ไทยเร่งสอบโรฮิงญาเกยหาดสตูลหวั่นเอี่ยวค้ามนุษย์

NEWS: พบกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาเรือเสียเกยหาด จ.สตูล โฆษกทัพเรือเผยภาพ-คุมตัวสอบหวั่นเชื่อมโยงขบวนการค้ามนุษย์

Thai navy search shipwrecked at Rawi island in Satun province Southern of Thailand

เจ้าหน้าที่กองทัพเรือของไทยตรวจค้นซากเรือที่พบผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา บริเวณเกาะราวี จ.สตูล Source: กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full article in English 

กลุ่มชาวโรฮิงญา 65 คน ถูกพบบนซากเรือบริเวณชายฝั่งทางภาคใต้ของ กองทัพเรือไทย เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่อยู่ระหว่างการสืบสวนว่า ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ามนุษย์หรือไม่

ซากเรือดังกล่าวถูกพบเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (11 มิ.ย.) ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเกาะตะรุเตา จ.สตูล ห่างจากชายแดนประเทศเมียนมาประมาณ 400 กิโลเมตร

ทั้งนี้ มีชาวโรฮิงญาราว 740,000 คน ที่ลี้ภัยออกจากประเทศเมียนมา หลังการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่ทหารในปี 2017 ในการปราบปรามชาวโรฮิงญา ซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยไร้้รัฐในประเทศที่นับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก
Rohingya sits behind bars at police station.
Rohingya sits behind bars at police station. Source: AP
ผู้ลี้ภัยที่ถูกพบ ส่วนมากหลบหนีออกมาจากค่ายผู้ลี้ภัยในบังคลาเทศที่แออัด ขณะที่คนอื่นๆ ตกเป็นเหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ระหว่างหาโอกาสเพื่อมีชีวิตที่ดีกว่าในประเทศไทย และมาเลเซีย

พล.ร.ท.กาญจน์ ดีอุบล โฆษกกองทัพเรือไทย กล่าวว่า ในกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญาที่พบในครั้งนี้ มีผู้หญิง 31 คน และเด็ก 5 คน นอกจากนี้ยังพบชายไทยอีก 1 คน และชายสัญชาติเมียนมาอีก 5 คน บนซากเรือที่เสียหาย เบื้องต้น กลุ่มชายเหล่านั้นให้การกับเจ้าหน้าที่ว่า มาจับปลาในบริเวณนั้น และไม่มีความเกี่ยวข้องกับชาวโรฮิงญา

โดยเมื่อวานนี้ (12 มิ.ย.) โฆษกกองทัพเรือได้กล่าวอีกว่า มีการควบคุมตัวชาย 6 คน เพื่อทำการสอบสวนหลังพบพฤติกรรมมีพิรุธ

ขณะที่เจ้าหน้าที่บริหารส่วนจังหวัดกล่าวว่า ผู้ลี้ภัยกลุ่มนี้ได้รับการสืบสวนกรณีเข้ามาในเขตแดนอย่างผิดกฎหมาย แต่ได้มีการขยายผลในเวลาต่อมา

“ทางการไทยยังไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ ซึ่งรวมถึงยังไม่มีการตั้งข้อหาค้ามนุษย์” ด้านแหล่งข่าวจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ระบุกับเอเอฟพี

ภาพจากกองทัพเรือไทย แสดงให้เห็นกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญารวมกลุ่มกันอยู่บนชายหาด บางส่วนกำลังกินข้าว ใกล้กับซากเรือที่เสียหาย
Thai security officials stand guard as they provide food to Rohingya refugees.
Thai security officials stand guard as they provide food to Rohingya refugees. Source: EPA
ส่วนในบังคลาเทศ เจ้าหน้าสามารถสกัดผู้ต้องสงสัยค้ามนุษย์ที่กำลังหาโอกาสลำเลียงผู้ลี้ภัยจากค่ายที่ทรุดโทรม ในเมืองคอกซ์ บาซาร์ (Cox’s Bazar) ซึ่งมีชาวโรฮิงญาเกือบ 1 ล้านคนอาศัยอยู่ ทั้งหมดปฏิเสธที่จะกลับเมียนมา เพราะความไม่ปลอดภัย และสิทธิเสรีภาพที่ถูกลิดรอน

ขณะที่ทางการเมียนมาระบุว่าการใช้กำลังทหารเมื่อปี 2017 นั้น เป็นการถอนรากผู้ก่อความไม่สงบที่เป็นปฏิปักษ์กับเจ้าหน้าที่ทหาร และถึงแม้เมียนมาจะมีการทำข้อตกลงกับบังคลาเทศในการส่งตัวชาวโรฮิงญากลับเมียนมา แต่ก็ไม่มีผู้สมัครใจที่จะเดินทางกลับไป

เจ้าหน้าที่สืบสวนจากองค์การสหประชาชาติกล่าวว่า ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในเมียนมานั้นเทียบได้กับการ “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” และได้มีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่ระดับสูงเพื่อดำเนินการในเรื่องนี้

Share
Published 13 June 2019 10:22am
Updated 13 June 2019 10:56am
By AFP-SBS
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand