ผลสำรวจชี้ 'คนทำงานคลีน' เผชิญแรงกดดันจากโควิด

A cleaner walks through a Brisbane shopping centre

A cleaner walks through a Brisbane shopping centre Source: AAP

มีความกังวลว่า การทำความสะอาดสถานที่ทำงาน พื้นที่สาธารณะ และสถานศึกษาในออสเตรเลียนั้นอาจไม่ได้มาตรฐาน หลังผลสำรวจในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา พบว่าพนักงานทำความสะอาด ไม่ได้รับเวลาทำงานที่เพียงพอ และไม่ได้รับการฝึกฝนที่ถูกต้องในการใช้เครื่องมือปฏิบัติงาน


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงาน

คุณซัดดัม ฮุสเซน เป็นหนึ่งในคนแนวหน้า ในการต่อสู้การแพร่ระบาดของไวรัสนี้ในเมลเบิร์น นักศึกษาต่างชาติจากประเทศเนปาลในนครเมลเบิร์นคนนี้ กำลังศึกษาอยู่ในสาขาวิชาบัญชี เขาทำงานพาร์ทไทม์เป็นพนักงานทำความสะอาดในโรงเรียนแห่งหนึ่งเป็นเวลา 1 ปี เขาเล่าว่า งานของเขามีความเสี่ยง

“พนักงานทำความสะอาดอย่างเรานั้นทำงานของเรา เราต้องต่อสู้กับอุปสรรคมากว่าเดิม และทำให้ตัวเองเข้าไปอยู่ในความเสี่ยงเพื่อทำความสะอาดทุกสิ่งทุกอย่าง” คุณฮุสเซนกล่าว

แต่หลังจากที่การเรียนการสอนเปลี่ยนจากที่สถานศึกษามาเป็นที่บ้าน คุณฮุสเซนถูกลดจำนวนกะเข้างาน นั่นทำให้ชีวิตของเขาลำบากขึ้น เนื่องจากเขาไม่สามารถเข้าถึงเงินสนับสนุนจากรัฐบาลได้

เรื่องราวของคุณฮุสเซน เป็นสิ่งเดียวกับที่เกิดขึ้นกับคนทำงานหลายคนในแวดวงนี้ ซึ่งพึ่งพาแรงงานจากชุมชนผู้อพยพย้ายถิ่น หลายคนต้องตกงาน เนื่องจากนายจ้างขนาดใหญ่อย่างมหาวิทยาลัย และสำนักงานในย่านซีบีดีตามเมืองต่าง ๆ นั้น แทบจะไม่มีผู้คน 

คุณคาร์ลา วิลเชียร์ (Carla Wilshire) จากสภาผู้อพยพย้ายถิ่นแห่งออสเตรเลีย (Migrant Council of Australia) กล่าวว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง 

“สำหรับผู้ถือวีซ่าทำงานชั่วคราว ที่ไม่มีคุณสมบัติในการรับเงินช่วยเหลือจากเซนเตอร์ลิงก์ (Centrelink) และไม่สามารถเข้าถึงโครงการเงินช่วยเหลือ JobKeeper และ JobKeeper การสูญเสียรายได้ของพวกเขาอาจส่งผลกระทบอย่างมาก ไม่เพียงแต่ส่งผลกับพวกเขาโดยตรงเพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึงครอบครัวของพวกเขาด้วย” คุณวิลเชียร์กล่าว


แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรม สิ่งนี้ส่งผลกระทบในหลายทาง คนทำงานจำนวนมากต้องยุ่งขึ้นกว่าเดิม เมื่อสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้สถานที่ทำงาน และพื้นที่สาธารณะจำเป็นต้องมีการฆ่าเชื้อเพิ่มมากขึ้น  

สำหรับผู้ที่ยังคงมีงานทำ คุณจอร์เจีย พอตเตอร์ บัตเลอร์ (Georgia Potter Butler) จากสหภาพสมาคมแรงงาน (United Workers Union) กล่าวว่า กำลังมีความกังวลเพิ่มมากขึ้นว่า งานของพวกเขาอาจไม่ใช่งานที่มีคุณภาพสูง

“สิ่งที่สำคัญต่อการกลับมาเปิดระบบเศรษฐกิจอีกครั้ง นั่นคือเมื่อผู้คนรู้สึกปลอดภัยในพื้นที่สาธารณะ และผู้คนจะรู้สึกว่าปลอดภัย ถ้าพวกเขารู้ว่าสถานที่เหล่านั้นได้รับการทำความสะอาดอย่างทั่วถึง และในตอนนี้ผู้คนอาจไม่รู้สึกเช่นนั้น เนื่องจากมันมีช่องว่างระหว่างความคาดหวังจากสาธารณะ และสิ่งที่พนักงานทำควาสะอาดสามารถทำได้ เนื่องจากโครงสร้างในระบบสัญญาว่าจ้าง” คุณบัตเลอร์กล่าว


คุณพอร์เตอร์กล่าวว่า เนื่องจากบริการทำความสะอาด ได้รับการมองจากผู้คนส่วนมากว่าเป็นค่าใช้จ่ายเนื่องจากความจำเป็น มากกว่าที่จะลงทุนในส่วนนี้

“พนักงานทำความสะอาดได้รับเสียงปรบมือชื่นชมเป็นจำนวนมาก มีการอภิปรายหลายครั้งถึงความสำคัญของงานทำความสะอาด แต่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยนั้น คือการปกป้องและดูแลพนักงานทำความสะอาด และเปิดโอกาสให้พวกเขาสามารถทำงานได้ตามที่เราต้องการให้พวกเขาทำ”

การสำรวจระดับชาติจากพนักงานทำความสะอาดมากกว่า 500 คน ที่จัดทำสหภาพสมาคมแรงงาน (United Workers Union) พบว่า พนักงานทำความสะอาดร้อยละ 91 ปฏิบัติงานทำความสะอาดที่มีความสำคัญอย่างเร่งรีบ เนื่องจากไม่ได้รับการจัดสรรเวลาทำงานอย่างเพียงพอ ขณะที่พนักงานทำความสะอาด 8 ใน 10 คน พบว่ามีเครื่องมือทำความสะอาดไม่เพียงพออย่างสม่ำเสมอ  

ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่า 3 ใน 4 ระบุว่า พวกเขาไม่ได้รับเครื่องมือป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ในการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย ขณะที่ร้อยละ 70 ของผู้ตอบแบบสอบถามไม่ได้รับการฝึกงานแบบตัวต่อตัว

นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 77 มีความกังวลว่าจะตกงาน ขณะที่ร้อยละ 86 รายงานว่า พวกเขาไม่ได้รับค่าจ้างตามที่ควรได้รับ

ด้านสหภาพสมาคมแรงงานระบุว่า เหล่านี้คือปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

“สมการของคุณภาพงานทำความสะอาดนั้นเป็นเรื่องง่าย ฝึกฝนพนักงาน ให้เวลากับพวกเขาในการทำงาน จัดเตรียมเครื่องมือปฏิบัติงานอย่างเพียงพอ และพวกเขาจะมอบงานที่มีคุณภาพให้คุณ แต่ผู้จัดหาพนักงานทำความสะอาดไม่ได้ออกแบบสัญญาว่าจ้างพนักงานให้เป็นเช่นนั้น”

แม้จะฟังดูเป็นเรื่องแย่ แต่ก็ยังมีข่าวดี โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้คาดการณ์ว่า อัตราการจ้างงานสำหรับงานทำความสะอาดนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่าในปีหน้า ขณะที่ทั่วโลกกำลังพยายามต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จนกว่าจะมีการค้นพบวัคซีนในการรักษาจากไวรัสนี้

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand