยังจะเพิ่มมลพิษอีกในอนาคต
ในขณะเดียวกันขยะก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหน้ากากที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันสำหรับคนออสเตรเลียช่วงโควิด-19 ระบาด

คุณพิบ เคียร์แนน (Pip Kiernan) ประธานบริษัท คลีนอัพ ออสเตรเลีย (Clean Up Australia) กล่าวว่าอาสาสมัครขององค์กรเผยว่า พวกเขาเก็บขยะที่เป็นหน้ากากจำนวนมาก

“จำนวนหน้ากากที่เราใช้ โดยเฉพาะหน้ากากแบบใช้ครั้งเดียว มีปริมาณมหาศาลทั่วโลก ไม่ใช่แค่ในออสเตรเลีย การวิจัยล่าสุดเผยว่ามีหน้ากากอนามัยจำนวน 129 พันล้านชิ้นถูกทิ้งทุกเดือนทั่วโลก เท่ากับ 3 ล้านชิ้นทุกนาที หากคุณคิดถึงส่วนประกอบของมัน ที่มีพลาสติกหลายประเภท โลหะ ยางในสายรัด มันอาจใช้เวลา 450 ปีในการย่อยสลาย”

แต่มันไม่ได้เป็นสิ่งเลวร้ายเสียทั้งหมด ศจ. สเตฟเฟน กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงต้องขยายระดับ สิ่งที่สำคัญในการชะลอการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ คือการลดอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เรายังคงมีความหวังอยู่
Renewable energy
พลังงานหมุนเวียน Source: CC0/Pixabay
“มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีในระดับชาติ เรามีรัฐอย่าง รัฐนิวเซาท์เวลส์ที่กำลังพัฒนาการใช้พลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ รัฐเซาท์ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในผู้นำของการใช้พลังงานหมุนเวียน เช่นเดียวกับรัฐเอซีที (ACT) มีการดำเนินการอยู่ในระดับรัฐ”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand