ออสเตรเลียร่วมกับยูเอ็นเร่งลดความรุนแรงในครอบครัว

domestic violence

Source: In Pictures Ltd./Corbis via Getty Images

องค์การสหประชาชาติ กำลังมุ่งแก้ปัญหาการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงและครอบครัว โดยจัดให้มี 16 วันแห่งความพยายามที่จะลดปัญหาเรื่องนี้ทั่วโลก รัฐบาลออสเตรเลียทุกระดับและองค์กรต่างๆ ได้ริเริ่มโครงการทั่วประเทศเพื่อยับยั้งความรุนแรงในครอบครัว ที่พุ่งสูงช่วงวิกฤตโควิด


องค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น กำลังมุ่งเน้นปัญหาการใช้ความรุนแรงกับผู้หญิงและครอบครัว โดยจัดให้มี 16 วันแห่งความพยายามที่จะลดปัญหาเรื่องนี้ทั่วโลก

กระบอกเสียงรณรงค์ลดการใช้ความรุนแรงในครอบครัวทั่วออสเตรเลียและรัฐบาลทุกระดับของประเทศ ได้ริเริ่มโครงการต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อยับยั้งปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา

ความรุนแรงในครอบครัวถูกจัดว่าเป็นวาระฉุกเฉินแห่งชาติ

แต่ผู้รณรงค์เรื่องนี้ในออสเตรเลียต้องการให้ออสเตรเลียก้าวเข้าไปใกล้เป้าหมายมากขึ้น เกี่ยวกับการขจัดความรุนแรงต่อผู้หญิงให้หมดไป

เซฟ สเตปส์ (Safe Steps) เป็นศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉิน 24 ชั่วโมงสำหรับผู้ประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยให้บริการทั่วรัฐวิกตอเรีย

คุณริตา บูเทรา ผู้บริหารของศูนย์ กล่าวว่า ขณะนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะมีการดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน

“เรามีผู้หญิงหนึ่งคนต่อสัปดาห์ที่ถูกสังหารในออสเตรเลีย โดยเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัว อีกทั้ง ยังมีการเรียกตำรวจไปช่วยในเรื่องนี้ทุกๆ 6 นาทีในรัฐวิกตอเรียและทุกๆ 2 นาทีทั่วประเทศ” คุณบูเทรา จาก เซฟ สเตปส์ กล่าว

ในนิวเซาท์เวลส์ มีปฏิบัติการพิเศษของตำรวจ ซึ่งพุ่งเป้าไปยังผู้ก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัว

ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนิวเซาท์เวลส์ มาร์ก โจนส์ กล่าวว่า ผู้ก่อเหตุควรถูกเตือนเรื่องพฤติกรรมของพวกเขา

“เราจะมีตำรวจด้านความรุนแรงในครอบครัวและเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องทั่วไปลงพื้นที่ พร้อมกับทีมดูแลผู้ก่อเหตุที่มีความเสี่ยงกระทำผิดสูง โดยพุ่งเป้าไปที่คนเหล่านั้นที่เรารู้ว่าเคยก่อเหตุความรุนแรงในครอบครัว หากคุณเป็นผู้ก่อเหตุ คุณได้รับคำเตือนจากเรา เราจะไปที่นั่นและเราจะไม่อดทนต่อการใช้ความรุนแรงใดๆ ในครอบครัว” ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจนิวเซาท์เวลส์ ย้ำ

นักวิจัยต่างๆ พบว่า การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงพุ่งสูงขึ้นอย่างมากระหว่างการระบาดใหญ่ของเชื้อโควิด-19

คุณนาตาชา สทอตต์ เดสโปจา เป็นประธานผู้ก่อตั้งองค์กร เอาร์ วอตช์ (Our Watch) ที่เป็นองค์กรซึ่งล็อบบี้รัฐบาลให้ออกนโยบาย เพื่อแก้ปัญหาและขจัดการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง

“สถิตินั้นย่ำแย่มาก แต่เรารู้ว่าในช่วงโควิดมีอัตราการใช้ความรุนแรงเพิ่มขึ้น ความร้ายแรงของความรุนแรงก็เพิ่มขึ้นด้วย และโควิดถูกใช้เป็นอาวุธภายในบ้าน” คุณเดสโปจา กล่าว

ความกดดันด้านการเงินและการถูกจำกัดให้อยู่แต่ภายในบ้านมีบทบาทสำคัญที่นำไปสู่ปัญหานี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่นายกรัฐมนตรีสกอตต์ มอร์ริสัน ได้กล่าวว่า น่ากังวล โดยเขาได้พูดถึงประเด็นนี้ในช่วงเริ่มต้นของการระบาดใหญ่ของเชื้อและในช่วงแรกของการล็อกดาวน์ในเดือนมีนาคม

“การจำกัดให้ประชาชนอยู่ในบ้าน ซึ่งเรารู้ว่าบ้านอาจไม่ใช่ที่ปลอดภัยเสมอไปสำหรับผู้หญิงหลายคนทั่วออสเตรเลีย และนั่นเป็นการตัดสินใจหนึ่งที่ยากลำบากที่สุดที่เราต้องทำ” นายมอร์ริสัน กล่าว

ผู้หญิงที่เป็นผู้ย้ายถิ่นฐานหรือมีภูมิหลังเป็นชาวพื้นเมือง และผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนส่วนภูมิภาค มีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะตกเป็นเหยื่อของการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
Elfa Moraitakis
SydWest Multicultural Services CEO Elfa Moraitakis Source: SBS
ในซิดนีย์ตะวันตก มีการเปิดตัวบริการใหม่ ที่ให้ความช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครอบครัว ที่เพิ่มสูงขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโคโรนา

มีการจัดหาล่ามแปลภาษาและที่พักให้แก่เหยื่อ โดยคำนึงถึงความต้องการพิเศษด้านศาสนาและวัฒนธรรมด้วย

คุณ เอลฟา โมไรทาคิส ผู้บริหารของบริการ ซิดเวสต์ มัลทิคัลเชอรัล เซอร์วิสซีส (SydWest Multicultural Services) ซึ่งให้ความช่วยเหลือปัญหาสังคมหลากหลายในชุมชนซิดนีย์ตะวันตก กล่าวว่า มีความท้าทายที่ไม่เหมือนคนอื่นทั่วไป สำหรับผู้หญิงบางกลุ่ม ซึ่งทำให้พวกเธอไม่อาจก้าวออกมาจากบ้านที่มีความรุนแรงในครอบครัว

“มีความกลัวสำหรับผู้หญิง ที่มีความไม่แน่นอนด้านสถานะวีซ่า และพวกเธอยังวิตกเกี่ยวกับการถูกโดดเดี่ยวจากชุมชนของตน และมีความกลัวเรื่องการจ้างงานในอนาคตด้วย” คุณโมไรทาคิส กล่าว

รัฐบาลสหพันธรัฐของออสเตรเลีย ได้จัดงบประมาณ 150 ล้านดอลลาร์สำหรับโครงการช่วยเหลือด้านความรุนแรงในครอบครัว

และรัฐบาลนิวเซาท์เวลส์ยังได้ประกาศให้งบเพิ่มขึ้นอีก 12 ล้านดอลลาร์ สำหรับจัดสรรให้แก่บริการต่างๆ ด้านความรุนแรงในครอบครัว

ผู้ใดที่กำลังประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวดังที่กล่าวมาในเรื่องนี้ คุณสามารถโทรศัพท์ไปขอความช่วยเหลือหรือรับคำปรึกษาได้ที่หมายเลข 1800 737 732 ติดต่อบริการแปลและล่ามฟรี เพื่อช่วยในการสนทนาได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 13 14 50


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080
รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand