รัฐฯ หนุนเปลี่ยนกฎวีซ่าครอบครัวไม่ต้องออกนอกประเทศภายในปีหน้า

 changes to temporary work visas mean faster processing

Source: AAP

รัฐบาลสหพันธรัฐวางแผนอนุมัติการเปลี่ยนแปลงโครงการวีซ่าครอบครัวภายในปีหน้ามีผลทำให้ผู้สมัครวีซ่าประเภทนี้ไม่ต้องออกจากออสเตรเลียในช่วงกระบวนการรออนุมัติวีซ่า


การเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงกฎของวีซ่าประเภทนี้ในช่วงการเกิดการแพร่ระบาดมาเป็นเวลาหลายเดือนถึงแม้ว่าจะมีสัญญาณการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีแต่คนบางส่วนก็ยังมีความกลัวว่าการเปลี่ยนแปลงกฎนี้อาจยังช้าไปสำหรับบางครอบครัว 

การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาทำให้ คุณ เลส โกลด์สเวิร์ธตี สูญเสียงานของเขาในขณะที่คุณ จูเลียต บานด์ คู่ชีวิตของเขาถือวีซ่าบริดจิง ซึ่งก็คือวีซ่าชั่วคราวที่อนุญาติให้ผู้ยื่นขอวีซ่าอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย

พวกเขากำลังรอการอนุมัติวีซ่าของคู่ชีวิตซึ่งในกระบวนการนี้เธอต้องออกจากออสเตรเลียและทำให้พวกเขายังไม่แน่ใจว่าคริสต์มาสปีนี้จะเป็นเช่นไร
"กระบวนการนี้มันไม่สะดวกกับเรา และมันเสียค่าใช้จ่ายสูงมากด้วย ทั้งตั๋วเครื่องบิน ทั้งการกักตัว เราไม่ได้มีเงินมากพอที่จะมาใช้จ่ายในส่วนนี้"
คนอีกหลายพันคู่ก็ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันแต่ในขณะนี้กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงกฎข้อบังคับอันใหม่ซึ่งจะมีการผ่อนปรนชั่วคราว และหมายถึงว่าผู้สมัครวีซ่าครอบครัวไม่ต้องออกจากออสเตรเลียในระหว่างที่รออนุมัติวีซ่า

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้มีผลต่อวีซ่าประเภทแยกย่อยต่างๆ เช่น วีซ่าคู่ครอง วีซ่าคู่หมั้น และวีซ่าที่เกี่ยวกับเด็ก บุตรบุตรบุญธรรม และเด็กในอุปการะอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงที่ว่าไม่ได้ส่งผลทันทีจนกระทั่งปีหน้า 

ด้าน นาย จูเลียน ฮิลล์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของรัฐบาลสหพันธรัฐจากพรรคแรงงาน ให้ความเห็นว่า

"การพูดว่าจะอนุมัติการเปลี่ยนแปลงในช่วงต้นปีหน้า แต่มันไม่มีรายละเอียด ไม่มีความกระจ่างชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะครอบคลุมใครบ้าง มันไม่มีการบอกอย่างแน่ชัดว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ และมันหมายถึงคู่ครองของชาวออสเตรเลียหลายพันคู่ที่ต้องเผชิญกับคริสต์มาสที่ไม่มีความแน่นอน"

คุณ อมีเลีย อิตเลียต เป็นผู้รณรงค์เรื่องการที่ผู้สมัครวีซ่าคู่ครองที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการปิดพรมแดน เธอและ คุณ โบวี่ สามีของเธอได้ใช้จ่ายเงินหลายพันดอลลาร์ในการเดินทางไปประเทศสิงคโปร์เพื่อวีซ่าของพวกเขา 

"มันเป็นกฎที่ไร้เหตุผลเอามากๆ ที่จะใช้กฎนี้กับคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่สมัครวีซ่าประเภทนี้เมื่อเทียบกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง โดยใช้เกณฑ์การใช้ข้อบังคับที่ยึดถือตามประเทศที่พวกเขายื่นใบสมัคร"

"เรารู้ว่ามันอาจกินเวลาหลายเดือน ทั้งๆที่ตอนนี้พวกเขามีอำนาจที่จะทำอะไรบางอย่าง"

ด้าน นาย อลัน ทัดจ์ รักษาการณ์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการตรวจคนเข้าเมืองชี้ว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลเพื่อที่จะลดผลกระทบจากข้อบังคับในการเดินทางต่างๆ ที่มีต่อการดำเนินงานของการอพยพย้ายถิ่นของออสเตรเลีย

แต่ช่วงเวลาที่ไม่แน่นอนในการเปลี่ยนแปลงกฎนี้ทำให้หลายคู่ที่มีวีซ่าที่หมดอายุจะต้องมีการตัดสินใจที่ยากลำบากที่ต้องเลือกระหว่างการที่พวกเขาจะเชื่อว่ารัฐบาลจะอนุมัติกฎใหม่นี้เร็วๆ นี้ หรือจะต้องออกจากประเทศเพื่อทำตามกฎข้อบังคับที่ระบุไว้ในวีซ่า

นาย จูเลียน ฮิลล์  กล่าวในประเด็นนี้ว่า

"ในขณะนี้มีชาวออสเตรเลียประมาณ 36,000 คนที่ติดอยู่ที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกและรอที่จะได้กลับบ้าน เพราะฉะนั้นท่านรัฐมนตรีต้องสารภาพความจริงมาว่า เหตุใดท่านจึงยึดเยื้อการเปลี่ยนแปลงนี้เอาไว้ เพราะท่านมีอำนาจที่จะเซ็นอนุมัติภายในสัปดาห์นี้เลยด้วยซ้ำ"

การเปลี่ยนแปลงกฎข้อนี้จะเอื้อประโยชน์กับคู่ครองของชาวออสเตรเลียกว่า 4,000 คู่ ถ้าเกิดว่าพวกเขารอได้


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand