'ประหยัด ลดขยะ' ร้านกาแฟรับซ่อม กลุ่มรณรงค์เพื่อการรียูสและรีไซเคิล

Woman repairing mobile phone at home, changing damaged part.

ผู้หญิงกำลังซ่อมโทรศัพท์มือถือ Source: Getty / Getty Images

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในบ้านต่อปีมีมูลค่าสูงถึง $13,000 ล้าน และมักซ่อมแซมได้ยาก สุดท้ายต้องกลายเป็นขยะ ร้านกาแฟรับซ่อมกว่าร้อยแห่งทั่วออสเตรเลียพยายามเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

“นี่คือเครื่องหนีบผม ซึ่งตอนนี้ผมซ่อมไม่ได้แล้ว ผมแนะนำให้คุณเอาไปที่ศูนย์รีไซเคิลชุมชน”

เอียนเป็นอาสาสมัครที่ร้านกาแฟรับซ่อม (repair café) ในซิดนีย์

แม้ว่าเอียนจะไม่สามารถซ่อมเครื่องหนีบผมได้ในครั้งนี้ แต่ร้านกาแฟรับซ่อมเลน โคฟ (Lane Cove) ได้ทำการซ่อมสินค้าประมาณสองในสามของสิ่งที่ส่งซ่อมทั้งหมดจำนวน 1,000 ชิ้น

เวนดี ดไวเออร์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งร้านกาแฟรับซ่อมเลน โคฟกล่าวว่า การรับซ่อมทำให้สินค้า 700 ชิ้นไม่ต้องกลายเป็นขยะฝังกลบ

“วันนี้เราจะมาซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน กางเกง เสื้อ และของที่อื่น เครื่องประดับ เซรามิก รองเท้า กระเป๋า และเราจะลับเครื่องมือให้คมด้วย”
Lane Cove Repair Café co-founders Wendy Dwyer (left) and Wendy Bishop (SBS Spencer Austad).jpg
เวนดี ดไวเออร์และเวนดี บิชอป เจ้าของร้านกาแฟรับซ่อมเลน โคฟ Source: SBS / Spencer Austad
ดไวเออร์กล่าวว่าบางคนนำมรดกของเก่าซึ่งมีคุณค่าทางจิตใจมาซ่อมเช่นกัน

“สำหรับคนที่นำของเก่าซึ่งอาจเป็นมรดกจากครอบครัวจากบ้านเกิดมา เราเป็นหนึ่งในไม่กี่แห่งที่ยินดีรับและซ่อมแซมให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย”

ดไวเออร์ อายุ 73 ปี และย้ายถิ่นฐานมาจากสิงคโปร์

เธอเป็นอาสาสมัครร้านกาแฟรับซ่อมในออสเตรเลีย ซึ่งกลุ่มอาสาสมัครนี้มีทั้งวิศวกร ช่างทำเครื่องประดับ และช่างตัดเสื้อที่เกษียณแล้ว

“ฉันทำกาแฟคาปูชิโนและทำขนมขบเคี้ยวเล็กๆ น้อยๆ ให้กับอาสาสมัครและผู้ที่แวะมาด้วย เมื่อคุณเกษียณ การค้นหาสิ่งที่คุณหลงใหลเป็นเรื่องสำคัญมาก และสำหรับฉันคือการได้เจอร้านกาแฟรับซ่อมและเชื่อมั่นในสิ่งที่ร้านกาแฟนี้ทำ”
People sit on chairs in a large room with tables covered in electronic equipment.
อาสาสมัครและผู้ที่นำของมาซ่อมที่ร้านกาแฟรับซ่อม เลน โคฟ Source: SBS / Sandra Fulloon
ร้านกาแฟรับซ่อมเริ่มขึ้นที่อัมสเตอร์ดัมเป็นแห่งแรก โดยกลุ่มรณรงค์ที่เรียกว่า International Repair Café และร้านกาแฟลักษณะนี้กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีร้านกาแฟรับซ่อมกว่า 3,000 แห่งใน 40 ประเทศทั่วโลก

ในออสเตรเลียมีร้านกาแฟรับซ่อม 112 แห่ง

ศาสตราจารย์ลีแอน ไวส์แมน ประธานองค์กร Australian Repair Network จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิท รัฐควีนส์แลนด์กล่าวว่าการซ่อมแซมเสื้อผ้าหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นวิธีประหยัดเงินที่ดี
ตลาดอุปกรณ์ครัวเรือนของออสเตรเลียคาดว่ามีมูลค่ากว่า 13,000 ล้านดอลลาร์ ในปี 2024 และตัวเลขดังกล่าวเพิ่มขึ้นทุกปี เราพบว่าการบริโภคสินค้าอุปกรณ์อัจฉริยะและอุปกรณ์ต่างๆ ในบ้านของเราเติบโตแบบก้าวกระโดด เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปิ้งขนมปัง กาต้มน้ำ หม้อทอดไร้น้ำมัน และเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้พังลงก็จะกลายเป็นขยะฝังกลบ
ศาสตราจารย์ไวส์แมนอธิบาย
และขยะฝังกลบกำลังเพิ่มพูนอย่างรวดเร็ว ดังที่บริดเจ็ท เคเนดี เทศมนตรีกล่าว

"เราจะไม่มีพื้นที่ให้ทิ้งขยะฝังกลบ ในบริเวณเกรทเทอร์ ซิดนีย์ ในปี 2030 เราควรเปลี่ยนนโยบายการใช้แล้วทิ้งภายในครั้งเดียว และทำให้มันเป็นระบบที่หมุนเวียนมากขึ้น"
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

คุณรีไซเคิลถูกต้องหรือไม่?

ปัญหาอีกประการหนึ่งก็คือ เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่จำนวนมาก หากพังลง ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะซ่อมมัน

เมื่อไม่นานมานี้ รัฐบาลสหพันธรัฐได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับ “สิทธิในการซ่อม” ซึ่งจะทำให้ครัวเรือนและผู้ประกอบธุรกิจสามารถซ่อมอุปกรณ์ได้ในราคาย่อมเยา

นี่เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการเพิ่มผลิตภาพ ซึ่งได้รับงบประมาณในการผลักดันมูลค่า 900 ล้านดอลลาร์

ศาสตราจารย์ไวส์แมนยินดีกับโครงการดังกล่าว

 “ออสเตรเลียยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่นในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปสิทธิในการซ่อมแซม เราทราบดีว่าการลดขยะไม่เพียงแต่ช่วยประหยัดสิ่งแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดด้านเศรษฐกิจได้มาก โดยเฉพาะในวิกฤตค่าครองชีพที่เรากำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ สิ่งนี้จะส่งผลต่อชาวออสเตรเลียทุกคน ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงธุรกิจของเรา เกษตรกร และโรงพยาบาลของเราด้วย โดยพวกเขาจะสามารถซ่อมแซมสิ่งของที่มีได้”

นับเป็นสถานการณ์ที่ทุกฝ่ายได้ผลประโยชน์

"ฉันรู้สึกภูมิใจมาก ๆ กับสิ่งที่เราทำ มันยอดเยี่ยมมากที่ได้เห็นสิ่งของต่าง ๆ ไม่ถูกส่งไปหลุมฝังกลบ ผู้คนประหยัดเงินและซ่อมแซมสิ่งของล้ำค่าที่พวกเขาไม่อยากทิ้ง แต่อาจไม่มีเงินพอที่จะซ่อมแซม แน่นอนว่าเมื่อคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมแล้ว เราจะลดปริมาณขยะที่ทิ้งไว้ริมถนนได้ และชุมชนของเราจะมีอนาคตที่ดีขึ้น"

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand