ผลสำรวจเผยคนออสเตรเลีย 8 ล้านคนมีปัญหาสุขภาพจิต

Faceless unhappy woman covering face

ผู้หญิงเอามือปิดหน้า Source: Pexels/Liza Summer

ประชากรออสเตรเลียเกิน 8 ล้านคนประสบกับปัญหาสุขภาพจิตในช่วงหนึ่งของชีวิต กลายเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศ สำนักสถิติแห่งออสเตรเลีย (Australian Bureau of Statistics) เผยข้อมูลสำคัญว่ามีประชากรออสเตรเลียหลายคนกำลังเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต และมีกี่คนที่ขอรับความช่วยเหลือ


กด 🔊 เพื่อฟังเรื่องนี้
LISTEN TO
thai_5108715e-2849-4176-9e5e-9536838dcbd6.mp3 image

ผลสำรวจเผยคนออสเตรเลีย 8 ล้านคนมีปัญหาสุขภาพจิต

SBS Thai

25/07/202208:36
คุณลีฮานเป็นนักศึกษาอายุ 22 ปี และเป็นหนึ่งในประชากรออสเตรเลียกว่า 3 ล้านคนที่มีอาการวิตกกังวล (Anxiety) เธอกล่าวว่าการได้ทราบถึงโรคนี้เป็นการบรรเทาทุกข์ และหนทางที่ผ่านมานั้นไม่ง่าย

“ตั้งแต่ที่ฉันจำความได้ ฉันมีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตมาตลอด การได้เห็นสิ่งนี้บนกระดาษและตระหนักว่ามันไม่ใช่เรื่องของความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องที่ฉันมี มันกระตุ้นให้ฉันออกไปหาความช่วยเหลือกับเรื่องนี้”
สำนักงานสถิติ (Australian Bureau of Statistics – ABS) เผยถึงการสำรวจสำมะโนประชากรในปี 2021 เรื่องสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประชากร 2 ใน 5 คนที่มีอายุระหว่าง 16-85 ปี ประสบปัญหาสุขภาพจิตในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ขณะที่ 1 ใน 5 คนมีปัญหาด้านสุขภาพจิตใน 12 เดือนที่ผ่านมา

คุณลินดา ฟาร์เดลล์ (Linda Fardell) ผู้จัดการโครงการสุขภาพจิตและความทุพพลภาพแห่งสำนักงานสถิติออสเตรเลียเผยว่ามีประชากรกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด
สำหรับปัญหาสุขภาพจิตโดยรวมแล้ว คนหนุ่มสาวมีแนวโน้มที่จะเป็นโรควิตกกังวลและการใช้สารเสพติดมากกว่าคนสูงอายุ
เกือบครึ่งหนึ่งของสตรีที่มีอายุระหว่าง 16-24 ปีประสบปัญหาสุขภาพจิต

“ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาสุขภาพจิตมากกว่าผู้ชาย และในทุกประเภทของโรคทางจิต ยกเว้นการใช้สารเสพติด”
ระหว่างปี 2020-2021

ประชากรออสเตรเลีย 3.3 ล้านคนมีอาการของโรควิตกกังวล

1.5 ล้านคนมีความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรคซึมเศร้า (Depression) หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder – OCD)

กว่า 3 ล้านคนมีความคิดหรือพฤติกรรมพยายามฆ่าตัวตาย

เป็นครั้งแรกที่มีการบันทึกรายละเอียดในด้านนี้ตั้งแต่ปี 2007 และข้อมูลเหล่านี้ถูกรวบรวมในช่วงที่มีการระบาดของไวรัส

คุณแดเนียล แองกัส (Daniel Angus) นักจิตวิทยาและรองผู้บัญชาการของคณะกรรมาธิการสุขภาพจิตแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์กล่าวว่า เป็นไปได้ว่าการล็อกดาวน์ทำให้เกิดผลเช่นนี้
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา แน่นอนเราได้รับผลกระทบหนักจากโควิด และโควิดส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพจิตกับทุกคน
การสำรวจพบว่ามีหลายคนขอความช่วยเหลือมากขึ้น

กว่า 2 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรออสเตรเลียที่ประสบปัญหาสุขภาพจิตขอรับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเวลาหนึ่งปีก่อนที่จะมีการทำการสำรวจ

คุณแองกัสกล่าวถึงสิ่งที่เขาเห็นว่า

“ผมคิดว่าปัญหาสุขภาพจิตบางอย่าง เช่น โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้านั้นเพิ่มมากขึ้น แต่ผมก็คิดว่าหลายคนมองหาความช่วยเหลืออย่างสม่ำเสมอ มากกว่าที่เคยเป็นมา”
A couple sitting on the couch talking to the counsellor
ผู้หญิงและผู้ชายนั่งบนโซฟาพูดคุยกับจิตแพทย์ Source: Pexels/Timur Weber
แต่กว่า 1 ใน 4 ของผู้ที่มองหาความช่วยเหลือกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้รับความช่วยเหลืออย่างที่ต้องการ

คุณแองกัส ซึ่งเป็นคนเวียดนาม กล่าวว่าปัญหาคือการขอรับการดูแลที่เข้าใจเรื่องความอ่อนไหวทางวัฒนธรรม

“ผมคิดว่าเราควรลงทุนกับบุคลากรที่สามารถพูดได้สองภาษา การให้บริการด้านสุขภาพจิตที่มีสองภาษา นักจิตวิทยาที่สามารถพูดได้สองภาษา ผมคิดว่าเราควรทำให้มากกว่านี้ ในแง่ของการสร้างความไว้วางใจในชุมชนเหล่านั้น และเพื่อความแน่ใจว่าประชาชนรู้สึกว่าพวกเขาสามารถขอรับบริการที่พวกเขาสามารถเข้าถึงและขอความช่วยเหลือได้"

คุณลีฮานเคยประสบปัญหาเดียวกันนี้

ประชาชนที่มีเชื้อชาติจีน-ออสเตรเลียกล่าวว่ามีข้อเสียในการขอรับความช่วยเหลือและการหาผู้ให้บริการที่เข้าใจบริบทของพวกเขานั้นเป็นเรื่องสำคัญ

“เมื่อฉันเริ่มหาทางรักษา เช่น การหาคลินิกที่รักษา ฉันต้องศึกษาหาจิตแพทย์ที่เข้าใจถึงประสบการณ์ของฉัน เพราะฉันคิดว่า การประสบปัญหาสุขภาพจิตในฐานะผู้ลี้ภัยหรือผู้อพยพนั้น มีความแตกต่างทางวัฒนธรรมมากมายที่บางครั้งนักจิตวิทยาในคลินิกอาจไม่ได้รับการอบรมเพื่อให้รับมือกับเรื่องนี้”
A teenage boy sitting on a sofa with a counsellor
เด็กวัยรุ่นผู้ชายรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ Source: Pexels/Cottonbro
คุณลีฮานเป็นอาสาสมัครของเฮดสเปซ (Headspace) และเข้าร่วมโครงการที่ให้การช่วยเหลือเยาวชนมีภูมิหลังเป็นผู้อพยพและมาจากหลากหลายวัฒนธรรม ซึ่งกำลังต้องการความช่วยเหลือทางสุขภาพจิต

และอาสาสมัครกล่าวว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจเช่นกัน

“ฉันพบว่ามันช่วยเยียวยาฉันอย่างมาก ช่วยให้ฉันรู้สึกมั่นใจมากขึ้นกับเรื่องของฉัน และการสามารถช่วยผู้อื่นได้มันเติมเต็มอย่างมากเช่นกัน”

การสำรวจนี้เดิมหวังให้ผลการสำรวจช่วยให้มีการลงทุนในบริการสุขภาพจิตที่สำคัญเพิ่มขึ้น


หากคุณประสบกับความเครียด และต้องการการปรึกษาปัญหาสภาพจิตใจ ติดต่อ BeyondBlue ที่หมายเลขโทรศัพท์ 1300 22 4636 หรือ Lifeline ที่หมายเลข 13 11 14

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand