‘The Australian Wars’ คืออะไร? ทำไมถึงไม่มีการยอมรับประวัติศาสตร์การต่อสู้นี้?

AusWars_16x9.jpg

สารคดี The Australian Wars ทาง SBS On Demand Credit: Blackfella Films

‘Frontier Wars’ หรือ ‘The Australian Wars’ เป็นคำอธิบายถึงความขัดแย้งระหว่างผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคอาณานิคมของอังกฤษและชนพื้นเมืองออสเตรเลียที่มีมานับร้อยปี แต่ทำไมประวัติศาสตร์อันโหดร้ายนี่เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จัก


ประเด็นสำคัญ
  • The Australian Wars เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จัก หลังศาลตัดสินล้มล้างคำประกาศของกัปตันเจมส์ คุก
  • ชนพื้นเมืองลุกต่อต้านการยึดครองของจักรวรรดิอังกฤษตั้งแต่กองเรือขึ้นบกเมื่อค.ศ. 1788
  • บันทึกสมัยล่าอาณานิคมและหลักฐานทางโบราณคดีเผยถึงความขัดแย้งที่น่าสลดใจ

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

คำเตือน: เนื้อหามีความรุนแรงและอาจกระทบกระเทือนจิตใจ

เมื่อครั้งกัปตันเจมส์ คุก เดินทางมาถึงชายฝั่งที่เรียกว่าออสเตรเลียในปัจจุบัน เขาเคยประกาศเรียกดินแดนนี้ว่าเทอร์รา นูลิอุส (Terra Nullius) แปลว่าดินแดนที่ไม่มีใครครอง

แท้จริงแล้ว ทวีปนี้เดิมเป็นของกลุ่มชนเผ่าอะบอริจินและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสหลายร้อยชนเผ่า มีประชากรหลายแสนคน ซึ่งถูกมองว่าเป็นเพียงบริวารของราชวงค์อังกฤษ


สิ่งนี้กลายเป็นชนวนสงคราม ความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองและผู้อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคแรก โดยประวัติศาสตร์อันแสนโหดร้ายนี้เพิ่งเริ่มเป็นที่รู้จัก

ชาวอาร์รันดา (Arrernte) และคัลคาดูน (Kalkadoon) ผู้สร้างภาพยนต์เรื่อง The Australian Wars เผยถึงซีรีส์โทรทัศน์ที่ออกอากาศเมื่อปีค.ศ. 2022 เรื่องราวการต่อสู้เพื่อปกป้องดินแดนของชนพื้นเมืองจากชาวอังกฤษที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในยุคนั้น
เริ่มที่ชื่อเรื่อง ‘The Australian Wars’ ซึ่งหลายคนไม่เคยได้ยินมาก่อน เราตั้งใจเลือกใช้คำนี้
"เพราะเป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างจักรวรรดิอังกฤษในยุคแรก เมื่อครั้งเข้ายึดครองและอ้างสิทธิ์ในทวีปนี้ จนกลายเป็นรัฐบาลอาณานิคมของออสเตรเลียในปัจจุบัน และเป็นรัฐบาลสหพันธรัฐในเครือจักรภพแห่งออสเตรเลีย
Australian Wars เกิดขึ้นทั่วทั้งทวีป นับตั้งแต่กองเรือชุดแรก (first fleet) เดินทางมาถึงเมื่อปีค.ศ. 1788 จนถึงกลางทศวรรษ 1930 แต่เหตุความขัดแย้งครั้งประวัติศาสตร์นี้กลับไม่ถูกสอนในโรงเรียนหรือไม่ได้รับการยอมรับว่าเกิดขึ้น จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 20

นักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของออสเตรเลียและเชี่ยวชาญด้านสงครามกล่าวว่า เมื่อปีค.ศ. 1966 ที่เขาเริ่มสอนประวัติศาสตร์ แทบไม่มีการกล่าวถึงชนพื้นเมืองในหนังสือเลย

“มีการกล่าวถึงชนพื้นเมืองผ่านๆ เพียงสองครั้งเท่านั้น และไม่มีแม้แต่ในรายการดัชนี เพิ่งจะมีการยอมรับถึงความขัดแย้งไม่นานมานี้ ซึ่งจริงๆ แล้วคือสงคราม เมื่อไม่นานมานี้ แม้มันไม่ใช่สงครามตามภาพที่หลายคนในยุคใหม่เข้าใจกัน”

เพราะมันเป็นสงครามกองโจร

“ภาพที่เป็นสงครามเล็กๆ กระจัดกระจายในหลายพื้นที่ ไม่ดูเหมือนเป็นการทำสงครามสำคัญอะไร"
เพราะไม่มีการใส่เครื่องแบบ ไม่มีทหารเดินทัพ ไม่มีการรวมตัวขนาดใหญ่ และไม่มีการสู้รบตามความหมายของสงครามในยุคปัจจุบัน แต่มันเป็นสงครามรูปแบบหนึ่งอย่างชัดเจน
ศาสตราจารย์เรย์โนลด์สอธิบาย
Frontier War
ในยุคนั้นมีความขัดแย้งเรื่องชายแดนทั่วทั้งทวีปออสเตรเลีย Source: Supplied / Australian War Memorial
นักประวัติศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านสงครามชายแดนออสเตรเลียเห็นด้วย

“ตอนนั้นพวกเขารู้ว่าเป็นสงคราม เอกสารอาณานิคมเรียกว่าสงคราม แต่ในศตวรรษที่ 20 และ 21 เราลืมเรื่องนี้ไปแล้ว"
ผมคิดว่าเป็นเหตุผลทางการเมืองที่ไม่ระบุว่ามันเป็นสงคราม
ด็อกเตอร์เคลเมนท์สกล่าว
และเหตุผลทางการเมืองนั้นย้อนกลับไปถึงแนวคิดเรื่องดินแดนที่ไม่มีผู้ใดครองและกฎหมายของจักรวรรดิอังกฤษ

“มีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน ซึ่งเป็นหัวใจของสงครามนี้ เริ่มด้วยวิธีที่จักรวรรดิอังกฤษอธิบายถึงการยึดครองครั้งนี้ พวกเขาประกาศว่าชนพื้นเมืองได้กลายเป็นพลเมืองอังกฤษแล้ว ดังนั้นพวกเขาจึงไม่สามารถประกาศสงครามอย่างเป็นทางการได้ เพราะการทำเช่นนั้นหมายความว่าพวกเขาประกาศสงครามกับพลเมืองของตนเอง อย่างไรก็ตามจักรวรรดิอังกฤษได้ใช้กำลังทหารเพื่อให้แน่ใจว่าการยึดครองทวีปประสบความสำเร็จ”
Rachel Perkins - The Australian Wars
คุณราเชล เพอร์กินส์ ผู้สร้างภาพยนต์ The Australian Wars Credit: Dylan River/Blackfella Films
การเริ่มยอมรับถึงสงครามเหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงต้นทศวรรษ 1990 เมื่อมีการตั้งคำถามถึงดินแดนที่ไม่มีใครครองและล้มล้างคำประกาศของกัปตันคุก เหตุการณ์นี้เรียกว่าคำตัดสินมาโบ (Mabo)

“ก่อนหน้านั้นชาวอะบอริจินถูกมองว่าไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน ดังนั้นการต่อสู้ของพวกเขาจึงไม่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน เพราะพวกเขาไม่มีสิทธิ์ถือครองที่ดินตามกฎหมาย"
หลังการตัดสินในปีค.ศ. 1992 การมองถึงสงครามในครั้งนั้นเปลี่ยนไป เพราะชัดเจนว่าเป็นสงครามที่เกี่ยวกับการถือครองดินแดน
ดร.เคลเมนท์สกล่าว
ดร. เคลเมนท์กล่าวว่าการที่จักรวรรดิอังกฤษไม่ยอมรับการที่ชนพื้นเมืองเป็นเจ้าของดินแดนในออสเตรเลียนับว่าเป็นความผิดเพี้ยนทางประวัติศาสตร์

“หัวใจของการล่าอาณานิคมของอังกฤษในออสเตรเลียนั้นมีข้อแตกต่างจากการยึดครองประเทศอื่นๆ ที่ตกเป็นอาณานิคม อังกฤษไม่ยอมรับอธิปไตยของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีการทำสนธิสัญญา (treaty) ไม่มีความพยายามเจรจากับประชาชนในท้องถิ่น และจนถึงทุกวันนี้เราไม่สามารถมองในมุมกฎหมายเพื่อทำความเข้าใจว่าชนพื้นเมืองมีสิทธิ์ต่อดินแดนอย่างไร” 
What is Native Title explainer NITV Eddie Koiki Mabo
เอ็ดดี มาโบและทีมทนายที่ศาลสูงออสเตรเลีย Credit: National Museum of Australia
การไม่เจรจานำไปสู่การนองเลือดอันโหดร้าย

บันทึกเรื่องการล่าอาณานิคมและหลักฐานทางโบราณคดีที่ผู้เชี่ยวชาญเปิดเผยแสดงให้เห็นถึงความขัดแย้งที่น่าสยดสยอง

เป็นสถานที่เพียงแห่งเดียวที่เก็บซากศพของบรรพบุรุษของชาวอะบอริจินไว้กว่า 400 ราย และเป็นหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตโดยการประหารชีวิต การตัดหัว และการสังหารหมู่

คุณเพอร์กินส์กล่าวว่าลูกหลานของผู้ที่รอดชีวิตจะยังคงจดจำเรื่องนี้ตลอดไป

“ชาวอะบอริจินจำนวนมากเป็นผู้สืบทอดประวัติศาสตร์ ถ่ายทอดเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับพวกเขาให้ครอบครัวของพวกเขาฟัง"
ฉันโตมากับเรื่องการสังหารหมู่ของบรรพบุรุษของฉันที่รัฐควีนส์แลนด์ และรู้เรื่องที่คุณย่าทวดของฉันถูกข่มขืนอย่างรุนแรง และเรื่องอื่น
คุณเพอร์กินส์กล่าว
ที่แทสเมเนียเป็นสงครามชายแดนที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย เกิดขึ้นระหว่างปีค.ศ. 1824 – 1831

จำนวนของชาวอังกฤษที่เสียชีวิตในสงครามแบล็ก วอร์ มีมากกว่าที่เสียชีวิตในเกาหลี มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนามรวมกัน

ดร. เคลเมนท์กล่าวว่าฝ่ายจักรวรรดิอังกฤษและผู้ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานยุคนั้นหวาดกลัวชนพื้นเมืองแทสเมเนีย

“การต่อต้านของชาวอะบอริจินนั้นน่าทึ่งมาก ทุกคนจะได้ยินข่าวคนจากอาณานิคมอังกฤษที่ถูกฆ่าหรือถูกทำร้ายโดยชาวอะบอริจิน ที่เผาฟาร์มของพวกเขา มันน่ากลัวมากๆ จริงๆ แล้วหลายคนคิดจะย้ายออกไปจากอาณานิคมนี้”
Australian Aboriginal camp in the nineteenth century
ภาพแกะสลักค่ายของชาวอะบอริจินในศตวรรษที่ 19 Source: Getty / Getty Images
แต่สุดท้ายจักรวรรดิอังกฤษก็ชนะและเกือบทำลายล้างเผ่าพันธุ์ชนพื้นเมืองที่แทสเมเนีย
เราจะเกือบไม่มีลูกหลานชาวอะบอริจินในแทสเมเนียแล้ว เพราะพวกเขาถูกใช้ความรุนแรงกวาดล้างเกือบหมด
ดร.เคลเมนท์สกล่าว
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่คือความรุนแรงทางเพศ การข่มขืนและลักพาตัวหญิงชนพื้นเมืองเป็นเรื่องปกติ นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื้อว่าการอยู่รอดของชาวอะบอริจินบางชนเผ่าเป็นผลจากการล่วงละเมิดทางเพศ

“ชนวนที่จุดประกายความรุนแรงคือความรุนแรงทางเพศ เรื่องราวเกิดจากความไม่สมดุลทางเพศในสังคมอาณานิคม เช่น ที่แทสเมเนีย มีประชากรเพศชาย 10-12 คนต่อหญิง 1 คน และมีหญิงชาวอะบอริจินที่แปลกใหม่และเปลือยเปล่า ที่พวกเขาไม่มองว่าไม่จำเป็นต้องเคารพ”
Nowhere was resistance to white colonisers greater than from Tasmanian Aboriginal people, but within a generation only a few had survived the Black War.
ไม่มีที่ไหนที่มีการต่อต้านการล่าอาณานิคมของคนผิวขาวได้รุนแรงไปกว่าที่แทสเมเนีย แต่มีชนพื้นเมืองไม่กี่คนเท่านั้นที่รอดชีวิตจาก Black War Source: The Conversation / Robert Dowling/National Gallery of Victoria via The Conversation
ศาสตราจารย์เรย์โนลด์สอธิบายว่าเพื่อบดขยี้ชนพื้นเมืองที่ต่อต้านในหลายพื้นที่ของออสเตรเลีย นักล่าอาณานิคมได้ก่อตั้งกองตำรวจพื้นเมือง (Native Police) ขึ้นมาเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อปลุกปั่นความหวาดกลัว

“พวกเขาฝึกฝนชนพื้นเมืองให้เป็นนายทหารและใช้เป็นกองกำลัง กลุ่มนี้เป็นกำลังสำคัญในการสลายการต่อต้านของชาวอะบอริจิน ตำรวจพื้นเมืองทำงานเป็นเวลา 50 ปี ขณะที่การตั้งถิ่นฐานขยายเป็นวงกว้างใหญ่ขึ้น”

กองตำรวจพื้นเมืองมีเครื่องแบบ ปืน และม้า ดร. เคลเมนท์สเชื่อว่าพวกเขาถูกควบคุมโดยเจ้าหน้าที่ผิวขาว ซึ่งใช้ความรู้ดั้งเดิมของชนพื้นเมืองและทักษะที่พวกเขาใช้ในป่า

“จำนวนผู้เสียชีวิตโดยตำรวจพื้นเมืองที่เสียชีวิตในรัฐควีนส์แลนด์เพียงรัฐเดียวนับหลายหมื่นคน ผมเชื่อว่าอาจสูงถึง 6 – 8 หมื่นคน ซึ่งน่าตกใจมาก"
เรื่องเลวร้ายต่างๆ นี้สร้างความคลุมเครือด้านจริยธรรม
ศาสตราจารย์เรย์โนลด์สกล่าว
ประวัติศาสตร์อันโหดร้ายนี้เป็นเรื่องที่คุณเพอร์กินส์ต้องเผชิญระหว่างการถ่ายทำซีรีส์สารคดี The Australian Wars

“ฉันเจอบันทึกที่คุณยายฉันเขียนถึงยายทวดที่ถูกสังหารหมู่ ซึ่งฉันไม่เคยได้ยินมาก่อน และไม่เคยไปสถานที่นั้น ฉันไม่เคยรู้เลยว่ามันเกิดขึ้นที่ไหน จนฉันได้มาทำสารคดีชุดนี้”

ดร. เคลเมนท์สกล่าวว่าชาวออสเตรเลียควรเอาชนะความรู้สึกละอายใจและรณรงค์เรื่องความอยุติธรรมในอดีต

“ไม่ว่าบรรพบุรุษของคุณจะมีส่วนร่วมในเรื่องโหดร้ายหรือไม่ เราทุกคนล้วนเป็นผู้รับมรดกจากชาวอะบอริจิน ซึ่งเป็นดินแดนที่ถูกขโมยไป"
อย่างน้อยที่สุดเราควรมีบทบาทในการเปิดเผยประวัติศาสตร์นี้ ยอมรับมัน และสร้างอนาคตที่ดี
ดร.เคลเมนท์สกล่าว
ดูซีรีส์ ได้ทาง SBS On Demand ซึ่งมีซับไตเติลภาษาอังกฤษและคำบรรยายสำหรับผู้พิการทางสายตาหรือผู้มีความบกพร่องทางการมองเห็นด้วย

อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand